การทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสตรีชนกลุ่มน้อยในจังหวัดบั๊กก๋าน

Van Luan - Ba Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - จังหวัดเขตเขาบั๊กก๋านเป็นท้องถิ่นที่ประชาชนและเศรษฐกิจสังคมยังไม่พัฒนามากนักในเรื่องการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ถ้าหากผู้ชายทำได้ยากลำบากแล้ว แต่ผู้หญิงกลับทำได้ยากลำบากมากกว่าหลายเท่าน โดยเฉพาะสตรีชนกลุ่มน้อย แต่ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ ความคิดสร้างสรรค์และความขยันหมั่นเพียร สตรีชนกลุ่มน้อยที่จังหวัดบั๊กก๋านสามารถสร้างฐานะให้มั่นคงเพื่อมีส่วนร่วมยืนยันบทบาทและสถานะในสังคมผ่านการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ
การทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสตรีชนกลุ่มน้อยในจังหวัดบั๊กก๋าน - ảnh 1นาง ลี้ถิเกวียน (ซ้าย) ชนกลุ่มน้อยเผ่าเย้าได้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ

เมื่อเห็นศักยภาพของสินค้าเกษตรในท้องถิ่น เช่น หน่อไม้ กล้วยและน้ำผึ้ง เมื่อปี 2015 นาง ลี้ถิเกวียน สตรีชนกลุ่มน้อยเผ่าเย้าที่ตำบลหวิเฮือง อำเภอแบกทง จังหวัดบั๊กก๋าน ได้รณรงค์ให้สตรีในตำบลจัดตั้งสหกรณ์เทียนอาที่ผลิตสินค้าเหล่านี้ โดยในช่วงแรก สินค้าที่พวกเขาผลิตมีคุณภาพต่ำเนื่องจากขาดประสบการณ์ เงินทุนและเครื่องจักรที่ทันสมัย จนเกือบล้มละลาย แต่ด้วยความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ในปี 2019 นาง ลี้ถิเกวียนได้เปลี่ยนแนวทางของสหกรณ์ให้ผลิตสินค้าเฉพาะถิ่น เช่น สมุนไพรสำหรับใช้อาบน้ำและหมอนสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการรักษาโรคของชนกลุ่มน้อยเผ่าเย้าที่นี่ โดยได้กู้เงินเพิ่มเติมเพื่อซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัยและขยายโรงผลิต ขณะนี้ ทางสหกรณ์มีผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่ได้รับมาตรฐาน OCOP ระดับ 3 ดาวจำนวน 3 รายการ มีรายได้กว่า 1 พันล้านด่งต่อปี ช่วยให้พนักงานสตรี 15 คนมีงานและรายได้ที่มีเสถียรภาพ นาง ลี้ถิเกวียนกล่าวว่า เรื่องที่ยากที่สุดสำหรับสตรีชนกลุ่มน้อยในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพคือการขาดความเชื่อมั่นในตนเองเพื่อแก้ไขอคติในสังคม            “สำหรับสตรีชนกลุ่มน้อย มีอุปสรรคมากมายในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะอคติในสังคมเพราะว่า ทุกคนมักคิดว่า มีเพียงผู้ชายที่สามารถทำได้ ส่วนผู้หญิงไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้เรายังต้องเพชิญแรงกดดันจากการทำงานและครอบครัวด้วย”

ส่วนสหกรณ์ผลิตวุ้นเส้น “ต่ายฮวาน” ในตำบลโกนมิงห์ อำเภอนาหรี่ ก็เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของสตรีชนกลุ่มน้อยในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เมื่อปี 2020 ทางสหกรณ์ได้ส่งออกสินค้า 2 งวดไปยังตลาดยุโรป ซึ่งสร้างหัวเลี้ยวหัวต่อให้แก่ทางสหกรณ์ นี่เป็นผลจากความพยายามของหัวหน้าสหกรณ์ คือนาง เหงียนถิฮวาน ชนกลุ่มน้อยเผ่าไตและสตรี ซึ่งคิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมดในสหกรณ์ฯ ปัจจุบันนี้ วุ้นเส้นต่ายฮวานได้รับใบรับรองเป็นผลิตภัณฑ์ OCOP ระดับ 4 ดาวโดยมีจำหน่ายทั่วประเทศและผ่านเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซต่างๆ นาง เหงียนถิฮวานเผยว่า เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆสามารถเข้าถึงตลาด จำเป็นต้องมีความตั้งใจและพยายามเป็นอย่างมาก “ดิฉันได้เข้าร่วมชั้นฝึกอบรมวิธีการเพื่อเสนอสินค้าบนเว็บไซต์อี – คอมเมิร์ซต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ เดี๋ยวนี้ ไม่เพียงแต่คนเวียดนามเท่านั้น หากชาวต่างชาติก็รู้จักผลิตภัณฑ์ของเราผ่านการค้นหาบนเว็บไซต์ต่างๆ”

นางเกวียนและนางฮวาน เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกลุ่มสตรีชนกลุ่มน้อยในจังหวัดบั๊กก๋านที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและกำลังเป็นเจ้าของสถานประกอบการต่างๆ ปัจจุบันนี้ ที่จังหวัดบั๊กก๋าน มีสตรีชนกลุ่มน้อย 10 คนกำลังเป็นผู้บริหารของสหกรณ์และ 20 คนเป็นผู้อำนวยการสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจด้านวัตถุดิบ โรงแรมและร้านอาหารต่างๆ โดยส่วนใหญ่เน้นผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่น ซึ่งเป็นแนวทางยั่งยืนที่ทางการจังหวัดบั๊กก๋านกำลังส่งเสริมผ่านโครงการ OCOP นาง หว่างถิเงิน รองประธานสหพันธ์สตรีจังหวัดบั๊กก๋านประเมินว่า            “หลังการเข้าร่วมชั้นฝึกอบรมต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การประกอบธุรกิจและสตาร์ทอัพ สตรีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ กล้าคิดกล้าทำมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นฝ่ายรุกในการผลิต การประกอบธุรกิจและขยายตลาด เพื่อสร้างฐานะอย่างค่อยเป็นค่อยไป”

เนื่องจากเป็นจังหวัดเขตเขาที่ประชาชนมีระดับความรู้ต่ำ การที่นับวันมีสตรีชนกลุ่มน้อยสามารถเป็นเจ้าของสถานประกอบการแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของสตรีเหล่านี้ที่เมื่อก่อนรู้จักแต่งานบ้านเท่านั้นแต่เดี๋ยวนี้สามารถยืนยันสถานะในยุคแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกและการพัฒนาของประเทศ.

คำติชม