(VOVworld) – การเจรจาเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี๕บวก๑ ได้แก่ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐและเยอรมนีที่กำลังมีขึ้น ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียถือเป็นการเจรจารอบสุดท้ายเพื่อแสวงหาข้อตกลงในทุกด้านให้แก่โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่สร้างความถกเถียงในหลายปีที่ผ่านมาซึ่งดำเนินไปในบรรยากาศที่ยังคงมีข้อขัดแย้งหลายข้อระหว่างฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การเจรจานี้จะสามารถเสร็จสิ้นลงในวันที่๒๔พฤศจิกายนซึ่งเป็นเส้นตายที่ฝ่ายต่างๆได้วางไว้ได้หรือไม่จะต้องขยายเส้นตายการเจรจาออกไปอีกถือเป็นสิ่งที่ประชามติให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
|
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ(ขวา )และรัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน(ซ้าย)จับมือกันในการประชุมที่ประเทศโอมานเมื่อวันที่๙ที่ผ่านมา(Photo:AP) |
การเจรจาครั้งนี้มีลักษณะชี้ขาดเพื่อให้อิหร่านและประเทศมหาอำนาจหาข้อยุติการถกเถียงเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านในตลอด๑๒ปีที่ผ่านมาเพราะว่า ถ้าการเจรจานี้ประสบความล้มเหลว กระบวนการนี้จะยืดเยื้อออกไปอีกและจะสร้างผลเสียหายมหาศาล ก่อนหน้านั้น ถึงแม้ฝ่ายต่างๆได้มีความพยายามแก้ไขแต่การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงในระยะยาวเพื่อควบคุมโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านเพื่อแลกกับความช่วยเหลือและการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
ความแตกต่างยากที่จะแก้ไขได้
หลังจากที่ยกเลิกเส้นตายคือวันที่๒๐กรกฎาคม อิหร่านและกลุ่มพี๕บวก๑ได้เห็นพ้องกันว่าจะขยายเส้นตายของการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญๆ อย่างไรก็ดี ในเกือบ๔เดือนที่ผ่านมา ทุกฝ่ายยังไม่สามารถลดความขัดแย้งได้แม้จะมีการผลักดันการหารือระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี๕บวก๑ การเจรจาทวิภาคีของสหรัฐและอิหร่าน และการเจรจา๓ฝ่ายที่ประกอบ ด้วย อิหร่าน สหรัฐและสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ประชามติจึงตั้งความหวังในการเจรจาครั้งนี้ว่า จะสามารถบรรลุข้อตกลงตรงตามกำหนดเวลาที่ทุกฝ่ายได้วางไว้คือในวันที่๒๔พฤศจิกายน อย่างไรก็ดี บรรดาผู้สัดทัดกรณีกลับไม่มีความหวังเกี่ยวกับผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในการเจรจาครั้งนี้เนื่องจากยังมีข้อขัดแย้งบางข้อที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ถ้าหวนมองดูการเจรจาในหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า แม้ว่า ฝ่ายต่างๆได้ผ่านระยะทางที่ยาวไกลในการแบ่งประเภทปัญหาใหญ่ๆแต่ยังมีความแตกต่างในปัญหาสำคัญ ซับซ้อนและอ่อนไหว เช่น ขอบเขตการเสริมสมรรถภาพนิวเคลียร์ให้เข้มข้นของอิหร่าน รวมทั้งปัญหาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เมืองอารัค ผลการบังคับใช้ข้อตกลงและการผ่อนปรนคำสั่งคว่ำบาตร เป็นต้น จนทำให้เรื่องที่อิหร่านผลักดันการเสริมสรรถภาพยูเรเนี่ยมให้เข้มข้นในระดับร้อยละ๒๐อย่างรวดเร็ว ส่วนฝ่ายตะวันตกก็ขยายการคว่ำบาตรอิหร่านได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
เจตนาดีเป็นเงื่อนไขล่วงหน้า
อย่างไรก็ดี ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในกว่า๑๐ปีที่ผ่านมา การเจรจาไม่เคยมีความคืบหน้าเหมือนในปัจจุบันโดยทั้งสองฝ่ายได้มีความไว้วางใจต่อกันในระดับที่จะทำให้กระบวนการเจรจาไม่เกิดการพลิกผันแม้ว่ายังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงฉบับสุดท้ายก็ตามซึ่งเจตนาดีนี้ได้ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายนับวันกระเถิบเข้าใกล้กันยิ่งขึ้น
แต่เพื่อบรรลุข้อตกลงที่ทุกฝ่ายต่างพอใจก็ต้องมีเจตนาดีและความพยายามมากขึ้นซึ่ง ก่อนการเจรจาครั้งนี้ นายโมฮัมเหม็ด ชาวาด ซารีฟรัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านได้แสดงความหวังเกี่ยวกับผลสำเร็จอันงดงามของการเจรจาครั้งนี้แต่ยังคงย้ำถึงเจตนาดีและความไว้วางใจเพราะถ้ามีเจตนาดีจากกลุ่มพี๕บวก๑ อิหร่านก็พร้อมที่จะตอบสนองความต้องการเพื่อนำไปสู่ข้อตกลง แต่ถ้ากลุ่มพี๕บวก๑ขาดเจตนาดี อิหร่านก็ยังคงต้องการมาตรการแก้ปัญหานิวเคลียร์แต่จะไม่ขัดกับผลประโยชน์ของประเทศ ส่วนนายฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ฝ่ายต่างๆอาจบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ก่อนวันที่๒๔พฤศจิกายนแต่อิหร่านควรแสดงให้เห็นถึงการอ่อนข้อในการโน้มน้าวจูงใจบรรดาหุ้นส่วนเห็นถึงเป้าหมายเพื่อสันติภาพในโครงการนิวเคลียร์ของตน ส่วนนายจอห์น แครีรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเห็นว่า นี่คือโอกาสแห่งประวัติศาสตร์ที่อิหร่านไม่ควรพลาดเพื่อให้ความสงสัยของประชาคมระหว่างประเทศหายไปเพื่อแลกกับโอกาสทางเศรษฐกิจและยุติการถูกโดดเดี่ยว
โอกาสทองให้แก่ข้อตกลงนิวเคลียร์ในทุกด้าน
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ทั้งสองฝ่ายต่างมีเจตนาดีแล้วและ สิ่งที่จำเป็นในปัจจุบันคือทุกฝ่ายต้องใช้โอกาสโดยมีปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ปัจจุบัน ทุกฝ่ายต่างตระหนักได้ว่า ยิ่งเวลาผ่านพ้นไป ความเป็นไปได้ของการบรรลุข้อตกลงยิ่งลดลงเพราะถ้าไม่มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ความสงสัยจะทำให้ความไว้วางใจก็ยิ่งลดลง แถมยังเกิดความขัดแย้งภายในแต่ละฝ่ายด้วย
ในสภาวการณ์ที่ความไร้เสถียรภาพภูมิภาคนับวันเพิ่มขึ้นโดยมีภัยคุกคามจากรัฐอิสลามหรือไอเอส การบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ในทุกด้านไม่เพียงแต่จะช่วยยุติความเป็นอริระหว่างอิหร่านกับฝ่ายตะวันตกที่ยืดเยื้อมา๓๕ปีเท่านั้นหากยังเปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับอิหร่านรวมทั้งการต่อต้านกลุ่มไอเอสด้วยซึ่งถึงเวลาแล้วที่สหรัฐและฝ่ายตะวันตกต้องยอมรับว่า ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกำลังมีบทบาทที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆในเขตตะวันออกกลางที่ไร้เสถียรภาพ นั่นคือ แสวงหามาตรการให้แก่วิกฤตในซีเรีย ค้ำประกันให้การถ่ายโอนกิจกรรมความมั่นคงในอัฟกานิสถานให้ประสบความสำเร็จ ฟื้นฟูเสถียรภาพในเลบานอนและเยเมน รักษาสันติภาพตามบริเวณชายแดนระหว่างเลบานอนกับอิสราเอล ดังนั้น การเจรจาครั้งนี้จึงเป็นโอกาสทองเพื่อให้อิหร่านและกลุ่มพี๕บวก๑บรรลุข้อตกลงในทุกด้านในระยะยาวที่นำผลประโยชน์มาให้แก่ทุกฝ่าย./.