ภายหลังได้ทำการหารือมาเป็นเวลา๒สัปดาห์ วันที่๘ธันวาคม การประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือCOP ครั้งที่๑๘ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ณ กรุง โดฮา ประเทศกาตาร์ ด้วยคำมั่นเกี่ยวกับการต่ออายุพิธีสารเกียวโตจนถึงปี๒๐๒๐ ซึ่งตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตุการณ์ ผลงานดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยผู้แทนจาก๒๗ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู พร้อมออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์และอีก๘ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการต่ออายุพิธีสารเกียวโตตั้งแต่วันที่๑มกราคม ปี๒๐๑๓ถึงปี๒๐๒๐ ในขณะที่รอข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลการประชุมดังกล่าวถือเป็นก้าวเดินที่สำคัญเพื่อมุ่งสู่การบรรลุข้อตกลงฉบับใหม่ของสหประชาชาติที่คาดว่า จะได้รับการอนุมัติในปี๒๐๑๕และมีผลบังคับใช้ในปี๒๐๒๐ นาย บันคีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ได้ชื่นชมว่า นี่ถือเป็นความคืบหน้าสำคัญในปัญหาดังกล่าวแต่โลกยังมีงานที่ต้องทำมากมาย สำหรับการสนับสนุนทางการเงินให้แก่ประเทศที่ยากจนเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานหมุนเวียนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น สหรัฐ อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์กได้ให้คำมั่นที่จะธำรงความช่วยเหลือให้แก่ประเทศที่ยากจนต่อไป แต่ไม่ระบุถึงจำนวนเงินช่วยเหลือ เพราะกำลังประสบความยากลำบากในด้านการเงิน ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาได้แสดงความเห็นว่า ตั้งแต่บัดนี้ถึงปี๒๐๑๕ ต้องการเงินทุนอย่างน้อย ๖หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเพื่อรับมือกับภัยแล้ง น้ำท่วม พายุและปัญหาน้ำทะเลหนุน ก่อนหน้านั้น ประเทศพัฒนาได้ให้คำมั่นที่จะให้การช่วยเหลือ๑แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปีตั้งแต่บัดนี้ถึงปี๒๐๒๐ ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับวงเงินช่วยเหลือมูลค่า ๓หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี๒๐๑๐ถึง๒๐๑๒./.