หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ในจังหวัดนครพนม
(Photo: สมาคมไทย-เวียดนามในจังหวัดนครพนม)
|
หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ในจังหวัดนครพนม มีความสูง 18 เมตร ตั้งอยู่กลางจุดตัดของถนนคนเดินที่พลุกพล่านที่สุดในจังหวัดนครพนม ตัวหอนาฬิกามีสีเหลืองอ่อน ส่วนหลังคาออกแบบตามสถาปัตยกรรมเวียดนาม ในช่วงกลางคืน จะมีการเปิดไฟประดับประดาไว้อย่างสว่างไสวสวยงาม ในช่วงสุดสัปดาห์ บริเวณนี้จะถูกเปลี่ยนจากถนนสำหรับการสัญจรมาเป็นถนนคนเดินที่คึกคัก หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ในจังหวัดนครพนมได้รับการก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมปี 1960 และใช้เวลาก่อสร้าง 3 เดือนด้วยเงินบริจาคของชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยในตอนนั้น สำหรับความหมายของการก่อสร้างหอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ นาย เจิ่นวันเสา นายกสมาคมไทย-เวียดนามจังหวัดนครพนมได้เผยว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคมปี 1946 นักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสได้กลับมายึดครองอินโดจีนอีกครั้ง ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสได้บุกยึดอำเภอท่าแขก แขวงคำม่วนในประเทศลาว ซึ่งมีชาวเวียดนามอาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนต้องทิ้งบ้านเรือนอพยพข้ามแม่น้ำโขงมายังประเทศไทยเพื่อหนีการทิ้งระเบิดของนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศส จนถึงเดือนสิงหาคมปี 1959 สภากาชาดไทยและเวียดนามได้เห็นพ้องกันในการช่วยเหลือส่งกลับชาวเวียดนามที่ต้องการกลับประเทศ
"ก่อนที่จะกลับประเทศ ชาวเวียดนามที่อาศัยในจังหวัดนครพนมรวมถึงชาวเวียดนามในทุกจังหวัดของไทยได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย รัฐบาลไทยและพี่น้องชาวไทยที่ได้ช่วยเหลือชาวเวียดนามอพยพ ปู่ย่าได้เล่าให้พวกเราฟังว่า ในช่วงนั้น ฝรั่งเศสทิ้งระเบิด แม่น้ำโขงเป็นสีเลือด ชาวเวียดนามนับร้อยคนเสียชีวิต ดังนั้น การก่อสร้างอนุสรณ์สถานนี้ก็เพื่อรำลึกถึงวันที่อพยพมาเมืองไทย”
เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย ฟานชี้แถ่งและบรรดาผู้บริหารจังหวัดนครพนมและสมาคมไทย-เวียดนามในจังหวัดนครพนมถ่ายภาพกับหอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ (Photo: สมาคมไทย-เวียดนามในจังหวัดนครพนม)
|
ปี 2020 เป็นโอกาสรำลึกครบรอบ 60 ปีหอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ในจังหวัดนครพนม เมื่อเร็วๆนี้ ทางการจังหวัดนครพนมได้ทำการบูรณะซ่อมแซมหอนาฬิกาแห่งนี้โดยมีการทาสีใหม่และบริเวณหอนาฬิกาถูกใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสำคัญของจังหวัด เช่น พิธีรำลึกครบรอบ 60 ปีหอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยกว่า 1,200 คนเข้าร่วมงาน นาย ไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้กล่าวว่า
“ปกติ การสร้างอนุสรณ์สถานส่วนใหญ่เกิดจากความขัดแย้งแต่หอนาฬิกาแห่งนี้ต้องกราบเรียนว่า เป็นหอนาฬิกาที่เกิดจากความรัก ความเคารพซึ่งกันและกัน ความสำนึกในบุญคุณ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของชาวเวียดนาม ผมได้มีโอกาสคุยกับคนเก่าคนแก่ พี่น้องชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่นครพนม ทุกคนยืนยันว่า มาอยู่ที่นี่มีความสุขและมีความผูกพันกับจังหวัดนครพนม ผมกราบเรียนว่า นครพนมเป็นสวนแห่งหนึ่ง สวนที่มีดอกไม้หลากสีและพี่น้องชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นคนหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มความสวยงามให้กับจังหวัดนครพนม”
นอกจาก หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ในจังหวัดนครพนมจะเป็นสิ่งที่สื่อถึงความเคารพรักและสำนึกในบุญคุณแผ่นดินไทยของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามแล้ว สำหรับคนในพื้นที่หอนาฬิกาแห่งนี้ก็เป็นสิ่งที่มีความคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ นาย นิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครพนมได้เผยว่า
“ผมเห็นหอนาฬิกาแห่งนี้มาตั้งแต่ผมเด็กอยู่ เมื่อก่อนเราไม่รู้สึกความยิ่งใหญ่ของหอนาฬิกาแห่งนี้ เราก็ดูว่า นี่เป็นหอนาฬิกาแห่งหนึ่งที่ชาวเวียดนามก่อนที่กลับปิตุภุมิได้ก่อสร้างและส่งมอบให้กับเทศบาลเมืองนครพนมแต่เวลาที่ผ่านไป เวลาที่เราผ่านมา อายุของเราที่มากขึ้น เราก็รำลึกถึงว่า หอนาฬิกาแห่งนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดาซักแล้ว ปรากฎว่า เป็นที่ที่สะท้อนความภาคภูมิใจ ความรักของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม เทศบาลนครพนมเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่งเมื่อเป็นส่วนหนึ่งในการที่มาดูแลหอนาฬิกาให้เป็นอนุสรณ์ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป”
พิธีเปิดหอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ในจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 22 ธันวาคมปี 1960 |
|
เมื่อวันที่ 1 มีนาคมปี 1961 ชมรมชาวเวียดนามจังหวัดนครพนมส่งมอบหอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ให้แก่เทศกาลนครพนม |
|
หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวที่คุณไม่ควรพลาดเมื่อมีโอกาสมาเยือนจังหวัดนครพนม |
ที่จังหวัดนครพนม นอกจากจะมีบ้านลุงโฮและพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนามที่บ้านนาจอกแล้ว หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ก็เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวที่เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทยที่ไม่ควรพลาดแวะเยือน .