เหตุระเบิด ณ บริเวณสนามบินนานาชาติ ฮามิด คาร์ไซ ในกรุงคาบูล (CNN) |
การโจมตีเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนถึงกำหนดเส้นตายสำหรับแผนการถอนทหารสหรัฐออกจากอัฟกานิสถานโดยสมบูรณ์คือวันที่ 31 สิงหาคม และชาวอัฟกานิสถานหลายพันคนที่ยังคงไปรอที่สนามบินฮามิด คาร์ไซ เพื่ออพยพออกจากประเทศ
ความท้าทายด้านความมั่นคงที่ร้ายแรง
ในแถลงการณ์หลังการโจมตีเพียงไม่กี่ชั่วโมง ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้ย้ำว่า จะตอบโต้อย่างเหมาะสมต่อผู้ก่อเหตุนี้ และยืนยันว่าจะเดินหน้าปฏิบัติแผนการอพยพและถอนกองกำลังสหรัฐออกจากอัฟกานิสถานตามเส้นตายเดิมคือในวันที่ 31 สิงหาคม แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า การเสร็จสิ้นแผนการถอนทหารกำลังต้องเผชิญกับความเสี่ยงและแรงกดดันที่ร้ายแรงมากมาย
หลังจากเกิดการโจมตีดังกล่าว องค์กรก่อการร้ายรัฐอิสลามหรือไอเอสในอัฟกานิสถานได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และประกาศว่าจะทำการโจมตีในลักษณะนี้อีก ในขณะเดียวกัน พล.อ.เคนเน็ธ แมคเคนซี ผู้บัญชาการกองบัญชาการกลางสหรัฐได้ออกมาเตือนว่า มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดการโจมตีเหมือนที่บริเวณสนามบินฮามิด คาร์ไซอีกต่อไป
ส่วนกลุ่มตาลิบันยังไม่มีสัญญาณจะยอมประนีประนอมต่อแผนการถอนกำลังของสหรัฐ โดยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม นาย ซาบีฮุลเลาะห์ มูจาฮิด โฆษกกลุ่มตาลิบันได้เผยว่า แผนการอพยพชาวต่างชาติที่สนามบินฮามิดคาร์ไซจะถือเป็นการละเมิดข้อตกลงถ้าหากดำเนินการต่อไปหลังเส้นตายวันที่ 31 สิงหาคม ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม นาย ซูฮาอิล ชาฮีน โฆษกของกลุ่มตาลิบันอีกคนหนึ่งได้เตือนว่า พันธมิตรระหว่างประเทศจะถูกลงโทษถ้าหากละเมิดข้อตกลงเกี่ยวกับการถอนกำลัง
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ส่งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดนอกสนามบินนานาชาติในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน (Aljazeera ) |
สงครามและความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรม
ในสภาวการณ์ดังกล่าว ขบวนการต่อต้านกลุ่มตาลิบันที่มีฐานที่มั่นบริเวณหุบเขา Panjshir ได้ประกาศว่า จะต่อสู้จนถึงที่สุด มีการคาดการณ์กันว่ากองกำลังนี้มีนักรบประมาณสองพันถึงหนึ่งหมื่นกว่าคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารของรัฐบาล ขบวนการนี้นำโดยนาย Ahmad Massoud ลูกชายของอดีตผู้นำพันธมิตรภาคเหนือเพื่อต่อต้านกลุ่มตาลิบัน ในขณะที่รองประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน อัมรุลเลาะห์ ซาเลห์ ซึ่งประกาศตั้งตัวเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลของอัฟกานิสถานหลังจากประธานาธิบดี อัชราฟ กานี ออกจากประเทศเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ก็ปรากฏตัวในหุบเขา Panjshir นี้ หุบเขา Panjshir เป็นพื้นที่เดียวในอัฟกานิสถานที่กลุ่มตาลิบันยังไม่สามารถเข้าควบคุมได้ ซึ่งก็เหมือนกับช่วงปี1996-2001ที่ตาลิบันปกครองอัฟกานิสถานก็ไม่สามารถยึดครองพื้นที่นี้ได้
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม กลุ่มตาลิบันได้ประกาศว่า ได้ส่งนักรบหลายร้อยคนไปยังบริเวณหุบเขา Panjshir เพื่อปราบปรามฝ่ายค้านถึงแม้จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับการปะทะระหว่างกลุ่มตาลิบันกับกองกำลังต่อต้านในพื้นที่ Panjshir แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการต่อสู้ระหว่างสองฝ่ายก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
สงครามที่เกิดขึ้นจะทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ชาวอัฟกันต้องเผชิญยิ่งเลวร้ายลง หลังจากเกิดสงครามกลางเมืองมาเป็นเวลาหลายปีบวกกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจอัฟกานิสถานเกือบจะตกเข้าสู่สภาพที่อ่อนล้าและประชาชนขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ตามรายงานของสหประชาชาติ ประชาชนอัฟกานิสถานเกือบ 18 ล้านคน หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดกำลังต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม นอกจากนั้น การสู้รบที่ยืดเยื้อยังมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะปัญหาผู้ลี้ภัย
จากสถานการณ์ที่เป็นจริงนี้ ประเทศและองค์กรต่างๆ ได้เรียกร้องให้แสวงหามาตรการแก้ไขทางการเมืองให้แก่อัฟกานิสถาน โดยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม นาย Josep Borrell ผู้แทนระดับสูงดูแลความมั่นคงและด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรปได้ย้ำว่า ต้องเจรจากับกลุ่มตาลิบันให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมและการอพยพออกจากอัฟกานิสถาน.