ลาว-เวียดนามร่วมแรงร่วมใจแก้ปัญหาการลักลอบการค้าของป่าอย่างผิดกฎหมาย

Mỹ Bình-Diệu Hồng/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)แรดกว่า 1,200 ตัวถูกฆ่าเอานอเพื่อจำหน่ายในประเทศสมาชิกอาเซียน นี่คือข้อมูลที่ตัวแทนของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นโอดีซีเผยแพร่ในการสนทนาภายใต้หัวข้อ ลาว-เวียดนาม ผลักดันการแก้ปัญหาการลักลอบการค้าข

(VOVworld)แรดกว่า 1,200 ตัวถูกฆ่าเอานอเพื่อจำหน่ายในประเทศสมาชิกอาเซียน นี่คือข้อมูลที่ตัวแทนของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นโอดีซีเผยแพร่ในการสนทนาภายใต้หัวข้อ ลาว-เวียดนาม ผลักดันการแก้ปัญหาการลักลอบการค้าของป่าข่ามชาติอย่างผิดกฎหมาย เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ณ กรุงเวียงจันทน์ ในการสนทนา ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความท้าทาย มาตรการป้องกันและแก้ไขการลักลอบการค้าของป่าข้ามชาติระหว่างสองประเทศอย่างผิดกฎหมาย

ลาว-เวียดนามร่วมแรงร่วมใจแก้ปัญหาการลักลอบการค้าของป่าอย่างผิดกฎหมาย - ảnh 1
ภาพในการสนทนา

ตัวแทนของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติได้เผยว่า ปัจจุบัน อาเซียนเป็นหนึ่งในจุดร้อนเกี่ยวกับสถานการณ์การลักลอบค้าของป่าอย่างผิดกฎหมายซึ่งส่วนใหญ่คือสัตว์ป่าและไม้ รายงานสถิติจากสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติปรากฎว่า จำนวนแรดในแอฟริกาที่ถูกฆ่าเอานอเพื่อส่งมาจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นจาก 13 ตัวเมื่อปี 2007 ขึ้นเป็น 1,200 ตัวเมื่อปี 2015 เนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ทางการแพทย์ของนอแรดโดยหลายคนเชื่อว่า นอแรดสามารถนำมาทำยารักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่า การบริโภคนอแรดมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นาย Giovanni Broussard ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติได้เผยว่า “ในภูมิภาคอาเซียน มูลค่าการลักลอบค้าของป่าอย่างผิดกฎหมายอยู่ในระดับสูงซึ่งอาจจะสูงกว่าการขยายตัวของจีดีพีของบางประเทศในภูมิภาคด้วยซ้ำ รายได้ที่องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติได้รับในทุกปีอาจจะอยู่ที่ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ พวกเราพยากรณ์ว่า 1 ใน 4 ของเงินดังกล่าวมาจากการค้าของป่าอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการลักลอบการค้าไม้ สัตว์ป่าและพืชห้วงห้าม ตลอดจนการขนย้ายสินค้าอื่นๆ พวกเราให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงการลักลอบค้าไม้และสัตว์ป่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้พวกเรามาที่นี่เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลลาวและเวียดนาม ต้องทำเช่นไรเพื่อลดและขัดขวางการลักลอบค้าของป่าผ่านเขตชายแดนทางบกระหว่างสองประเทศ”
บทปราศรัยที่อ่านในการสนทนาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ปัญหาการลักลอบค้าของป่าผ่านเขตชายแดนทางบกมีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศ การพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ ความมั่นคงในภูมิภาคและโลก ในเวลาที่ผ่านมา กองกำลังที่เกี่ยวข้องของอาเซียนได้ตรวจพบและยึดซากสัตว์ป่าพืชและไม้ที่มีค่าหายากหลายครั้ง ดังนั้น บรรดาผู้แทนได้แสดงความเห็นว่า ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีแนวชายแดนติดกัน เช่นลาวและเวียดนามต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อลดขั้นตอนที่ซับซ้อนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการขัดขวางการลักลอบการค้าของป่าอย่างผิดกฎหมาย พันโท อินพง จันทะวงซา รองอธิบดีกรมป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติดสังกัดกระทรวงรักษาความมั่นคงของลาวได้เผยว่า“การรับมือกับการลักลอบการค้าของป่าข้ามชาติใช่งานของประเทศใดประเทศหนึ่ง หากคือความรับผิดชอบของทั้งภูมิภาค เวียดนามและลาวมีแนวชายแดนติดกันจากเหนือจรดใต้ ดังนั้น ผู้แทนที่เข้าร่วมการสนทนาวันนี้คือกลุ่มแรกที่ต้องรับมือกับการลักลอบการค้าของป่า ดังนั้นผมชื่นชมการสัมมนาครั้งนี้เพราะที่คือโอกาสเพื่อให้พวกเราหารือและวางมาตรการบริหารเขตชายแดนระหว่างสองประเทศ”

ลาว-เวียดนามร่วมแรงร่วมใจแก้ปัญหาการลักลอบการค้าของป่าอย่างผิดกฎหมาย - ảnh 2
ตัวแทนของสามฝ่ายในการสนทนา

ตามความเห็นของบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการสนทนา เวียดนามและลาวได้ปฏิรูปข้อกำหนด กรอบทางนิตินัยและผลักดันการลงนามบันทึกช่วยจำเพื่อความร่วมมือในด้านนี้ แต่ในทางเป็นจริงได้แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการลักลอบการค้าของป่าผ่านเขตชายแดนระหว่างสองประเทศยังคงเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้นต้องพยายามมากขึ้นเพื่อมีปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม
ในการสนทนาที่มีขึ้นเป็นเวลา 2 วัน เวียดนามและลาวได้เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ร่วมกันปฏิบัติกฎหมายข้ามชาติ ผลักดันระบบตรวจสอบในเขตชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อขัดขวางการจำหน่ายพืช ซากสัตว์ป่าและไม้ที่มีค่าหายากผ่านเขตชายแดนระหว่างสองประเทศ.

Feedback