เนื้อหาที่น่าสนใจของการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7

Chia sẻ

(VOVWORLD) -การประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือจี 7 กำลังมีขึ้น ณ ประเทศเยอรมนีในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ความมั่นคง เศรษฐกิจ-สังคมในโลกกำลังมีความผันผวนที่ซับซ้อน  ซึ่งประชาคมโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อมาตรการและก้าวเดินต่อไปของบรรดาผู้นำจี 7 เพื่อรับมือความท้าทายด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและการทูตที่โลกกำลังต้องเผชิญ

เนื้อหาที่น่าสนใจของการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 - ảnh 1บรรดาผู้นำกลุ่มจี 7เข้าร่วมการประชุมสุดยอด ณ รัฐไบเอิร์น ทางภาคใต้ประเทศเยอรมนี (Photo: Reuters)

การประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 ครั้งที่ 48 ปี 2022 เปิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ปราสาท Elmau ในรัฐไบเอิร์น ทางภาคใต้ประเทศเยอรมนี โดยมีการเข้าร่วมของผู้นำ 7 ประเทศสมาชิกได้แก่เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น แคนาดาและสหรัฐ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและประธานสภายุโรป นอกจากนี้ ประเทศเจ้าภาพเยอรมนียังเชิญผู้นำของบางประเทศสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือจี 20 เข้าร่วมการประชุม แต่สิ่งที่ประชามติให้ความสนใจพิเศษคือเนื้อหาที่ผู้นำกลุ่มจี 7 เน้นหารือในการประชุมครั้งนี้

ระเบียบวาระการประชุมที่น่าสนใจ

ก็เหมือนกับเศรษฐกิจต่างๆในโลก เศรษฐกิจกลุ่มจี 7 ต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่มีความเสี่ยงสูงที่เศรษฐกิจจะตกเข้าสู่ภาวะถดถอย  จากบทบาทการเป็นเศรษฐกิจชั้นนำของโลก กลุ่มจี 7 กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากปัญหานี้  โดยในวันแรกของการประชุม บรรดาผู้นำจี 7 ได้เน้นหารือเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก แสวงหามาตรการควบคุมภาวะเงินเฟ้อและความเสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะถดถอย ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ได้ย้ำถึงความสำคัญของการค้ำประกันความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเห็นว่า กลุ่มจี 7 ต้องร่วมกันปกป้องเศรษฐกิจในสภาวการณ์ที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น

อีหนึ่งประเด็นที่บรรดาผู้นำกลุ่มจี 7 เน้นหารือคือนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคง รวมทั้งวิธีการประสานงานปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคง ก่อนหน้านั้น บรรดาผู้นำกลุ่มจี 7 ได้ยืนยันหลายครั้งว่า การปะทะในยูเครนสร้างความท้าทายด้านความมั่นคงและการต่างประเทศต่อทั้งยุโรปและโลก

นอกจากปัญหาดังกล่าว การประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 ครั้งที่ 48 ยังเน้นหารือปัญหาต่างๆที่เศรษฐกิจโลกกำลังต้องเผชิญ เช่น ปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน ความมั่นคงด้านอาหาร การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ซึ่งระเบียบวาระการประชุมแสดงให้เห็นถึงความสนใจ ยืนยันถึงความตั้งใจของกลุ่มจี 7 ในการปฏิบัติบทบาทการเป็นผู้เดินหน้าแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนของโลก

เสนอมาตรการต่างๆ

ก็เหมือนกับที่บรรดานักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ บรรดาผู้นำกลุ่มจี 7 และหุ้นส่วนต่างๆได้เห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการต่างๆเพื่อรับมือความท้าทายในปัจจุบัน โดยกลุ่ม จี 7 ได้เห็นพ้องกับ 5 ประเทศหุ้นส่วนได้แก่ อาร์เจนตินา อินเดีย อินโดนีเซีย เซเนกัล และแอฟริกาใต้ เกี่ยวกับหลักการผลักดันการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในโลก  ประกาศของกลุ่มจี 7 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนได้ชี้ชัดว่า กลุ่มจี 7 พร้อม 5 ประเทศหุ้นส่วนมีความตั้งใจที่จะผลักดันการฟื้นฟูและมุ่งสู่มาตรการที่ยุติธรรม ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อแก้ไขความท้าทายระดับโลก กลุ่มจี 7 ให้คำมั่นที่จะร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆเพื่อมุ่งสู่การรักษาสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรืองและจะพยายามบรรลุความคืบหน้า มุ่งสู่การสร้างสรรค์โลกที่ยุติธรรม  ทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการปะทะอย่างสันติ คัดค้านการข่มขู่หรือใช้กำลังในทุกรูปแบบที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสากล นอกจากนี้ กลุ่มจี 7 ยังเห็นพ้องที่จะผลักดันการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและค้ำประกันความมั่นคงด้านพลังงาน แถลงการณ์ของบรรดาผู้นำจี 7 ยังได้ย้ำถึงเป้าหมายยุติการใช้พลังงานจากฟอสซิล มุ่งสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน

ก่อนหน้านั้น บรรดาผู้นำจี 7 ได้อนุมัติข้อตกลงหุ้นส่วนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในทั่วโลก”มูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2022 -2027 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับจีน แต่อย่างไรก็ดี ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและการต่างประเทศของโลกกำลังมีความผันผวนอย่างซับซ้อนในปัจจุบัน  การปฏิบัติแผนการและมาตรการของกลุ่มจี 7 ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายไม่น้อยเพราะมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งต้องมีความตั้งใจและความร่วมมือของทุกฝ่าย

ในสภาวการณ์นี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์เห็นว่า กลุ่มจี 7 ต้องเน้นปฏิบัติเป้าหมายที่เยอรมนี ซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนกลุ่มจี 7 ตั้งไว้ในต้นปีนี้คือ “ความก้าวหน้าเพื่อโลกที่ยุติธรรม”  ซึ่งเยอรมนีมีความประสงค์ส่งเสริมบทบาทของกลุ่มจี 7 ในการเป็นสะพานเชื่อมและคนกลางเพื่อส่งเสริมการรักษาสันติภาพและความมั่นคงของโลก.

คำติชม