ปฏิทินโบราณของเผ่าไทดำจังหวัดเซิน ลา

Chia sẻ
(VOVWORLD) -ตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวเผ่าไทดำที่จังหวัดเซิน ลา มีปฏิทินเป็นของตนเองที่ใช้ในทุกกิจกรรมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นงานศพ งานแต่ง ปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ หรือในการผลิตการเกษตร  ปฏิทินของเผ่าไทดำช่วยเพิ่มคุณค่าให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของเผ่าไทดำให้มีความหลากหลาย น่าสนใจมากขึ้น ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป  
ปฏิทินโบราณของเผ่าไทดำจังหวัดเซิน ลา - ảnh 1ปฏิทินของเผ่าไทในจังหวัดเซินลา 

ปฏิทินโบราณของเผ่าไทดำเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าสูงที่ยังคงอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ซึ่งถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นโดย “หมอ” หรือ “พ่อหมอ” คำว่า พ่อหมอ นั้นคนเผ่าไทดำเวียดนามจะออกเสียงเป็น “ปอมึ” เพื่อเรียกคนที่ดูฤกษ์ดูยามให้คนในพื้นที่  ในงานวรรณคดีโบราณและกลอนพื้นบ้านของเผ่าไทเล่าว่า เมื่อหลายพันปีก่อน บรรพบุรุษของชาวเผ่าไทได้อพยพมาถึงบริเวณใหม่ชื่อว่า เมืองลอ และขยายถิ่นที่อยู่อาศัยมาทั่วภาคตะวันตกเฉียงเหนือ  ในการอพยพของชาวเผ่าไทนั้นมีทั้งพ่อหมอที่ทำอาชีพดูฤกษ์ดูยามให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตทุกคน  ฉะนั้นชาวเผ่าไทดำได้รู้จักใช้ประโยชน์ของปฏิทินในการดำเนินชีวิตตั้งแต่สมัยโบราณมานับพันปีแล้ว

ปฏิทินของเผ่าไทเป็นปฏิทินจันทรคติ มีการนับเวลาโดยอาศัยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ ซึ่งมีรอบการเปลี่ยนแปลงคือ 1 เดือน  เวลา 1 เดือนในภาษาเผ่าไทใช้คำเดียวกันกับคำเรียกพระจันทร์ คือ “เดือน”  หนึ่งปีของปฏิทินไทดำก็มี 12 เดือนเหมือนกับปฏิทินสุริยคติ แต่มีการคลาดเคลื่อนกับปฏิทินสุริยคติและปฏิทินจันทรคติที่ชาวเผ่าเวียดกำลังใช้กันถึง 6 เดือน  ในวรรณคดีโบราณและกลอนพื้นบ้านของเผ่าไทได้มีการใช้เดือนเพื่อพูดถึงสภาพอากาศ เช่น “เดือนอ้ายฝนตกพรำๆ เดือนยี่ฝนตกเป็นบางที่ เดือนสามน้ำเต็มตลิ่ง เดือนสี่น้ำหยดติ๋งๆ เดือนห้าฝนลาดอกเลา เดือนหกฝ้าร้องนำหนาวมา เดือนเจ็ดลมกรรโชกแรง...”  ชาวบ้านดูธรรมชาติเพื่อทราบฤดูกาลจะได้ทำไร่ทำนาให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ โดยสังเกตุดูรูปร่างของพระจันทร์บนท้องฟ้าเพื่อคำนวณวันเดือนปี  และผู้มีประสบการณ์จะสามารถดูออกว่าปีไหนฝนจะมาก  ส่วนเรื่องของลมจะดูที่ต้นไม้และพฤติกรรมของมด หากมดทำรังในที่ต่ำ ลมจะแรง แต่ถ้ามดทำรังในที่สูงจะไม่ค่อยมีลมพายุในปีนั้น  นายลอ วัน จุง ตำบลเชียง เล อำเภอเมืองเซิน ลา เป็นผู้ศึกษาปฏิทินของชาวเผ่าไท เผยว่า  “เมื่อก่อนชาวบ้านจะดูว่าหากผลไม้ในป่าเริ่มสุกก็ถึงฤดูทำไร่ปลูกข้าว เช่น เห็นผล “ไฮ” สุกก็จะหว่านเมล็ดข้าว เห็นฟล “หา” สุกก็จะดำกล้า  แต่ในหมู่บ้านเผ่าไทยังคงมีคนที่มีสมุดดูฤกษ์ยามให้ชาวบ้านไปหาขอฤกษ์งามยามดีได้”

ปฏิทินโบราณของเผ่าไทดำจังหวัดเซิน ลา - ảnh 2ภาคสวรรค์ เรียกว่า Canหรือ "ราศีบน" มี 10 ตัวอักษร และ ภาคปฐพี เรียกว่าChi หรือ "ราศีล่าง" มี 12 ตัวอักษร  

ปัจจุบันนี้ เผ่าไทดำที่อาศัยในอำเภอถว่น เจิว อำเภอซง ม้า อำเภอเมือง ลา อำเภอมาย เซิน อำเภอเมืองเซิน ลา (จังหวัดเซิน ลา) อำเภอต่วน ย้าว อำเภอเมือง อั๋ง อำเภอเดียน เบียน อำเภอเดียน เบียน ดง (จังหวัด เดียน เบียน) อำเภอเติน เวียน อำเภอธาน เวียน (จังหวัดไล เจิว) อำเภอเมือง ลอ อำเภอวัน เชิ้น (จังหวัดเอียน บ๊าย) และที่อื่นๆ ยังใช้ปฏิทินไทในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ชาวเผ่าไทรู้จักใช้ปฏิทินของเผ่าตนในทุกด้านของชีวิต  ทุกพื้นที่ทุกหมู่บ้านจะมี “ปอมึ” หรือพ่อหมอทำหน้าที่ดูฤกษ์ดูยามให้คนที่มีความต้องการ เช่น ดูวันแต่งงาน วันปลูกบ้าน วันขึ้นบ้านใหม่... พ่อหมอทุกคนจะมีสมุดโบราณเพื่อคำนวณเวลาและเลือกฤกษ์งามยามดีให้ชาวบ้าน  นอกจากนี้ปฏิทินของเผ่าไทยังใช้ระบบ Can หรือ ราศีบน 10 อัน และ Chi หรือ ราศีล่าง 12 อัน

นายกา วัน จุง ชาวเผ่าไท อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีจังหวัดเซิน ลา มองเห็นความตำเป็นของการอนุรักษ์และสืบทอดปฏิทินไทเดิม จึงได้เสนอและดำเนินการวิจัยหัวข้อ “ศึกษา รวบรวมปฏิทินไทจังหวัดเซิน ลา และสร้างโปรแกรมปฏิทินไทในคอมพิวเตอร์” เขาได้สร้างโปรแกรมปฏิทินไทเดิมในคอมพิวเตอร์สำเร็จในปี 2005 ซึ่งสามารถค้นหาวันที่ได้ในระยะเวลาถึง 400ปี ตั้งแต่ปี 1800 ถึงปี 2199 และเทียบเคียงระหว่างปฏิทินสุริยคติ ปฏิทินจันทรคติทั่วไปของเวียดนาม และปฏิทินของเผ่าไท นายกา วัน จุง เผยว่า “ได้ทำโปรแกรมปฏิทินของเผ่าไทในคอมพิวเตอร์แล้ว สมาคมวรรณกรรมพื้นบ้านเวียดนามก็ได้ตีพิมพ์ปฏิทินของเผ่าไทเป็นเล่มมีทั้งหมด 7 ภาค ซึ่งปฏิทินนี้สามารถดูเวลาได้ถึง 400 ปี  ผมหวังว่าจะมีคนรู้จักปฏิทินเผ่าไทมากขึ้น”

การสังเกตุดูลักษณะของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติรอบตัวช่วยให้คนไทยสามารถสร้างปฏิทินโบราณเพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน  ปฏิทินของเผ่าไทดำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือพร้อมกับคุณค่าทางวัฒนธรรมในด้านอื่นๆ กลายเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ที่ควรค่าแก่การรักษาเอาไว้.

คำติชม