นาย หวิ่งหงอกโหย ในหมู่บ้าน 10 ตำบล เอ อา บาร์ อำเภอ บวนดน จังหวัดดั๊กลักทำธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยการเลี้ยงหอยโข่ง |
ภายหลัง 3 ปีที่ทำอาชีพเลี้ยงหอยโข่ง นาย หวิ่งหงอกโหย ในหมู่บ้าน 10 ตำบล เอ อา บาร์ อำเภอ บวนดน จังหวัดดั๊กลักได้มีตลาดจำหน่วยที่มั่นคง ในเกือบ 1 ปีมานี้ นาย โหยได้ขยายบ่อเลี้ยงหอยโข่งจาก 350 ตารางเมตรขึ้นเป็น 2 พันตารางเมตร โดยเฉลี่ยแต่ละเดือน เขาขายพันธุ์หอยโข่งได้ตั้งแต่ 20,000 ถึง 30,000 ตัว ตัวละ 300 ด่ง และทุกๆ 4 เดือน เขาขายหอยโข่งได้ 1 ตันในราคาเฉลี่ย 65,000 ด่งต่อกิโลกรัม
นาย โหย ยังก่อตั้งและเป็นหัวหน้าสหกรณ์เยาวชนเลี้ยงหอยโข่งในอำเภอบวนโดนซึ่งมีสมาชิก 25 คน นอกจากการแนะนำเทคนิคและจัดสรรพันธุ์หอยโขงให้แก่สมาชิกแล้ว นายโหยยังรับซื้อหอยโข่งแปรรูป และศึกษาเทคนิคการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหอยโข่งเพื่อเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ นาย หวิ่งหงอกโหย กล่าวว่า ในช่วงเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เขาได้รับการสนับสนุนและการแนะนำด้านระเบียบราชการ ตลอดจนการแนะนำแหล่งจำหน่ายจากกองเยาวชนของอำเภอฯ ซึ่งช่วยให้เขาฟันฝ่าอุปสรรคและความยากลำบากในการพัฒนารูปแบบธุรกิจนี้
“กองเยาวชนอำเภอสนับสนุนผมในการพัฒนาและแนะนำผู้รับซื้อ ให้การสนับสนุนทางการเงิน ขั้นตอนและเอกสารเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น จากการสนับสนุนของกองเยาวชนอำเภอ ตลอดจนสำนักงานและหน่วยงานต่างๆในอำเภอ ผมได้ขยายรูปแบบการเพาะเลี้ยง ทำผลิตภัณฑ์แช่แข็ง ให้การสนับสนุนเงินแก่เกษตรกรที่มีผลผลิตมั่นคง ซึ่งทำให้ราคาขายดีขึ้น”
นาย เหงียนกวางจุง เลขาธิการกองเยาวชนอำเภอบวนดนกล่าวว่า สหกรณ์เยาวชนเพื่อการเลี้ยงหอยโขงในอำเภอบวนดนเป็นสหกรณ์แห่งแรกของเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นในอำเภอสังกัดกองเยาวชนของอำเภอ กองเยาวชนอำเภอยังจัดตั้งสโมสรทำธุรกิจสตาร์ทอัพสำหรับเยาวชน ซึ่งดึงดูดสมาชิกกองเยาวชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ องค์กรและกองเยาวชนได้ทำให้เยาวชนหลายคนในจังหวัดดั๊กลักกล้าฟันฝ่าความยากลำบากในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะ |
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เยาวชนในอำเภอทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะ กองเยาวชนได้สนับสนุนเยาวชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยพิเศษ ก่อตั้งสโมสรทำธุรกิจ กลุ่มเศรษฐกิจและกลุ่มสนับสนุนเงินทุน จนถึงขณะนี้ กองเยาวชนทุกระดับของอำเภอบวนดนเป็นตัวแทนในการบริหารวงเงินสินเชื่อจากผู้อุปถัมภ์เกือบ 6 หมื่น 7 พันล้านด่ง โดยมี 33 บุคคลและรูปแบบที่ได้รับทุนทำธุรกิจสตาร์ทอัพจากกองทุนสร้างงานทำแห่งชาติและงบประมาณท้องถิ่น
ทางอำเภอยังเน้นสร้างสรรค์และพัฒนารูปแบบตัวอย่าง รูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเพื่อขยายผลในหมู่เยาวชน ดังนั้น ในช่วง 3 ปีมานี้ ขบวนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะในหมู่บ้านบวนดนจึงมีการพัฒนาดีขึ้น
“รูปแบบของเยาวชนได้บรรลุผลงานมากมาย โดยเฉพาะ เยาวชนได้นำผลิตภัณฑ์ของตนเข้าร่วมการประกวดที่จัดโดยอำเภอหรือจังหวัดฯ เรายังคงแนะนำแนวทางและแจ้งข้อมูลให้แก่สมาชิกกองเยาวชนในอำเภอทราบทันทีเพื่อเกาะติดข้อมูลที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางและนโยบายของจังหวัดฯ เลือกปัจจัยใหม่และมีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นเพื่อแนะนำและช่วยเหลือเยาวชนปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์ต่อไป”
นาย อีเล ปาส เตอร์ รองเลขาธิการกองเยาวชนจังหวัดและประธานสมาพันธ์เยาวชนเวียดนามสาขาจังหวัดดั๊กลักได้ประเมินว่า ในช่วง 4 ปีมานี้ ขบวนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะของเยาวชนจังหวัดดั๊กลักได้พัฒนามากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดี ตัวอย่างเยาวชนดีเด่นในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จได้สร้างการขยายผลและให้กำลังใจเยาวชนเพื่อมีความมุ่งมั่นก้าวรุดหน้าไป
จากการเกาะติดความต้องการของเยาวชนในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะ กองเยาวชนทุกระดับได้ประสานงานกับท้องถิ่นต่างๆเพื่อสร้างกลไก อำนวยความสะดวกต่อการสนับสนุนเยาวชนในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะ โดยเฉพาะ ถึงแม้จะประสบอุปสรรคจากผลกระทบของโรคโควิด -19 ในเวลาที่ผ่านมา แต่เยาวชนในอำเภอและเมืองต่างๆของจังหวัดฯ ยังคงเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติที่ดีเพื่อเชื่อมโยงกันเพื่อส่งเสริมกระบวนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของแต่ละคน
“หนึ่งคือ สำหรับการฝึกอบรมจะทำการวิจัยรูปแบบที่เหมาะสม โดยเฉพาะในสภาวการณ์แห่งการแพร่ระบาด สองคือเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน เราต้องการเชื่อมโยงและแนะนำให้เยาวชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ใหญ่ขึ้น สามคือพยายามประสานกับสมาคมต่างๆ เพื่อหาวิธีการเชื่อมโยงสถานประกอบการต่างๆ ตลอดจนเชื่อมโยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญ นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน”
ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ องค์กรและกองเยาวชนได้ทำให้เยาวชนหลายคนในจังหวัดดั๊กลักกล้าฟันฝ่าความยากลำบากในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะ ความยากลำบากด้านเงินทุน ระเบียบราชการและตลาดจำหน่ายจะได้รับการแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างฐานะของเยาวชนในชนบทมีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างแรงผลักดันในการขยายผลขบวนการ ส่งเสริมความมีประสิทธิภาพของรูปแบบการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของเยาวชน.