สันติภาพตะวันออกกลางเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงครั้งใหม่

Bá Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในช่วงหลายวันมานี้ ภูมิภาคตะวันออกกลางได้รับความสนใจจากประชามติอีกครั้งเนื่องจากเกิดปัญหาต่างๆอย่างต่อเนื่องอาจสร้างความไร้เสถียรภาพที่รุนแรง โดยบรรดานักวิเคราะห์ยังแสดงความวิตกกังวลว่า เงาปีศาจจากการปะทะกำลังจะกลับมาสู่ภูมิภาคที่ได้รับการถือว่าเป็นจุดร้อนของโลกในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
สันติภาพตะวันออกกลางเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงครั้งใหม่ - ảnh 1ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ Mahmoud Abbas และนายกรัฐมนตรี PA Mohammad Shtayyeh ในการประชุมของผู้นำปาเลสไตน์ ณ เมืองรามาเลาะห์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมปี 2020 (Time of Israel) 

จุดสูงสุดของความวิตกกังวลได้เกิดขึ้นเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อทางการปาเลสไตน์ประกาศยุติข้อตกลงทุกฉบับที่ได้ทำกับสหรัฐและอิสราเอลเพื่อตอบโต้แผนการของอิสราเอลเกี่ยวกับการผนวกรวมพื้นที่บางแห่งในเขตเวสต์แบงก์ ในคำประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม นาย มาห์มุบ อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ได้ย้ำว่า การที่อิสราเอลยึดมั่นแผนการผนวกดินแดนที่ยึดครองจากชาวปาเลสไตน์แสดงให้เห็นว่า อิสราเอลไม่อยากปฏิบัติตามข้อตกลงสันติภาพที่ได้บรรลุ ดังนั้น ทางการปาเลสไตน์จึงไม่มีทางเลือกใดนอกเหนือจากการต้องยุติความรับผิดชอบและหน้าที่ในข้อตกลงและบันทึกช่วยจำทุกฉบับที่ได้ลงนามกับสหรัฐและอิสราเอล รวมทั้งข้อตกลงความมั่นคง บรรดานักวิเคราะห์หลายคนได้แสดงความเห็นว่า มาตรการสองรัฐอยู่ร่วมกันอย่างสันติในกระบวนการสันติภาพตะวันออกกลาง รวมทั้งกระบวนการสันติภาพกำลังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะล้มเหลวอย่างสมบูรณ์

ความเสี่ยงที่กระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางประสบความล้มเหลว

แหล่งข่าวต่างประเทศรายงานว่า ในการประชุมฉุกเฉิน ณ เมืองรามาเลาะห์ในเขตเวส์ตแบงก์เมื่อค่ำวันที่ 19 พฤษภาคม นาย อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ได้กล่าวถึงข้อตกลงออสโลเมื่อปี 1993 ข้อตกลง Hebron เมื่อปี 1997 และบันทึกช่วยจำแม่น้ำ Wye ปี1998 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ปกป้องชาวอิสราเอลและธำรงการควบคุมทางการเมืองของทางการประชาชาติปาเลสไตน์หรือพีเอต่อเขตเวส์ตแบงก์ของแม่น้ำจอร์แดน ดังนั้น ถ้าหากปาเลสไตน์ยุติทุกคำมั่นและความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอิสราเอลเหมือนที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ก็หมายความว่า กระบวนการสันติภาพตะวันออกกลางที่อาศัยพื้นฐานข้อตกลงและบันทึกช่วยจำดังกล่าวจะไม่คงอยู่ต่อไป

ในแผนการนี้ บรรดานักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรง เนื่องจากสถานการณ์ที่เป็นจริงในเขตดินแดนปาเลสไตน์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมายังคงอยู่ในสถานการณ์ความตึงเครียดและอ่อนไหว การปะทะทางทหารตั้งแต่ขอบเขตขนาดเล็กไปจนถึงการปะทะในขอบเขตขนาดใหญ่ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เลียบตามชายแดนระหว่างอิสราเอลกับเขตเวส์ตแบงก์และฉนวนกาซ่า ซึ่งในนั้น แน่นอนว่า ประชามติยังไม่สามารถลืมการปะทะที่นองเลือดที่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายเดือนในเขตชายแดนระหว่างฉนวนกาซ่า เขตเวส์ตแบงก์และอิสราเอล ที่ชาวปาเลสไตน์ทำการชุมนุมประท้วงสหรัฐที่ยอมรับเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลและย้ายสถานทูตสหรัฐไปยังเมืองนี้เมื่อปี 2018

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มีความคิดเห็นที่วิตกกังวลว่าอาจเกิดการลุกขึ้นสู้ Intafada ครั้งที่ 3 ของชาวปาเลสไตน์เหมือนเมื่อเดือนกันยายนปี 2000 เพราะชาวปาเลสไตน์แทบไม่มีทางเลือกใด

สันติภาพตะวันออกกลางเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงครั้งใหม่ - ảnh 2 ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ Abbas กับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล Netanyahu (Anadolu)

ชาวปาเลสไตน์ไม่มีทางออก

ในหลายปีมานี้ ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลค่อยๆลดความร้อนแรงจนไม่ได้รับความสนใจมากพอจากประชามติเหมือนแต่ก่อนหลังจากที่อิหร่านได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการแข่งขันอำนาจเชิงยุทธศาสตร์ในตะวันออกกลางและการเผชิญหน้าระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียได้ทำให้สหรัฐต้องระดมประเทศในเขตอ่าวเพื่อร่วมมือกับอิสราเอล ซึ่งปาเลสไตน์นับวันเพลี่ยงพล้ำต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางและชาวปาเลปาสไตน์ก็ตระหนักได้ดีเกี่ยวกับปัญหานี้ ดังนั้น เมื่ออิสราเอลส่งเสริมแผนการผนวกเขตเวสต์แบงก์เข้าเป็นดินแดนอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์เข้าใจว่า ไม่เพียงแต่ไม่มีใครสามารถขัดขวางความทะเยอทะยานของอิสราเอลได้เท่านั้น หากขณะนี้ สหรัฐยังเป็นหุ้นส่วนร่วมมือของแผนการนี้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อรับมือเรื่องนี้ ชาวปาเลสไตน์ไม่มีทางเลือกใดนอกเหนือจากต้องชักชวน ดึงดูดความสนใจของประชาคมโลก ไม่ปล่อยให้ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลถูกละทิ้งและหลงลืม และในที่สุด ปาเลสไตน์ได้เลือกการยุติความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอิสราเอลและเปิดประตูความรุนแรงถึงแม้รู้ดีว่าจะมีผลกระทบที่ไม่สามารถคาดคิดได้เกิดขึ้นก็ตาม

ปัญหาที่น่าวิตกกังวลกว่าในปัจจุบันคือภูมิภาคตะวันออกกลางยังปรากฎความผันผวนที่ซับซ้อนที่เกี่ยวข้องถึงความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านในอ่าวเปอร์เซียซึ่งปัญหาต่างๆในตะวันออกกลางที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อนทำให้บรรดานักวิเคราะห์หลายคนแสดงความเห็นว่า ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซียก็อาจกลายเป็นชนวนแห่งความรุนแรงที่รอเผาไหม้ดินแดนปาเลสไตน์ได้ทุกขณะ.

คำติชม