การเชื่อมโยงผู้ประกอบการstart up ในยุคดิจิตอล

Chia sẻ

(VOVWORLD) -เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงขยายวงหรือGMS ครั้งที่ 6และการประชุมระดับสูงความร่วมมือในเขตสามเหลี่ยมพัฒนากัมพูชา-ลาว-เวียดนามครั้งที่10หรือCLV-10  หลังพิธีเปิด ตัวแทนของประเทศGMSที่ประกอบด้วย จีน กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนามได้เข้าร่วมการประชุมหารือเกี่ยวกับการทำธุรกิจ start up และความเชื่อมโยงภายในGMS โดยชี้ชัดถึงรูปแบบที่ประเทศของตนกำลังปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำธุรกิจ start upและความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการstart up

การเชื่อมโยงผู้ประกอบการstart up ในยุคดิจิตอล - ảnh 1 บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมGMS 

ในการประชุมนี้ บรรดาผู้แทนจากประเทศจีนได้ย้ำถึงความจำเป็นที่บรรดาผู้ประกอบการต้องเชื่อมโยงกันเพราะถ้าหากผู้ประกอบการรายเดียวประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จะมีไม่มากนักแต่ถ้าหากผู้ประกอบการขนาดย่อมเชื่อมโยงกันและประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพจึงจะสร้างผลกำไรสูง  นาง สุพาพร สุอณาวงศ์ จากสถานประกอบการTohลาวที่ประกอบธุรกิจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ย้ำถึงแนวทางการพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจใหม่และการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการstart upอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง เผยว่า ลาวได้ปฏิบัติมาตรการเพื่อสร้างโอกาสความร่วมมือและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการstart up  ถึงแม้ผู้ประกอบการstart upของลาวยังไม่ใช่ตัวอย่างดีเด่นในภูมภิาคแต่จากความพยายามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและการปรับปรุงรูปแบบการประกอบธุรกิจ บรรดาผู้ประกอบการลาวได้ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จต่างๆ โดยขยายศักยภาพการประกอบธุรกิจและพัฒนาในอนาคต “ในหลายปีทีผ่านมา พวกเราได้สร้างแรงบันดาลใจและฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการstart upกว่า1พันราย  ผู้ประกอบการstart upของลาวได้ประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพแต่ก็ยังไม่ทัดเทียมกับสถานประกอบการต่างชาติแต่นี่ก็เป็นแหล่งบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ให้แก่พวกเขาในระยะนี้”

การเชื่อมโยงผู้ประกอบการstart up ในยุคดิจิตอล - ảnh 2 นาง สุพาพร สุอณาวงศ์ จากสถานประกอบการTohลาว

ส่วนผู้แทนของไทยได้เสนอมาตรการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเขตGMS  โดยเห็นว่า ประเทศต่างๆในภูมิภาคต้องปรับปรุงห่วงโซ่คุณค่าและการเชื่อมโยงด้านอุตสาหกรรมบนพื้นฐานของการผลักดันแนวเศรษฐกิจ เขตชายแดนและการปรับปรุงระเบียบการระหว่างประเทศ  ประเทศต่างๆต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อเป็นพื้นฐานและเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ  ถึงเวลาแล้วที่ทุกประเทศต้องผลักดันความร่วมมือเพื่อส่งเสริมคุณค่าให้แก่เศรษฐกิจ

ส่วนบรรดาผู้แทนจากเมียนมาร์ได้เผยว่า สมาคมการค้าเมียนมาร์มีสมาชิก2000คน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีอายุต่ำกว่า45ปี  โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการstart up ผู้ประกอการขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทภาครัฐในภูมิภาค  สมาคมการค้าเมียนมาร์ได้สร้างสรรค์บรรยากาศการทำธุรกิจstart up เครือข่ายที่จัดสรรการเงินและกองทุนให้แก่ผู้ประกอบการstart up  นาย Htun Htun Layung ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร Blue Ocean ได้เผยว่า “เมียนมาร์มีประชากร45ล้านคนและมีเส้นแบ่งพรมแดนติดกับทุกประเทศGMS  พวกเรากำลังร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเมียนมาร์เพื่อให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ส่งเสริมศักยภาพของตน  ในเมียนมาร์  สถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการที่มีเงินลงทุนจากต่างประเทศ ในโอกาสนี้ พวกเรามีความประสงค์ว่า จะร่วมมือกับผู้ประกอบการกัมพูชา ลาวและเวียดนาม สถานประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและหวังว่า ในหลายปีที่จะถึง พวกเราจะเชื่อมโยงกันเพื่อการพัฒนา”

นาย Kok Pheng ผู้จัดตั้งและประธานร่วมของ Avanee Clorii&Logistics ได้เห็นพ้องกับความคิดเห็นของผู้แทนเมียนมาร์ โดยได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลข้อมูลการประกอบธุรกิจและมีความประสงค์ที่จะเชื่อมโยงเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลจิสติกส์อัจฉริยะ “เมื่อกล่าวถึงผู้บริโภคกัมพูชา พวกเราเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมาก  ชาวกัมพูชาแต่ละคนมีซิมโทรศัพท์มากกว่า1เบอร์   ผู้บริโภคกัมพูชา โดยเฉพาะ คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสะดวก ดังนั้น พวกเรากำลังส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านทางโทรศัพท์และโอนเงินจากเขตชนบทไปยังตัวเมือง นี่เป็นโอกาสเพื่อให้คนที่ทำงานในตัวเมืองโอนเงินเข้าบัญชีของญาติพี่น้องในชนบทอย่างรวดเร็วและในทางกลับกัน ”

หลังการประชุมหารือ บรรดาผู้แทนได้สรุปว่า ต้องจัดฟอรั่มในลักษณะนี้อีกเพื่อให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการstart up  มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีโอกาสเรียนรู้และขยายตลาดเพื่อให้GMSกลายเป็นภูมิภาคที่มีความเชื่อมโยงอย่างมั่นคง.

Feedback