|
การประชุมสรุปผล๓ปีการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ |
(VOVworld) – เช้าวันที่๑๖เดือนนี้ ณ กรุงฮานอย ท่านเหงียนเติ้นหยุง นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมสรุปผล๓ปีการปฏิบัติโครงการช่วงปี๒๐๑๐ถึงปี๒๐๑๔และหารือถึงมาตรการต่างๆเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในปี๒๐๑๕
ในการนี้ ท่านหวูวันนิงห์ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้ยืนยันว่า โครงการนี้เป็นหนึ่งในหน้าที่และมาตรการที่สำคัญที่สุดเพื่อปฏิบัติมติของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรค ครั้งที่๗เกี่ยวกับการเกษตร ชนบทและเกษตรกร มีบทเรียนดีๆที่ได้รับจากการปฏิบัติมาเป็นเวลา๓ปีและนำมาซึ่งผลสำเร็จในเบื้องต้น“การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้กลายเป็นขบวนการอันกว้างลึกในทั่วประเทศที่ได้รับการชี้นำจากทั้งระบบการเมืองและได้รับการสนับสนุนจากประชาชน เป้าหมายเฉพาะหน้าของพวกเราคือ จนถึงปี๒๐๑๕มีตำบลร้อยละ๒๐ที่ได้มาตรฐานชนบทใหม่ทั้ง๑๙มาตรฐานซึ่งเป็นอัตราสูงแต่พวกเรามีความตั้งใจที่จะบรรลุผลสำเร็จสูงสุด”
หลังจากที่ทำการปฏิบัติมาเป็นเวลา๓ปี ผลที่โดดเด่นที่สุดของโครงการคือ จิตสำนึกของเจ้าหน้าที่และประชาชนเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ประชาธิปไตยในพื้นฐานได้รับการส่งเสริม โครงสร้างพื้นฐานชนบทพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีส่วนร่วมทำให้โฉมหน้าชนบทมีการเปลี่ยนแปลง จนถึงไตรมาสที่๑ปี๒๐๑๔ มีตำบลร้อยละ๙๓.๗เสร็จสิ้นการลงนามอนุมัติแผนพัฒนาชนบทใหม่
รายงานที่เสนอต่อที่ประชุม ท่านกาวดึ๊กฟ้าตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้ยืนยันว่า การสร้างสรรค์ชนบทใหม่เป็นแนวทางที่ถูกต้องและทันการณ์ของพรรค สอดคล้องกับความปรารถนาของประชาชนที่พรรคและทางการปกครองทุกระดับ และทั้งระบบการเมืองปฏิบัติในเชิงรุกอย่างแข็งขันและมีความคิดสร้างสรรค์ใน๓ปีที่ผ่านมา กลไกชี้นำการปฏิบัติโครงการได้รับการจัดตั้งอย่างครบชุดพร้อมระเบียบและนโยบายที่ได้ประกาศใช้ได้ส่งผลกระทบในทางบวกและกลายเป็นพลังขับเคลื่อนผลักดันการปฏิบัติ ขบวนการแข่งขัน“ทั่วประเทศร่วมแรงร่วมในสร้างสรรค์ชนบทใหม่”ที่นายกรัฐมนตรีเปิดการรณรงค์ได้รับความสนใจ ความช่วยเหลือและการส่งเสริมให้กำลังใจจากทั้งสังคม ”
โฉมหน้าชนบทที่หลายแห่งได้มีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นได้รับการยกระดับ ระบบการเมืองพื้นฐานได้รับการเสริมสสร้าง รายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นจนถึงปัจจุบันทั่วประเทศมีตำบล๑๘๕แห่งที่ได้มาตรฐานชนบทใหม่และตำบล๖๐๐แห่งที่ได้มาตรฐานสร้างสรรค์ชนบทใหม่ตั้งแต่๑๕ถึง๑๘มาตรฐานจากทั้งหมด๑๙มาตรฐาน./.