ความหมายของเตาไฟในบ้านยกพื้นต่อวิถีชีวิตของชนเผ่าไท

Đức Anh-Thu Hằng
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ชนเผ่าไทอาศัยในบ้านไม้ยกพื้นและมีส่วนครัวพร้อมเตาไฟ2ที่ ซึ่งนอกจากใช้เป็นที่หุงหาอาหารเเล้ว เตาไฟยังสะท้อนความคิดและความเลื่อมไสที่ดีงามในวิถีชีวิตของชนเผ่าไท
ความหมายของเตาไฟในบ้านยกพื้นต่อวิถีชีวิตของชนเผ่าไท - ảnh 1

 

 ในอดีต ครอบครัวของเผ่าไทมักจะอาศัยร่วมกันหลายรุ่นดังนั้นบ้านไม้ยกพื้นแต่ละหลังมักจะสร้างให้มีหลายห้อง มีบันไดสองด้านและมีการตั้งเตาไฟในสองที่ โดยส่วนเตาที่ตั้งอยู่ใต้ห้องนอนของเจ้าของบ้านเรียกว่า “จีไฟโก๊ก” ส่วนเตาที่ตั้งในห้องแรกของบ้านเรียกว่า “จีไฟปาย” ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้งานและความหมายไม่เหมือนกันและมีเงื่อนไขที่ต้องห้ามในระหว่างการใช้งาน นายก่าวันจูง ที่หมู่บ้านกอปุก ตำบลเจี่ยงเงิน นครเซินลา จังหวัดเซินลา เผยว่า

 “เตาไฟมีความหมายสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างบ้านไม้ยกพื้นของชนเผ่าและเมื่อมีการขึ้นบ้านใหม่ก็จะต้องเชิญญาติทางแม่หรือพี่น้องฝ่ายภรรยามาเป็นผู้ช่วยตั้งเตาและจุดไฟเอากฤษ์เป็นคนแรก ซึ่งเตาไฟยังสะท้อนความหมายของครอบครัวที่อบอุ่นเพื่อให้คนในครอบครัวทำมาค้าขึ้นและมีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก”

ในความเลื่อมใสของชาวเผ่าไท เทพแห่งเตาก็คือเทพแห่งไฟ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มากในชีวิตชุมชน โดยช่วยให้บรรยากาศในบ้านมีความอบอุ่นและข้าวปลาอาหารรวมทั้งเหล้าพื้นเมืองจะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเทพแห่งเตา ในอดีตนั้นท้องถิ่นในเขตเขายังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงชุมชนดังนั้นเตาไฟจึงเป็นศูนย์รวมใจของทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นงานใหญ่หรืองานเล็กทุกคนก็มักจะนั่งพูดคุยกันรอบเตาไฟและนี่คือเหตุผลที่เตาไฟในทุกบ้านไม่เคยดับโดยเฉพาะในหน้าหนาว นายต่องวันเทีย ชาวบ้านหม่อง ตำบลหัวลา นครเซินลา เผยว่า

“ส่วนเตาที่เรียกว่า “จีไฟโก๊ก” มักตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับหิ้งบูชาบรรพบุรุษในครอบครัว ซึ่งเป็นเตาไฟที่ใช้ให้ความอบอุ่นหรือต้มน้ำชงชาของผู้สูงอายุในบ้านโดยเฉพาะเป็นที่รับแขกที่มาเยี่ยมบ้าน มิใช่เป็นที่หุงหาอาหารประจำวัน ดังนั้นสตรีในบ้านจึงห้ามมาทำอาหารหรือนั่งคุยด้วยเพื่อเป็นการให้ความเคารพผู้ใหญ่ในบ้านและเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของครอบครัว”

ส่วนเตาที่ตั้งในห้องแรกของบ้านเรียกว่า “จีไฟปาย”เป็นที่หุงอาหารประจำวันและไม่มีข้อห้ามอะไร ทุกคนในครอบครัวสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆในส่วนเตา“จีไฟปาย”นี้ สำหรับสตรีหลังคลอดลูกก็สามารถใช้อยู่ไฟจนถึงวันที่ทารกครบเดือนถึงจะย้ายเข้าไปในห้องของพ่อแม่ ปัจจุบันเมื่อชีวิตสังคมพัฒนาอุปกรณ์เครื่องใช้มีความทันสมัยมากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ว ในทุกบ้านของชาวเผ่าไทก็ยังคงมีเตาไฟ1-2ที่เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเอาไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป.

คำติชม