เมื่อไหร่ความปลอดภัยจะกลับคืนมาสู่อิรัก

Huyen - VOV5
Chia sẻ
( VOVworld )-นับตั้งแต่ทหารสหรัฐชุดสุดท้ายถอนออกจากอิรักวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๐๑๑  อันเป็นการปิดฉากสงครามอิรักที่ดำเนินมาเกือบ ๙ ปี จนถึงปัจจุบันเวลาได้ผ่านมากว่า ๖ เดือนแล้ว แต่ปัญหาความปลอดภัยสำหรับประเทศนี้ยังเป็นโจทก์ที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้  คำครหาของประชาคมโลกในเรื่องการชิงอำนาจในอิรักหลังจากที่สหรัฐถอนทหารหรือคำถามเกี่ยวกับการฟื้นตัวของพวกก่อการร้ายกำลังได้รับการรื้อฟื้นเมื่อเกิดคลื่นสังหารระลอกใหม่ถล่มอิรัก 

( VOVworld )-นับตั้งแต่ทหารสหรัฐชุดสุดท้ายถอนออกจากอิรักวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๐๑๑  อันเป็นการปิดฉากสงครามอิรักที่ดำเนินมาเกือบ ๙ ปี จนถึงปัจจุบันเวลาได้ผ่านมากว่า ๖ เดือนแล้ว แต่ปัญหาความปลอดภัยสำหรับประเทศนี้ยังเป็นโจทก์ที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้  คำครหาของประชาคมโลกในเรื่องการชิงอำนาจในอิรักหลังจากที่สหรัฐถอนทหารหรือคำถามเกี่ยวกับการฟื้นตัวของพวกก่อการร้ายกำลังได้รับการรื้อฟื้นเมื่อเกิดคลื่นสังหารระลอกใหม่ถล่มอิรัก 
เมื่อไหร่ความปลอดภัยจะกลับคืนมาสู่อิรัก   - ảnh 1
ระเบิดคาร์บอมบ์ในอิรัก ( ภาพจากอินเตอร์เน็ต )

วันที่ ๒๓ ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุนองเลือดในหลายพื้นที่ของอิรักคร่าชีวิตผู้คน ๙๑ รายและผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๖๑ราย นับเป็นวันนองเลือดหนักที่สุดในอิรักในรอบ ๒ ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๐๑๐  เหตุวางระเบิดรุนแรงที่สุดเกิดที่เมืองทาจิที่ห่างจากกรุงแบกแดดไปทางเหนือประมาณ ๒๕ กม. ซึ่งมีทั้งการก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายและการลอบวางระเบิดข้างทางมียอดผู้เสียชีวิต ๑๘ คนและได้รับบาดเจ็บ ๒๙ คน  ส่วน ณ เมืองดูลุยยา จังหวัดซาลาฮูดินที่ห่างจากกรุงแบกแดดไปทางเหนือประมาณ ๘๐ กม.มือปืนที่ยังไม่ทราบชื่อพร้อมด้วยอาวุธหนักได้บุกกราดยิงฐานทัพทำให้มีทหาร ๑๕ นายและสมาชิก ๒ คนของกลุ่มซาห์วาที่สนับสนุนรัฐบาลเสียชีวิต  ส่วนกลุ่มกบฎอีกหนึ่งกลุ่มก็ได้บุกกราดยิงจุดตรวจ ณ ชาญเมืองซามาราของกลุ่มซาห์วาเช่นกัน ซึ่งห่างจากกรุงแบกแดดไปทางเหนือประมาณ ๑๑๐ กม.ทำให้ทหาร ๒ นายเสียชีวิตและอีก ๓ นายได้รับบาดเจ็บ  ในขณะเดียวกันได้เกิดเหตุระเบิดและกราดยิงหลายระลอกในเมืองหลวงและอีกหลายเมืองทางเหนือของประเทศได้แก่ เมืองซาดิยา คาน เบนี-ซาอัด  เคอร์คุก  ทุซ คูร์มาตูและเดบิส ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไป ๔๕ รายและผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย ๗๔ ราย  นับจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีกลุ่มใดออกมายอมรับเป็นผู้ก่อเหตุ  แต่ก่อนหน้านี้กลุ่มอัลกออิดะห์ในอิรักได้เตือนว่า กำลังพยายามชิงดินแดนกลับคืนมา

นี่มิใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุระเบิดหรือการปะทะในอิรัก  เพราะในช่วงที่ทหารสหรัฐประจำการในประเทศนี้เคยเกิการโจมตีก่อการร้าย แต่หลังจากที่ทหารสหรัฐชุดสุดท้ายออกจากอิรัก การโจมตีได้เกิดขึ้นในอิรักบ่อยครั้งและนับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จาก วันที่ ๒๒ ที่ผ่านมา ได้เกิดระเบิดรถยนต์หรือคาร์บอมบ์ ๓ ระลอก ณ เมืองมาห์มูดิยา ที่ห่างจากกรุงแบกแดดไปทางใต้ประมาณ ๓๐ กม. ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๑๑ คนและได้รับบาดเจ็บ ๓๘ คน ส่วนเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า การวางระเบิดทำให้มียอดผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๒๓๗ คนและอีก ๖๐๓ คนได้รับบาดเจ็บและเดือนมิถุนายนได้กลายเป็นเดือนนองเลือดที่สุดนับตั้งแต่สหรัฐถอนทหารออกจากอิรัก  กลุ่มกบฎที่มีชื่อว่า “ รัฐอิสลามอิรัก ” ที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์ ได้ออกประกาศบนเว็บไซต์ของตนโดยยอมรับเป็นผู้ก่อเหตุนองเลือดในอิรัก ๔๐ ครั้ง  ซึ่งการวางระเบิดหรือกราดยิงต่างมุ่งเป้าไปยังชาวอิรักนิกายซุนหนีและกองกำลังรักษาความมั่นคงอิรัก

เมื่อไหร่ความปลอดภัยจะกลับคืนมาสู่อิรัก   - ảnh 2
ระเบิดคาร์บอมบ์ในอิรัก ( ภาพจากอินเตอร์เน็ต )

เป็นที่ชัดแจ้งแล้วว่า การใช้ความรุนแรงในประเทศแถบบตะวันออกลางนี้นับวันบานปลายและไม่สนใจต่อความพยายามของรัฐบาลและกองกำลังรักษาความมั่นคงอิรักในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยจนทำให้กระแสประชามติต้องตั้งคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารประเทศของทางการแบกแดด  อย่างไรก็ตาม วงการสังเกตการณ์และติดตามสถานการณ์ในอิรักกลับมีความเห็นว่า สาเหตุก็คือ ความขัดแย้งและความแตกแยกภายในส่งผลให้ฝ่ายการเมืองต่างๆในอิรักยากที่จะมีเสียงพูดเดียวกับในการบริหารประเทศ  โดยหลังจากที่สหรัฐถอนทหารทั้งหมดออกจากอิรักก็ได้ทิ้งความแตกแยกอย่างรุนแรงไว้ให้ อันเป็นการส่งผลลัพธ์ต่อความทะเยอทะยานในเรื่องแบ่งแยกดินแดนเป็น ๓ ส่วนได้แก่ ภาคเหนือที่มีปริมาณน้ำมันดิบจำนวนมากโดยการควบคุมของชาวเคอร์ด  ภาคกลางอยู่ในการควบคุมของชาวคริสต์และชาวมิสลิมนิกายซุนหนี ส่วนภาคใต้ก็มีปริมาณน้ำมันดิบมากเป็นของชาวชีอะห์  และเมื่อเร็วๆนี้  ๔ จังหวัดภาคกลางของอิรักได้แก่ ซาลาห์ อัล-ดิน  ดิยาลา อันบาร์และนีเนเวห์ได้เรียกร้องให้จัดตั้งประเทศที่อิสระของชาวมุสลิมนิกายซุนหนีด้วยเหตุผลว่า พวกเขา “ ไม่ได้รับการดูแลเรื่องผลประโยชน์และถูกปฏิบัติเสมือน พลเมืองชั้นสองจากรัฐบาลส่วนกลางโดยการบริหารของชาวชีอะห์”

เมื่อเร็วๆนี้ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ที่ผ่านมา ศาลอาญากลางของอิรักได้รื้อฟื้นการพิพากษาคดีนายทาเร็ก อัล-ฮาสเซมี รองประธานาธิบดีที่ได้หนีออกนอกประเทศและเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของกลุ่มสส.อิรักกียานิกายซุนหนีด้วยข้อหาสังหารประชาชน  การรื้อฟื้นคดีนี้สะท้อนความขัดแย้งภายในของทางการแบกแดด  หวนกลับดูเมื่อปลายปีที่ผ่านมา การที่คณะผู้พิพากษาศาลสูงอิรักออกหมายจับนายทาเร็ก อัล-ฮาสเซมี ได้ทำให้เกิดท่าทีที่แตกต่างกันระหว่างฝ่ายการเมืองต่างๆเนื่องจากเมื่อก่อนนี้ ฝ่ายการเมืองของชาวซุนหนีได้แถลงคว่ำบาตรรัฐสภาเพื่อคัดค้านนายกฯ นูรี อัล-มาลีกี ที่แก้ไขปัญหาความชะงักงันทางเมืองอย่างล่าช้าเพื่อเป้าหมายการก่อตั้งรัฐบาลที่แบ่งอำนาจให้แก่ทั้งกลุ่มซุนหนี ชีอะห์และเคอร์ด

ความขัดแย้งในเรื่องที่ไม่สามารถแบ่งสันอำนาจได้อย่างลงตัวเป็นสาเหตุให้กลุ่มกบฎฉกฉวยโอกาส ซึ่งเหตุระเบิดรุนแรงหลายระลอกครั้งล่าสุดได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจน  เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ชาวอิรักไม่อาจตั้งความหวังเกี่ยวกับความสงบอย่างสมบูรณ์เพราะสงครามชิงอำนาจที่รุนแรงยังไม่มีสัญญาณแห่งความคลี่คลายในเร็ววันนี้ ./.

คำติชม