กองกำลังที่ปฏิบัติหน้าที่ในทะเลของเวียดนาม (Photo VNplus)
|
แนวปะการังตือชิ้ง อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐานชายฝั่งของเวียดนาม ซึ่งเป็นเขตทะเลที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนามตามข้อกำหนดของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS
ปฏิบัติการของจีนได้ละเมิดกฎหมายสากลอย่างรุนแรง
มาตราที่ 56 ใน UNCLOS 1982 ระบุว่า ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตน ทุกประเทศริมฝั่งทะเลมีสิทธิ์ในทรัพยากรณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งการผลิตพลังงานจากน้ำ กระแสน้ำและลม ดังนั้นปฏิบัติการของต่างประเทศในเขตทะเลของเวียดนามต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของ UNCLOS 1982 และกฎหมายเวียดนาม ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเวียดนาม กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นถือเป็นการรุกล้ำเขตทะเลของเวียดนาม ละเมิดกฎหมายสากลและ UNCLOS 1982
แต่จีนได้เพิกเฉยกฎหมายสากล และมีการเรียกร้องที่ไร้เหตุผลว่า เวียดนามต้องยุติการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในเขตทะเลที่อยู่อธิปไตยของเวียดนาม นาย Noah Zaring อัครราชทูตฝ่ายการเมืองของสถานทูตสหรัฐประจำเวียดนามเผยว่า “การกระทำดังกล่าวของจีนสะท้อนการจงใจใช้กำลังเพื่อบรรลุเป้าหมาย จีนได้สร้างความไร้เสถียรภาพ ใช้อาวุธเพื่อกลั่นแกล้งบังคับให้ประเทศอื่นต้องปฏิบัติตาม ผมเห็นว่า จีนต้องร่วมมือและให้ความเคารพกฎหมายสากลเพื่อไม่ทำลายอธิปไตยและความไว้วางใจของประเทศอื่นๆในภูมิภาค”
จีนตั้งใจกล่าวหาว่าเวียดนามสำรวจแหล่งปิโตรเลียม “เพียงฝ่ายเดียว” ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม พยายามเปลี่ยนเขตทะเลที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนามให้เป็นเขตทะเลที่มีการพิพาทและมีการกระทำในลักษณะใช้อำนาจข่มขู่เพื่อปฏิบัติแผนครอบครองเขตทะเลตะวันออกเพียงผู้เดียว นาง Umnova Irina Anatolyevna หัวหน้าคณะกรรมการวิจัยรัฐธรรมนูญ – กฎหมายของมหาวิทยาลัยตุลาการสังกัดศาลสูงรัสเซียยืนยันว่า “ปฏิบัติการของจีนเป็นการละเมิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ซึ่งเดินสวนความพยายามปกป้องสันติภาพและการแก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธีของบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งห้ามเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต เวียดนามต้องมีความอดทนเพื่อแสดงทัศนะของตนเกี่ยวกับการใช้สันติวิธีเพื่อแก้ไขการพิพาทและย้ำคัดค้านการใช้กองกำลัง”
ให้ความเคารพกฎหมายสากล ยืนหยัดปกป้องอธิปไตย
ในสภาวการณ์ดังกล่าว หน้าที่การปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลและหมู่เกาะของประเทศคือหน้าที่ที่สำคัญเป็นอย่างมากของเวียดนาม แนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามคือแก้ไขการพิพาทและความขัดแย้งในทะเลตะวันออกด้วยสันติวิธี บนเจตนารมณ์ของหุ้นส่วน ด้วยความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ตามกฎหมายสากล ไม่ใช้หรือข่มขู่ที่จะใช้อาวุธ
เวียดนามได้พูดคุยกับฝ่ายจีนผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งการส่งจดหมายประท้วงเรียกร้องให้จีนยุติการกระทำที่ละเมิดดังกล่าว ถอนเรือทั้งหมดออกจากเขตทะเลของเวียดนาม ให้ความเคารพอำนาจอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาลของเวียดนาม ส่วนกองกำลังที่ปฏิบัติหน้าที่ในทะเลของเวียดนามก็ได้ปฏิบัติมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมเพื่อปกป้องอธิปไตย อำนาจอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาลของเวียดนามอย่างสันติตามกฎหมายเพื่อปกป้องเขตทะเลของเวียดนาม สำหรับการใช้สันติวิธีเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ศ.ดร. ฝ่ามกวางมิงห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้เผยว่า “ในโลกแห่งโลกาภิวัตน์และการพึ่งพาระหว่างกันในปัจจุบัน ทุกประเทศ รวมทั้งประเทศมหาอำนาจก็ไม่สามารถแยกตัวออกจากแนวโน้มระหว่างประเทศได้ เวียดนามก็เช่นกัน ที่ต้องการใช้โอกาสจากการสนับสนุนจากนานาประเทศเพื่อปกป้องอธิปไตย ใช้มาตรการทางการทูตเพื่อแก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธี การทูตถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้โลกเข้าใจเกี่ยวกับเวียดนาม แลกเปลี่ยนคุณค่าและทัศนะของเวียดนามคือ แก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธี ไม่ใช้หรือข่มขู่ที่จะใช้อาวุธ นี่คือหลักการที่ไม่เปลี่ยนแปลงของเวียดนามและถึงเวลาแล้วที่เราต้องใช้เครื่องมือทางการทูตนี้เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ”
วิธีการเข้าถึงอย่างถูกต้องของเวียดนามได้สร้างชื่อเสียงและพลังความเข้มแข็งในการปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลและหมู่เกาะ การที่เวียดนามปฏิบัติตามกฎหมายสากล เชิดชูความโปร่งใสในกระบวนการแก้ไขการพิพาทและพร้อมร่วมมือแก้ไขกรณีพิพาทต่างๆ ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมโดยตรงต่อการสร้างสรรค์ภูมิภาคที่สันติภาพ เสถียรภาพ ผลักดันสันติภาพและการพัฒนาในโลก.