ในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนาม นาย Uch Leang รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเอเชีย-แอฟริกาและตะวันออกกลางศึกษา สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกัมพูชา สังกัดราชบัณฑิตยสถานกัมพูชา ได้เผยว่า ตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 จนถึงปัจจุบัน อาเซียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและมีความรับผิดชอบต่อการกระชับและเสริมสร้างความสามัคคีทั้งในและนอกภูมิภาค รวมถึงการรับมือความท้าทายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
นาย Uch Leang รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเอเชีย-แอฟริกาและตะวันออกกลางศึกษา สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกัมพูชา |
“ในตลอด 56 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 อาเซียนยังคงรักษาเอกภาพและความสามัคคี พร้อมส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ ความร่วมมือ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาค โดยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการผสมผสานในด้านที่มีความสำคัญต่อความร่วมมือและผลประโยชน์ของประเทศอื่น ๆ เช่น ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล การเติบโตสีเขียว ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน รวมถึงการพัฒนาอนุภูมิภาคและการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”
นอกจากนี้ ข้อตกลงสำคัญหลายฉบับได้มีส่วนช่วยให้อาเซียนเสริมสร้างความร่วมมือและความเชื่อมโยง พร้อมลดช่องว่างการพัฒนาในภูมิภาค เช่น กฎบัตรอาเซียน วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2020 วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2025 และแผนแม่บทการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ TAC วิสัยทัศน์อาเซียนเกี่ยวกับอินโด - แปซิฟิกหรือ AOIP
นาย Yose Diran Damuri ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษาอินโดนีเซีย CSIS (Foto: CSIS) |
ส่วนนาย Yose Diran Damuri ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษาอินโดนีเซีย CSIS ได้เผยว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ โรคระบาด และวิกฤตทางเศรษฐกิจ ได้เพิ่มความเสี่ยงต่างๆ แต่บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน ยังคงมีการเติบโตในเชิงบวกเนื่องด้วยการรักษาเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค
“ความหวังของอาเซียนคือการเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโต โดยอาเซียนมีบทบาทและตำแหน่งที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ รวมถึงการขยายตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของภูมิภาคในวงกว้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับการที่อาเซียนสามารถแก้ไขปัญหาต่างในภูมิภาคได้ดีหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี อาเซียนได้ประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคผ่านกลไกการเจรจาตต่างๆ ของตน”
นาย Yose Diran Damuri ยังคงย้ำว่า ด้วยจำนวนประชากรอยู่ที่ 646 ล้านคน และอัตราการขยายตัวของ GDP อยู่ที่ร้อยละ 5 ในปี 2022 ปัจจุบัน อาเซียนถือเป็นหนึ่งในหัวเรือที่สำคัญของเศรษฐกิจภูมิภาคและโลก ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและความท้าทาย
เอกอัครราชทูต หวูโห่ หัวหน้าคณะ SOM อาเซียนเวียดนาม (Foto : VOV) |
สำหรับเอกอัครราชทูต หวูโห่ หัวหน้าคณะ SOM อาเซียนเวียดนาม ในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ได้แสดงความเห็นว่า อาเซียนมีความประสงค์ที่จะส่งสาร “อาเซียนที่มีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเจริญเติบโต” ไปยังประชาคมโลก ผ่าน 3 ปัจจัย
“บทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนได้สะท้อนให้เห็นในทุกกระบวนการระดับภูมิภาค รวมถึงการเจริญเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานของอาเซียน ตลอดจนแนวทางการเข้าถึงประเด็นต่างๆ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ โดยยังคงใช้ความร่วมมือและการเจรจาเป็นเครื่องมือในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ภายในอาเซียน ซึ่งเมื่อมีการหารือกับอาเซียน ทุกหุ้นส่วนต่างยืนยันที่จะให้ความเคารพต่ออาเซียนและบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน”
ทั้งนี้ เอกอัครราชทูต หวูโห่ ได้ย้ำว่า ผ่านการเจรจาอย่างตรงไปตรงมา พร้อมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมืออย่างจริงใจ อาเซียนได้โน้มน้าวให้พันธมิตรทุกฝ่ายยอมรับบทบาทการเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของตนในกระบวนการระดับภูมิภาค จากนั้น ได้มีการเสนอคำมั่นและข้อคิดริเริ่มต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียนและมีส่วนร่วมต่อความพยายามในการสร้างสรรคประชาคมของอาเซียน ด้วยวิธีการทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยทำให้อาเซียนมีความมั่นใจมากขึ้นในการก้าวเข้าสู่วาระแห่งการพัฒนาใหม่ภายหลังปี 2025.