กัมพูชาผลักดันการพัฒนาหน่วยงานส่งออกข้าว (Photo: The Phnom Peng Post/TTXVN)
|
แม้กัมพูชาจะเริ่มส่งออกข้าวตั้งแต่ปี2008แต่จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานส่งออกข้าวของกัมพูชาได้บรรลุผลงานที่น่าประทับใจ โดยเมื่อปี2009 ปริมาณข้าวส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่กว่า 1หมื่นตันแต่จนถึงปี2017 มีปริมาณการส่งออกถึง635,000ตัน เพิ่มขึ้นกว่า63เท่า ในปี2017 กัมพูชาได้ส่งออกข้าวไปยัง63ประเทศ ซึ่งรายได้จากการส่งออกข้าวอยู่ที่333ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่อันดับ2ในกลุ่มประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี2013มาจนถึงปัจจุบัน รองจากจีน บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เผยว่า ข้าวกัมพูชาได้รับการประเมินว่า มีคุณภาพสูงเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายเน้นยกระดับคุณภาพโดยไม่เน้นการเพิ่มปริมาณ นาย หวี่ญเท้นัง นายกสมาคมธัญพืชเวียดนามได้เผยว่า “ข้าวกัมพูชาสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดโลกได้เนื่องจากตอบสนองความต้องการของตลาด โดยใช้น้ำฝนในการปลูกข้าว ไม่ใช้ปุ๋ยและยาจำกัดศัตรูพืช ”
นับตั้งแต่ปี2015 รัฐบาลกัมพูชาได้ตั้งเป้าหมายพัฒนาเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่ด้วยปริมาณการส่งออกอยู่ที่1ล้านตันต่อปี ถึงแม้ยังไม่บรรลุเป้าหมายดังกล่าวในด้านปริมาณแต่สำหรับด้านคุณภาพ ข้าวกัมพูชาสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดที่มีมาตรฐานที่เข้มงวดที่สุดในโลก เช่น อียู โดยปริมาณข้าวส่งออกไปตลาดอียูคิดเป็นร้อยละ43 รองลงมาคือจีนร้อยละ34 โดยเฉพาะ ในปี2018 จีนได้ลงนามข้อตกลงนำเข้าข้าว3แสนตันต่อปีจากกัมพูชา นาย เคียน โซวันารา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรสังกัดกระทรวงเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำกัมพูชาได้เผยว่า นับตั้งแต่ปี2015 รัฐบาลกัมพูชาประกาศใช้นโยบายส่งเสริมการเกษตร โดยเฉพาะ หน่วยงานการส่งออกข้าวที่เริ่มจากขั้นตอนพื้นฐานที่สุดคือปรับเปลี่ยนแปแนวความคิดของผู้ปลูกข้าว “แนวทางของพวกเราคือผลักดันการยกระดับจิตสำนึกของเกษตรกร เมื่อก่อนนี้ เกษตรกรทำการเกษตรเพื่อตอบสนองการบริโภค แต่ปัจจุบัน พวกเรากำลังผลักดันแนวทาง “ทำการเกษตรในเชิงพาณิชย์”เพื่อยกระดับจิตสำนึกของเกษตรกรในการปลูกข้าวเพื่อการส่งออก รัฐบาลกัมพูชากำลังผลักดันการลงทุนจากหุ้นส่วนพัฒนาเพื่อช่วยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวพันธุ์เก่ามาเป็นข้าวพันธุ์ใหม่ตามความต้องการของตลาด เช่น ข้าวพันธุ์ผกา ลำดวนเคยได้รับรางวัล “ข้าวที่อร่อยที่สุดในโลก”
ข้าวพันธุ์ผกา ลำดวนของกัมพูชาเคยคว้าแชมป์ “ข้าวที่อร่อยที่สุดในโลก”3ครั้งติดต่อกันในช่วงปี2012-2014การประชุมข้าวโลก ซึ่งข้าวพันธุ์นี้เปรียบเสมือนทองคำเนื่องจากมีรสชาดที่อร่อยเป็นพิเศษ นอกจากนี้ กัมพูชายังส่งออกข้าวพันธุ์อื่น เช่น ข้าวอินทรีย์และข้าวกล้อง นอกจากจุดแข็งด้านคุณภาพข้าว ในหลายปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้ผลักดันการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการปลูกข้าว นาย เมียกปีแซก ผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บรักษาอาหารได้เผยว่า “เมื่อก่อนนี้ เกษตรกรกัมพูชาส่วนใหญ่ตากข้าวบนถนน ซึ่งมีข้อจำกัดเนื่องจากถูกไก่กินหรือได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ แต่อย่างไรก็ดี ขณะนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ใช้เครื่องอบข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง”
เมื่อปี2017 กัมพูชาสามารถผลิตข้าวได้10ล้านตัน ปริมาณการผลิตส่วนเกินอยู่ที่5ล้านตันแต่สามารถส่งออกได้ประมาณ635,000ตันเท่านั้น นอกจากข้อจำกัดด้านการขนส่ง การสำรองข้าวและการบริการ สถานประกอบการของกัมพูชายังต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆในการรับซื้อข้าวของเกษตรกรในปริมาณสูง นาย เคียน โซวันารา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรสังกัดกระทรวงเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำกัมพูชาได้เผยว่า ในเวลาที่จะถึง จะผลักดันการลงทุนเพื่อแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวเพื่อมีส่วนร่วมเพิ่มทักษะความสามารถในการส่งออกข้าว “พวกเรากำลังส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตแบบรวมกลุ่มเพื่อเอื้อให้แก่การบริหาร ประหยัดต้นทุนและสะดวกในการแสวงหาแหล่งจำหน่าย ตลอดจนจัดตั้งสมาคมที่ดูแลในแต่ละด้าน เช่น ปัจจุบัน พวกเรามีสมาคมที่ดูแลการผลิตข้าวอีนทรีย์เพื่อการส่งออกในจังหวัดพระวิหาร”
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา กัมพูชาได้เแนะนำข้าวพันธุ์ใหม่ Malys Angkor เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพสูง จากการปรับปรุงอย่างทันการณ์ กัมพูชากำลังสร้างห่วงโซ่อุปทานในระยะยาวและยั่งยืนที่สามารถตอบสนองมาตรฐานการผลิตข้าวอย่างมั่นคงเพื่อดึงดูดความสนใจของตลาดนำเข้า.