(VOVworld)- ในมรดกวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองเวียดนาม การร้องเพลงกาจู่นับว่าเป็นมรดกนามธรรมที่มีความไพเราะ โดดเด่นและมีคุณค่าทางศิลปะสูงอย่างมีเอกลักษณ์ที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลกจากองค์การยูเนสโก ส่วนในสายตามิตรชาวไทยนั้น กาจู่ คือศิลปะชั้นสูงที่น่าศึกษา
ค้นคว้า ซึ่งควรได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาสืบไป
|
คณะสื่อมวลชนไทยจากสปต.ชมการแสดงและถ่ายรูปกับสโมสรกาจู่ห่างเกงไฮฟอง |
เทปการแสดงเพลงกาจู่และเทปสัมภาษณ์นักข่าวไทย
นี่คือความเห็นของคุณ ประไพศรี เก็ตสะวา นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ สปต. หลังจากได้ชมการแสดงกาจู่ของสโมสรกาจู่ห่างเกงไฮฟอง ซึ่งสำหรับมิตรชาวไทยนั้น แม้จะไม่เข้าใจเนื้อร้องของเพลงแต่ลีลาการร้องและท่ารำประกอบของศิลปีนในการแสดงได้สร้างความรู้สึกที่แปลกใหม่และประทับใจให้แก่สมาชิกคณะกรมประชาสัมพันธ์ทุกคน นาย มานิตย์ ภูมิสุข ช่างศิลป์ชำนาญงาน สทท.กล่าวว่า กาจู่ เป็นการเล่นที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นการร้องเพลงในเชิงอรรถกวีที่มีกฎระเบียบในการควบคุมระดับเสียงที่เคร่งครัดและเขารู้สึกชื่นชอบเสียงร้องที่ไพเราะของนักร้องทุกคน....(เทปเสียงของนาย มานิตย์)
ไม่เพียงแต่แสดงความประทับใจต่อเทคนิกการร้องของบรรดาศิลปีนกาจู่เท่านั้น นายมานิตย์ยังให้ความสนใจต่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ช่วยให้กาจู่มีความลุ่มลึกและละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น เพราะแม้จะใช้เครื่องดนตรีเล่นประกอบเพียงไม่กี่อย่างคือกลอง เครื่องดีดและเครื่องเคาะ แต่ก็สามารถประสานเสียงเข้ากับจังหวะการร้องได้อย่างกลมกลืนและไพเราะ....(เทปเสียงของนาย มานิตย์)
|
ศึกษาเรื่องกาจู่กับครอบครัวศฺลปีนที่มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะพื้นเมืองกาจู่มา7รุ่นแล้ว |
จากการพบปะพูดคุยกับนักร้องและคณะศิลปีนกาจู่คณะสื่อมวลชนไทยยิ่งมีความเข้าใจว่าทำไมกาจู่ถือเป็นการร้องเพลงที่มีลักษณะเป็นอาชีพสูง มีสำเนียงเอื้อนเอ่ยที่มาจากก้นบึ้งของหัวใจ เพื่อกระเทาะเจาะลึกสู่ห้วงอารมณ์ รวมทั้งชื่นชมงานด้านการอนุรักษ์และถ่ายทอดกาจู่ให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป คุณปถมาภรณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ ของสทท. กล่าวว่า(เทปเสียงของปถมาภรณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต)
เพลงกาจู่
แม้เวลาศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกาจู่เวียดนามจะไม่มากนักและมีความรู้สึกประทับใจที่ไม่เหมือนกันแต่มีอย่างหนึ่งที่ทุกคนต่างพูดเป้นเสียงเดียวกันว่า กาจู่คือแบบอย่างแห่งการสืบทอดและอนุรักษ์จิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนาม./.