แผนการสันติภาพใหม่ในตะวันออกกลางของสหรัฐยากที่จะปฏิบัติได้

Bá Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคมที่ผ่านมา ภายใต้การเป็นสักขีพยานของนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ณ ทำเนียบขาว นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ประกาศแผนการสันติภาพในตะวันออกกลางด้วยเนื้อหาหลักคือเสนอทางแก้ปัญหา สองรัฐที่ปฏิบัติได้จริง”ให้แก่อิสราเอลและปาเลสไตน์ ประธานาธิบดีสหรัฐยืนยันว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็น “ข้อตกลงแห่งศตวรรษ” และเป็น “โอกาสครั้งประวัติศาสตร์” เพื่อให้ปาเลสไตน์จัดตั้งรัฐที่อิสระ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางเป็นจริง ท่าทีของปาเลสไตน์ โลกอาหรับและประชาคมโลกกลับมีความแตกต่างกัน
แผนการสันติภาพใหม่ในตะวันออกกลางของสหรัฐยากที่จะปฏิบัติได้ - ảnh 1นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ (The Nation)

แผนการที่เขียนยาวถึง ๘๐ หน้าซึ่งมีเนื้อหาหลักด้านการเมืองรวม ๕๐หน้าเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหา “สองรัฐ” ให้แก่การปะทะที่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายทศวรรษระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ โดยประธานาธิบดีสหรัฐเสนอให้จัดตั้งรัฐปาเลสไตน์อิสระที่มีเมืองหลวงคือพื้นที่บางส่วนในเยรูซาเลมตะวันออก มีอำนาจในการบริหารควบคุมดินแดนที่มีพื้นที่มากกว่า ๒ เท่าเมื่อเทียบกับปัจจุบันและสามารถก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินเชื่อมเขตเวสต์แบงค์กับฉนวนกาซ่า แต่ปาเลสไตน์ต้องรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ส่วนทางฝ่ายอิสราเอลนั้น สหรัฐจะรับรองเขตตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลที่ก่อสร้างในดินแดนที่ยึดครองจากปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงค์ที่ถูกมองว่าขัดกับกฎหมายสากล

แผนการ “เหล้าเก่าในขวดใหม่”

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ วิธีเข้าถึงปัญหาที่สำคัญที่สุดในตะวันออกกลาง รวมทั้งระเบียบการของเยรูซาเลม เขตตั้งถิ่นฐานของชาวยิวและเขตดินแดนที่ถูกยึดครอง ล้วนแต่เป็นเรื่องเก่าๆ

แผนการสันติภาพในตะวันออกกลางเป็นการสานต่อก้าวเดินที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เคยปฏิบัติ เช่นการรับรองเมืองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลเมื่อเดือนธันวาคมปี ๒๐๑๗ การย้ายสถานทูตของสหรัฐจากเทลอาวีฟไปยังเมืองเยรูซาเลมเมื่อเดือนพฤษภาคมปี ๒๐๑๘ การรับรองเขตที่ราบสูงโกลันว่า อยู่ภายใต้อธิปไตยของอิสราเอลเมื่อเดือนมีนาคมปี ๒๐๑๙ และล่าสุดคือการสนับสนุนอิสราเอลในการก่อสร้างเขตตั้งถิ่นฐานให้แก่ชาวยิวในเขตเวสต์แบงค์ที่ยึดครองจากปาเลสไตน์เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายนปี ๒๐๑๙ โดยท่าทีดังกล่าวของสหรัฐได้รับการประเมินว่า เป็นการลำเอียงเข้าข้างอิสราเอลซึ่งได้ถูกปาเลสไตน์และประเทศต่างๆคัดค้าน อีกทั้งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง

ในการประชุมฉุกเฉิน ณ เมือง Jeddah ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ องค์การความร่วมมืออิสลามหรือ OIC ที่มี 57 ประเทศสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนให้แก่ชาวมุสลิมในทั่วโลกกว่า 1.5 พันล้านคนได้ออกแถลงการณ์คัดค้านแผนการสันติภาพในตะวันออกกลางของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อีกทั้งเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกไม่สนับสนุนการปฏิบัติแผนการนี้ โดยแถลงการณ์ระบุว่า “คัดค้านแผนการของสหรัฐและอิสราเอลเนื่องจากไม่ตอบสนองความปรารถนาขั้นพื้นฐานและสิทธิที่ชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์และขัดกับกระบวนการสันติภาพ”

ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ สันนิบาติอาหรับหรือ AL ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการโดยคัดค้านแผนการสันติภาพของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เนื่องจาก “ไม่เป็นธรรม” ต่อชาวปาเลสไตน์และไม่ตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมถึงความปรารถนาของชาวปาเลสไตน์ ในหลายปีที่ผ่านมา มติฉบับต่างๆของการประชุมสุดยอดอาหรัระบุให้เยรูซาเลมตะวันออกเป็นเมืองหลวงของรัฐปาเลสไตน์ที่อิสระโดยมีเส้นแบ่งพรมแดนที่ถูกกำหนดก่อนเกิดสงครามในปี ๑๙๖๗ ดังนั้น บรรดาผู้นำอาหรับจึงยืนยันว่า จะไม่ร่วมมือกับทางการสหรัฐเพื่อปฏิบัติแผนการนี้ ส่วนทางการปาเลสไตน์มีท่าทีที่เข้มแข็งมากขึ้นโดยกล่าวหาสหรัฐหลายครั้งว่า กำลังทำลายกระบวนการสันติภาพผ่านการประกาศแผนการ “ที่ไม่มีความรับผิดชอบ” และ “ขาดภาวะวิสัย”

โอกาสอันน้อยนิดในการปฏิบัติและมีความเสี่ยงสูง

ประชามติโลกแสดงความเห็นว่า ท่าทีนี้ของชาวปาเลสไตน์และโลกอาหรับเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยากและแสดงให้เห็นว่า แผนการสันติภาพในตะวันออกกลางนี้ของสหรัฐไม่มีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติ ในคำประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ รองประธานคณะกรรมการยุโรปหรืออีซีและตัวแทนระดับสูงเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงและการต่างประเทศของสหภาพยุโรปหรืออียู Josep Borrel ได้ยืนยันว่า แผนการสันติภาพใหม่ของประธานาธิบดีสหรัฐจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงชาวปาเลสไตน์และโลกอาหรับ ซึ่งการประกาศนี้แสดงให้เห็นว่า ยุโรปยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อแผนการสันติภาพนี้ของประธานาธิบดีสหรัฐ

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น นักวิเคราะห์หลายคนแถมยังแสดงความเห็นว่า วิธีการเข้าถึงปัญหาเขตตั้งถิ่นฐานของชาวยิวของสหรัฐขัดกับหลักการเกี่ยวกับมาตรการสองรัฐที่ได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศมานาน ซึ่งถูกระบุอย่างชัดเจนในมติที่ ๒๓๓๔ ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคมปี ๒๐๑๖ ซึ่งหมายความว่า “ข้อตกลงแห่งศตวรรษ” ของสหรัฐเพื่อแก้ปัญหาในตะวันออกกลางได้หลุดออกจากกระบวนการสันติภาพที่ประชาคมโลกกำลังยึดมั่นปฏิบัติเพื่อนำปาเลสไตน์และอิสราเอลกลับเข้าร่วมการเจรจา ดังนั้น แผนการที่มีการเข้าข้างอีกฝ่ายอคติและไม่มีความยุติธรรมต่อทุกฝ่ายจะไม่สามารถสร้างก้าวกระโดดได้ หากแต่จะทำให้ตะวันออกกลางที่มีความวุ่นวายและซับซ้อนมากอยู่แล้วยิ่งถลำลึกสู่ความชะงักงันมากขึ้น.

คำติชม