ชั้นเรียนเกี่ยวกับการเป็นล่ามให้แก่นักศึกษาลาวในสถาบันการทูตฮานอย
|
เวลา18.30น.ของวันต้นสัปดาห์ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามและนักศึกษาลาวปีที่3หรือ4 ประมาณ12คนของสถาบันการทูตเวียดนามนั่งอยู่รอบๆโต๊ะวงรีเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับวิธีการแปลและเป็นการล่ามในการพบปะระดับสูงระหว่างสองประเทศ
วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชั้นเรียนพิเศษ ดังนั้นจึงเน้นถึงการปฏิบัติ นักศึกษาแต่ละคนได้รับบทแปล2บทเป็นภาษาเวียดนามและภาษาลาว ผู้ฝึกสอนจะเสนอให้นักษาคนหนึ่งอ่านเสียงดังและชัดเจนให้เพื่อนๆฟัง ส่วนอีกคนจะเป็นผู้แปลประโยคนั้น
คุณดว่านวันมิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายภาษาลาวสังกัดกรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้และแปซิฟิกใต้สังกัดกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามกำลังแนะนำให้นักศึกษารู้จักวิธีการจดบันทึกและการใช้ศัพท์ในการแปลภาษา โดยเฉพาะ แบบฟอร์มที่ผู้นำประเทศมักจะใช้ในการพบปะระดับสูง “ผมไม่ใช่อาจารย์ ผมแค่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนให้แก่นักศึกษา ผมหวังว่า ประสบการณ์ดังกล่าวสามารถช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพเป็นล่าม ซึ่งนับวันจำนวนคนรุ่นใหม่ที่ชอบอาชีพเป็นล่ามนับวันเพิ่มมากขึ้น”
นี่เป็นชั้นเรียนรอบที่2ที่ทางสถาบันจัดขึ้น โดยจะเปิดชั้นเรียนแบบนี้ปีละครั้งและมีขึ้นตั้งแต่เวลา18.00น.-20.00น. โดยมีผู้เข้าเรียน12-15คนเท่านั้น ในชั้นเรียนแรก ผู้ที่มีประสบการณ์จากศูนย์การแปลภาษาแห่งชาติมาสอน ส่วนปีนี้ ทางสถาบันฯได้เชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายภาษาลาวของกระทรวงการต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นายหวูหยุง เจ้าหน้าที่สำนักงานฝึกอบรมสังกัดสถาบันการทูตฮานอยได้เผยว่า ทางสถาบันฯเปิดชั้นเรียนตามความปรารถนาของนักศึกษาลาว บรรดานักศึกษาลาวพูดภาษาเวียดนามดีมากแต่เพื่อเป็นล่าม พวกเขาต้องเพิ่มทักษะความสามารถด้านภาษาให้มากขึ้น
นาย เขียวอคม นักศึกษาปีที่4สาขาการเมืองระหว่างประเทศของสถาบันการทูตฮานอยได้เข้าร่วมชั้นเรียนที่2เกี่ยวกับการแปลภาษาและเป็นล่ามกล่าวว่า “ชั้นเรียนนี้มีประโยชน์มากเพราะแต่ละวันมีอาจารย์ที่แตกต่างกัน บรรดาอาจารย์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนให้แก่พวกเรา ผมอยากกลายเป็นล่าม ผ่านชั้นเรียนนี้ ผมได้รับประสบการณ์และศัพท์ใหม่ด้านการเมือง”
ส่วนนาง ฟองมะลี วงพาจันทน์ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโทในสถาบันฯรู้สึกว่า นี่เป็นชั้นเรียนใหม่ ปัจจุบัน นาง ฟองมะลี วงพาจันทน์ เป็นเจ้าหน้าที่ของสหพันธ์สตรีลาวสาขากรุงเวียงจันทน์ ถึงแม้งานทำของเธอไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชีพเป็นล่ามแต่นาง ฟองมะลี วงพาจันทน์ บอกว่า “ยิ่งเรียนฉันยิ่งเห็นว่า ความรู้ของตนเองไม่มากนัก”
“อาชีพของฉันไม่ใช่เป็นล่ามแต่ฉันก็ลงทะเบียนเข้าร่วมชั้นเรียนนี้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการแปลภาษา ผ่านชั้นเรียนนี้ ผมสามารถเรียนวิธีการจดบันทึกและศัพท์ที่ใช้ในการพบปะระดับสูง”
สถาบันการทูตฮานอยได้เผยว่า จะเปิดชั้นเรียนในลักษณะเดียวกันให้แก่นักศึกษาลาวในเดือนพฤษภาคมปี2019 โดยนักศึกษาลาวจะมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับงานแปลภาษา ส่วนเวลาที่เหลือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการแปลภาษาเวียดนามเป็นภาษาลาวและภาษาลาวเป็นภาษาเวียดนามจะแนะนำให้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับอาชีพเป็นล่าม ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเพื่อเลือกอาชีพในอนาคตที่เหมาะสม.