ประเพณีการบูชาบรรพบุรุษของชุมชนเผ่าเย้าในเขตเขาตะวันตกภาคเหนือ

Chẻo Thu;Thu Hằng
Chia sẻ
 (VOVWORLD)-ในชุมชนเผ่าเย้าที่อาศัยในเขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม การบูชาบรรพบุรุษก็เป็นหนึ่งในประเพณีที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตโดยเฉพาะประเพณีการตั้งหิ้งบูชาต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยพิธีสำคัญนี้จะต้องปฏิบัติภายในเวลา2ชั่วโมงตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันเก่าสู่รุ่งเช้าวันใหม่

ประเพณีการบูชาบรรพบุรุษของชุมชนเผ่าเย้าในเขตเขาตะวันตกภาคเหนือ - ảnh 1หิ้งบูชาของเผ่าเย้า 

ตามประเพณี หิ้งบูชาบรรพบุรุษของเผ่าเย้าเคาจะตั้งอยู่ที่มุมห้องกลางของบ้านและเป็นส่วนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด หิ้งบูชาต้องมีลักษณะแบบโต๊ะที่มี4ขาตั้งอยู่กับพื้นตามความเลื่อมใสที่เกี่ยวข้องกับตำนานของเสาฟ้าดิน เมื่อเริ่มพิธีตั้งหิ้งบูชาชาจะต้องเตรียมกระถางธูป ขี้เถ้า เหรียญเงินและเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆแล้วเชิญหมอผีมาทำพิธี นับตั้งแต่วันตั้งหิ้งบูชา เมื่อถึงวันที่1และวันขึ้น15ค่ำทุกๆเดือนเจ้าของบ้านจะต้องเปลี่ยนแก้วน้ำที่วางข้างๆกระถางธูป จุดกำยานในกระถาง และเมื่อจุดธูปจะต้องนำถ่านไม้2ก้อนที่ยังมีไฟอยู่มาวางในกระถางธูปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของดวงตา จุดธูปปักกไว้ที่ขาของหิ้งบูชาและที่ประตูทางเข้าทั้งสองด้าน นาง แจ๋งมี้ลาย ชายเย้าเคาที่อ.สิ่นโห่เผยว่า "สำหรับเผ่าเย้าเคา เมื่อสร้างบ้านใหม่จะต้องเชิญหมอผีมาทำพิธีเซ่นไหว้ตั้งหิ้งบูชา เรียกดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาเข้าที่กระถางธูปเพื่อให้ลูกหลานเคารพบูชา ขอให้มาปกป้องคุ้มครองทุกคนในครอบครัวให้ทำมาค้าขึ้น ชีวิตมั่นคง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องหาต้น "หงาย" ในป่าที่ขึ้นตามทิศพระอาทิตย์ขึ้นนำมาเผาเป็นขี้เถ้าใส่ในกระถางธูปพร้อมเหรียญเงิน"

ประเพณีการบูชาบรรพบุรุษของชุมชนเผ่าเย้าในเขตเขาตะวันตกภาคเหนือ - ảnh 2 หิ้งบูชาของเผ่าเย้าแดงที่อำเภอหว่างซูฝี่

ส่วนสำหรับหิ้งบูชาของเผ่าเย้าแดงที่อำเภอหว่างซูฝี่ จังหวัดฮายาง ได้ทำจากไม้ยืนต้นเนื้อดีในป่า เมื่อตั้งหิ้งบูชาต้องวางส่วนรากด้านล่างติดกับพื้นโดยแท่นบูชานั้นตั้งบนไม้ค้ำยัน2อัน ตัวหิ้งมีชั้นวางสองชั้นที่ยึดติดกับขาไม้ มีหลังคาเล็กๆ และถูกยึดติดเข้ากับผนังบ้านด้วยหมุดไม้หรือแขวนด้วยลวดและห้ามใช้ตะปูเหล็กในการตั้งหิ้งบูชา ส่วนหิ้งบูชาของหัวหน้าตระกูลจะปิดชั้น2ทั้ง4ด้าน นายลี้จอยญาน ชาวเย้าแดงที่หมู่บ้านฝิ่นโห่ อำเภอ หว่างซูฝี่เผยว่า"หิ้งบูชาของเผ่าเย้าในท้องถิ่นของผมมักตั้งถาวรที่มุมหนึ่งของห้องกลางในบ้าน ในช่วงตรุษเต๊ตจะต้องมีเนื้อหมู 1ชิ้นเพื่อเซ่นไหว้ทุกวัน เปิดไฟ เปลี่ยนแก้วน้ำและจุดธูปตลอดช่วงตรุษเต๊ต นอกจากนั้นต้องแขวนผ้าริบบิ้นสีแดงรอบหิ้งบูชาเพื่อเป็นการขอพรจากบรรพบุรุษให้คอยปกป้องดูแลทุกคนขอให้ปีใหม่โชคดีมีสุข ในช่วงวันตรุษเต๊ตจะต้องถวายขนม "ใหญ่" ที่ทำจากข้าวเหนียวตำแล้วปั้นเป็นรูปทรงกลม แล้วเลือกขนม4อันที่สวยงามวางบนหิ้งบูชาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ4ฤดูกาล ในเช้าวันขึ้นปีใหม่จะไปหากิ่งท้อมาปักบนขนมเพื่อขอพรให้ลูกหลานในบ้านมีครบทั้งหญิงและชาย"

สำหรับเผ่าเย้าเตี่ยนที่อำเภอเวินโห่ จังหวัดเซินลา หิ้งบูชาก็ต้องทำเป็นสองชั้นเหมือนกัน โดยชั้นบนเป็นที่วางเครื่องเซ่นไหว้บูชา ชั้นล่างวางของสำหรับใช้ในการบูชาเช่นธูปเทียน หนังสือปากกาแผ่นพิมพ์ไม้สำหรับหมอผีทำพิธีต่างๆ บางตระกูลเผ่าเย้าเช่นตระกูลลี้และเจี๋ยวจะเตรียมกระดาษสาสำหรับตกแต่งหิ้งบูชาด้วย โดยมีการตัดกระดาษเป็นรูปต่างๆเช่นรูปดวงอาทิตย์ รูปปลา รูปม้า เป็นต้น ด้วยความเชื่อว่าปีใหม่การเลี้ยงสัตว์จะได้ผลดีส่วนดวงอาทิตย์จะส่องแสงสว่างให้แก่บ้านเรือนและครอบครัวตลอดปี นายบ่านวันเลียม ชาวเผ่าเย้าเตี่ยนที่หมู่บ้าน ซุยลิน อำเภอเวินโห่จังหวัดเซินลาเผยว่า"หิ้งบูชาของเผ่าเย้าเตี่ยนมีสองชั้น ชั้นบนวางกระถางธูป แก้วน้ำ1แก้วและแก้วเหล้า 4แก้ว ชั้นล่างวางของที่ใช้สำหรับการบูชาเซ่นไหว้ ในวันตรุษเต๊ตนอกจากไก่หมูและปลาที่ทำเป็นอาหารเซ่นไหว้ ชาวบ้านยังแขวนเหรียญเงินเพื่อขอให้ปีใหม่ทำมาค้าขึ้นร่ำรวยเงินทอง"

สำหรับพี่น้องชนเผ่าเย้าในจังหวัดเขตเขาภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม หิ้งบูชาบรรพบุรุษเป็นพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีแต่เจ้าของบ้านเข้าไปทำพิธีเซ่นไหว้ได้และมีแต่ผู้ชายในบ้านที่สามารถเข้าทำความสะอาดได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดพิธีเซ่นไหว้ใหญ่หรือเล็กตามประเพณีสำคัญต่างๆแต่ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการเคารพและรำลึกถึงบรรพชน ขอให้ชีวิตมีความอิ่มหนำผาสุก ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่ดีงามของชนเผ่าต่างๆในเวียดนามที่ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในชีวิตสังคม./.

คำติชม