ประเพณีการเซ่นไหว้ ช้าง ของชาวเมอนงที่หมู่บ้าน โดน

To Tuan/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ในจำนวนชนเผ่าต่างๆที่อาศัยในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน ชนเผ่าเมอนงมีชื่อเสียงในอาชีพจับและคล้องช้างป่า โดยสำหรับชาวท้องถิ่น ช้างไม่เพียงแต่เป็นทรัพสินที่มีค่าเท่านั้นหากยังมีบทบาทสถานะที่สำคัญในชีวิต เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญในจิตใจของทุกครอบครัว ช้างเป็นเหมือนสมาชิกในชุมชนดังนั้นงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับช้างต่างต้องดำเนินไปตามประเพณีดั้งเดิมของชาวเมอนง โดยเฉพาะชาวหมู่บ้านโดน
ประเพณีการเซ่นไหว้ ช้าง ของชาวเมอนงที่หมู่บ้าน โดน - ảnh 1หมอผีกำลังทำพิธีเซ่นไหว้ขอพรให้ช้าง 

เมื่อก่อนนี้ เมื่อจับช้างป่าตัวน้อยได้หนึ่งเชือก ชาวบ้านก็จะนำไปให้ควาญช้างที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงช้างคล้องช้างรับหน้าที่ควบคุมช้างซึ่งอาจจะใช้เวลา2-3เดือนแล้วแต่ช้างแต่ละตัว เมื่อช้างสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งแล้วก็จะให้เข้าหมู่บ้านเพื่อทำพิธีเซ่นไหว้เข้าบ้านให้กับช้างเหมือนเป็นสมาชิกคนใหม่ของหมู่บ้าน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดของชาวเมอนง

โดยพิธีเซ่นไหว้รับช้างนั้นไม่เพียงแต่เป็นการฉลองความสำเร็จของควาญช้างเท่านั้นหากยังสะท้อนความหมายที่ดีงามในการยกย่องเชิดชูความแข็งแกร่งของผู้ชายเมอนงในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆเพื่อพิชิตธรรมชาติ ในงานก็จะมีการอธิฐานขอพรให้ช้างมีความแข็งแรง ความสงบสุขและความมั่งคั่งให้แก่เจ้าของช้าง รวมทั้งยังเป็นการรายงานให้เทพเจ้าทั้งหลายรับทราบว่าช้างตัวนี้ได้กลายเป็นสมาชิกของครอบครัวของชุมชนแล้ว ซึ่งผู้ใหญ่บ้านจะสั่งสอนให้ลูกหลานเข้าใจว่า “ชีวิตช้างก็เหมือนชีวิตคน” ดังนั้นจะต้องดูแลปฏิบัติต่อช้างเหมือนสมาชิกทั่วไป ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆตามประเพณี นาย ด่ามนังลอง ซึ่งครอบครัวประกอบอาชีพคล้องช้างมา4รุ่นในหมู่บ้านโดน จ.ดั๊กลั๊ก เผยว่า“สำหรับชาวเมอนง ช้างมีความหมายสำคัญทางวัฒนธรรมและจิตใจ มีความผูกพันและเกี่ยวข้องกับทุกกิจกรรมในชีวิตรวมทั้งการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเจ้าของของมันด้วย เมื่อมาเที่ยวเตยเงวียนช่วงหน้าฝนก็จะได้เห็นชาวบ้านจัดพิธีเซ่นไหว้สำหรับช้างเพื่อแจ้งให้มันทราบว่า ธรรมชาติเริ่มสนองอาหารให้ช้าง ส่วนเมื่อถึงหน้าแล้งก็จะเซ่นไหว้อีกรอบเพื่อเป็นสัญญาณบอกว่าฤดูอาหารตามธรรมชาติหมดแล้ว ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการให้กำลังใจช้างว่าต้องพยายามอดทนฝ่าฟันช่วงที่ลำบากนี้เพื่อรอฤดูฝนรอบต่อไป”

สำหรับครอบครัวต่างๆการที่มีช้างสักเชือกก็ถือเป็นสมบัติที่มีค่าและเป็นเพื่อนที่หย่างหรือเทพเจ้าเบื้องบนได้ประทานให้ ดังนั้นพิธีเซ่นไหว้เพื่อขอพรให้ช้างมีความแข็งแรงมักจะถูกจัดขึ้นอย่างรอบคอบ ต้องมีการเชิญหมอผีมาทำพิธี ส่วนเครื่องเซ่นไหว้นั้นต้องมีเหล้าอุ ข้าวสาร ข้าวสวยหนึ่งถ้วย น้ำเต้าที่มีน้ำ เต็มและเครื่องในหมู เป็นต้น โดยพิธีได้จัดขึ้นท่ามกลางเสียงฆ้องเสียงกลองที่เร่งเร้า

เริ่มพิธี หมอผีต้องท่องคำอธิฐานของให้ “หย่าง” คอยปกป้องให้ช้างมีความแข็งแรงเพื่อช่วยงานครอบครัวและชุมชน ต่อจากนั้นจะมีการวางหัวหมู ข้าว ทาเลือดหมูและรดน้ำบนหัวช้างเหมือนเป็นการประทานพรให้ช้างแข็งแรงปลอดโรค ซึ่งทุกขั้นตอนต่างสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวท้องถิ่นและสะท้อนความหมายที่ดีงามในความรักใคร่และทะนุถนอมของมนุษย์ต่อสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว นอกจากพิธีเซ่นไหว้เพื่อขอพรให้ช้างแข็งแรงแล้ว ยังมีการจัดพิธีเซ่นไหว้เมื่อขายช้าง ตั้งชื่อให้ช้าง เมื่อช้างป่วยหรือออกลูกรวมถึงเมื่อช้างเสียชีวิตด้วย

ปัจจุบันนี้ พิธีขอพรให้ช้างมีความแข็งแรงและพิธีกรรมอื่นๆได้รับการฟื้นฟูในงานเทศกาลต่างๆของหมู่บ้านโดนเพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์นี้ของชายเตยเงวียนให้คงอยู่ต่อไปรวมทั้งเพื่อเป็นการแนะนำประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่มีโอกาสมาเยือนผืนดินแห่งการคล้องช้างของเตยเงวียน.

คำติชม