อาเซียนยืนยันความมุ่งมั่นรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออก

Anh Huyen/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือเอเอ็มเอ็มครั้งที่50และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกำลังมีขึ้น ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากเนื้อหาสำคัญๆที่ได้รับการหารือ เช่น การผลักดันการเชื่อมโยงภายในกลุ่ม การขยายความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆ การสร้างสรรค์วิสัยทัศน์อาเซียนจนถึงปี 2025 ที่ประชุมเอเอ็มเอ็มครั้งที่ 50 ยังได้รับทราบผลงานที่น่ายินดีเบื้องต้นเมื่ออาเซียนและจีนได้อนุมัติร่างกรอบระเบียบการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี พร้อมทั้งระบุเนื้อหาเกี่ยวกับทะเลตะวันออกในแถลงการณ์ร่วมของกลุ่ม ซึ่งภายหลัง 50 ปีแห่งการก่อตั้งและพัฒนา อาเซียนกำลังยืนยันถึงบทบาทในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
อาเซียนยืนยันความมุ่งมั่นรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออก - ảnh 1 การประะชุมครบองค์รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

ทะเลตะวันออกไม่เพียงแต่เป็นเขตที่มีภูมิศาสตร์เชิงยุทธศาสตร์ของประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้น หากยังเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลที่สำคัญของภูมิภาคและโลกอีกด้วย ดังนั้นภูมิภาคนี้จึงมักจะเกิดการพิพาทเนื่องจากฝ่ายต่างๆมีการประกาศอธิปไตยเหนือเขตทะเลที่ทับซ้อนกัน ดังนั้นทะเลตะวันออกคือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจของอาเซียนอย่างแน่นอน และมักจะถูกระบุในระเบียบวาระการประชุมของกลุ่มในทุกๆปี

ความจำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือทางนิตินัยที่มีความผูกมัดเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก

นานมาแล้ว อาเซียนมีความประสงค์ที่จะร่วมกับจีนจัดทำกลไกทางนิตินัยที่มีข้อผูกมัดสูงขึ้นเพื่อจำกัดการพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในเขตทะเลนี้ โดยข้อคิดริเริ่มเกี่ยวกับหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีถูกเสนอตั้งแต่ปี 2005 แต่ต้องใช้เวลาถึง 15 ปี อาเซียนและจีนจึงสามารถอนุมัติร่างซีโอซีในการประชุมครั้งนี้อย่างเป็นทางการ

วิธีการเข้าถึงปัญหานี้ของอาเซียนคือซีโอซีต้องอาศัยและมีข้อผูกมัดทางนิตินัยสูงขึ้นกว่าแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีที่อาเซียนและจีนได้ลงนามเมื่อปี 2002 โดยเนื้อหาของซีโอซีจะระบุถึงหลักการให้ความเคารพกฎหมายสากล กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือทีเอซีและแถลงการณ์ดีโอซี ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีหน้าที่และการปฏิบัติต่อกันเพื่อเป้าหมายสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและเสถียรภาพในการเดินเรือ ผลักดันความร่วมมือในการสร้างสรรค์ความไว้วางใจ ขัดขวางการพิพาทที่ยืดเยื้อและแก้ไขการพิพาทอย่างสันติ บนพื้นฐานกฎหมายสากลและUNCLOS ตามความเห็นของอาเซียน ซีโอซีต้องสานต่อข้อดีของดีโอซีและต้องมีการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานการณ์ใหม่

ดังนั้น พร้อมกับการย้ำถึงหลักการที่ดีในดีโอซีคือสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือ แก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธี ให้ความเคารพกฎหมายสากลและอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล อาเซียนยังมีความประสงค์ว่า ซีโอซีต้องมีข้อผูกมัดที่สูงกว่าดีโอซี  ต้องมีระเบียบการตรวจสอบและค้ำประกันการปฏิบัติ โดยเฉพาะเพิ่มข้อกำหนดที่ย้ำถึงหลักการให้ความเคารพเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของประเทศต่างๆในเขตริมฝั่งตามอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982

กรอบซีโอซีที่ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกประเทศสมาชิกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ การแสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนหรือระหว่างอาเซียนกับจีนในการผลักดันเอกสารที่มีข้อผูกมัดทางนิตินัย ด้วยการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของประเทศที่เกี่ยวข้องจะเป็นความท้าทายไม่น้อยในเวลาที่จะถึง แต่การอนุมัติกรอบซีโอซียังคงถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญเพื่อมุ่งสู่การค้ำประกันสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยก่อนอื่นคือการเสร็จสิ้นกรอบซีโอซีที่สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่หลายประเทศสมาชิกอาเซียนรอคอย นั่นคือการสร้างสรรค์เขตทะเลตะวันออกที่สันติภาพ เสถียรภาพ เป็นมิตรและร่วมมือ

ในแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม อาเซียนยังย้ำถึงจุดยืนของตน ชื่นชมการอนุมัติร่างกรอบหลักปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออก อีกทั้งแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่และกิจกรรมต่างๆในภูมิภาคที่สามารถส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจ ทำให้สถานการณ์มีความตึงเครียดมากขึ้นและทำลายสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค อาเซียนยังยืนยันอีกครั้งถึงความต้องการสร้างสรรค์ความไว้วางใจ การใช้ความอดกลั้นและหลีกเลี่ยงการมีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้น ยืนหยัดมาตรการที่สันติภาพบนพื้นฐานกฎหมายสากลและอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982

อาเซียนให้ความสำคัญต่อจิตใจแห่งความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์

ในสภาวการณ์ที่อาเซียนกำลังต้องเผชิญกับความท้าทาย การสร้างสรรค์วิธีการเข้าถึงที่เหมาะสมและสมเหตุสมผลเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออกนอกจากเป็นการแสดงให้เห็นถึงส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมของอาเซียนต่อสันติภาพและเสถียรภาพที่ยาวนานให้แก่ภูมิภาคแล้ว ก็ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลกอีกด้วย ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์คือกุญแจช่วยให้อาเซียนฟันฝ่าความท้าทายด้านความมั่นคงของภูมิภาค ในการกล่าวปราศรัยเปิดการประชุมเอเอ็มเอ็มครั้งที่ 50 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียน 2017 ยังยืนยันว่า “อาเซียนกำลังเดินพร้อมในขบวนการเดียวกัน” และในช่วงเวลาทองที่อาเซียนครบ 50 ปี ขบวนการนี้กำลังได้รับการเชิดชูด้วยจิตใจแห่งความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และความรับผิดชอบจากบรรดาประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขความท้าทายต่างๆร่วมกัน รวมทั้งปัญหาทะเลตะวันออก. 

คำติชม