วิกฤตนิวเคลียร์ในอิหร่าน ยากที่จะหาทางแก้ไขอย่างราบรื่น

Huyen-VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)- อิหร่านกับกลุ่มพี5+1 จะทำการเจรจารอบใหม่ในกลางเดือนนี้เพื่อมุ่งแสวงหาแนวทางแก้ไขวิกฤตนิวเคลียร์ของเตหราน ซึ่งประชามติก็ได้ตั้งความหวังในสัญญาณที่น่ายินดีจากฝ่ายต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหานี้แต่ในขณะเดียวกันแรงกดดันจากทั้งสองฝ่ายก่อนการพบปะครั้งนี้กำลังส่งผลกระทบต่อผลการเจรจา

(VOVworld)- อิหร่านกับกลุ่มพี5+1 จะทำการเจรจารอบใหม่ในกลางเดือนนี้เพื่อมุ่งแสวงหาแนวทางแก้ไขวิกฤตนิวเคลียร์ของเตหราน ซึ่งประชามติก็ได้ตั้งความหวังในสัญญาณที่น่ายินดีจากฝ่ายต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหานี้แต่ในขณะเดียวกันแรงกดดันจากทั้งสองฝ่ายก่อนการพบปะครั้งนี้กำลังส่งผลกระทบต่อผลการเจรจา

วิกฤตนิวเคลียร์ในอิหร่าน ยากที่จะหาทางแก้ไขอย่างราบรื่น   - ảnh 1
ประธานาธิบดีอิหร่านยืนยันนโยบายการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพ 

เมื่อวันที่4เมษายน กระทรวงการต่างประเทศของอิรักได้เผยว่า ทางการอิหร่านได้เสนอให้แบกแดดเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจารอบใหม่นี้ซึ่งฝ่ายอิรักก็พร้อมรับหน้าที่นี้และจะทำการประสานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ล่าสุดของวิกฤตนิวเคลียร์ในอิหร่านเพราะก่อนหน้านี้อิหร่านกับชาติตะวันตกได้เลือกเมืองอิสตันบูลประเทศตุรกีเป็นสถานที่จัดการเจรจา ส่วนตามความเห็นของประชามติระหว่างประเทศ นี่เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งเพื่อความสำเร็จของการพบปะเท่านั้นเพราะสิ่งที่ถือว่าสำคัญที่สุดคือเนื้อหาที่จะหารือและความจริงใจของทุกฝ่ายที่เข้าร่วม

อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ที่กำลังมีขึ้นในปัจจุบันนี้ก็ไม่สามารถมองเห็นถึงความหวังที่น่ายินดีของการเจรจานี้ โดยระหว่างอิหร่านกับประเทศตะวันตกและสหรัฐต่างได้แสดงท่าทีที่สร้างแรงกดดันที่จะเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองก่อนเข้าร่วมการเจรจา ซึ่งเมื่อวันที่3เมษายน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ฮิลลารี่คลินตันได้เรียกร้องให้อิหร่านต้องมีคำมั่นที่เป็นรูปธรรมต่อโครงการนิวเคลียร์ของตนในการเจรจาครั้งนี้และวอชิงตันจะกดดันในทุกด้านต่ออิหร่านด้วยการใช้มาตรการคว่ำบาตรในทุกด้านและโดดเดี่ยวเตหรานในประชาคมระหว่างประเทศมากขึ้น  ส่วนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐก็ได้ออกมาเตือนว่า เวลาของอิหร่านที่จะแสดงความจริงจังในการแก้ไขความขัดแย้งในปัญหานิวเคลียร์ผ่านมาตรการทางการทูตกับฝ่ายตะวันตกเหลืออยู่ไม่มากแล้วและสหรัฐก็ได้อนุมัติการใช้มาตรการคว่ำบาตรใหม่ที่มุ่งเป้ายังหน่วยงานน้ำมันของอิหร่านโดยเฉพาะธนาคารและองค์กรการเงินที่ซื้อน้ำมันจากอิหร่าน ซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้นต่อเตหรานเนื่องจากมาตรการนี้เหมือนเป็นการบังคับให้บริษัทต่างๆในโลกต้องเลือกระหว่างการธำรงความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐหรือซื้อน้ำมันกับอิหร่าน ซึ่งจีน อินเดีย ฝรั่งเศส อังกฤษและอีกหลายประเทศที่เป็นลูกค้าของอิหร่านนั้นก็อาจจะต้องเผชิญมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐถ้าไม่ลดปริมาณนำเข้าน้ำมันของอิหร่าน  อันที่จริงเป้าหมายของสหรัฐก็คือไม่ต้องการให้เศรษฐกิจของอิหร่านขับเคลื่อนต่อไปได้ถ้าหากไม่ยอมยกเลิกความมุ่งมั่นในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ โดยจนถึงปัจจุบันนี้ สหประชาชาติก็ได้ประกาศใช้4มาตรการลงโทษอิหร่านแล้วเนื่องจากสงสัยว่าประเทศนี้กำลังพยายามผลิตอาวุธนิวเคลียร์ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีและการเสริมสมรรถภาพยูเรเนี่ยมให้เข้มข้น  ในขณะที่สหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศก็กำลังใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อธนาคารและองค์กรการเงินต่างๆรวมทั้งหน่วยงานน้ำมันของอิหร่านเพื่อบังคับให้เตหรานกลับเข้าสู่การเจรจา

สำหรับฝ่ายอิหร่านนั้นก็แสดงท่าทีตอบโต้ โดยเมื่อวันที่3เมษายน ผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่านได้ออกมาประกาศว่าสหรัฐจะไม่ปลอดภัยต่อการโต้ตอบของอิหร่านถ้าหากประเทศนี้ถูกโจมตี ก่อนหน้านั้น ผู้นำด้านจิตวิญญาณของอิหร่าน อาลี คาเมนัย ก็ได้กล่าวหาสหรัฐและพันธมิตรยุโรปว่าได้เปลี่ยนแปลงเหตุผลต่างๆเพื่อมุ่งแทรกแซงกิจการภายในของอิหร่านด้วยเป้าหมายที่แฝงไว้ลึกๆก็คือการควบคุมแหล่งน้ำมันสำรองมหาศาลของอิหร่านนั่นเอง  ทางฝ่ายประชามตินั้นก็ได้มีความเป็นห่วงว่า หากถูกกดดันมากเกินไปอิหร่านก็อาจจะมีปฏิบัติการในแนวทางที่จะส่งผลกระทบในทางลบโดยเฉพาะการปิดช่องแคบฮอร์มุซ เส้นทางขนส่งน้ำมันดิบที่สำคัญจากเขตอ่าวไปยังทั่วโลก เพราะปัจจุบันอิหร่านเป็นประเทศส่งออกน้ำมันอันดับ5ของโลกและเป็นแหล่งผลิตน้ำมันอันดับสองในองค์การโอเปกและการตอบโต้ของอิหร่านอาจจะทำให้ราคาน้ำมันในตลาดพุ่งสูงขึ้นจนส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ ประชามติยังไม่สามารถมองเห็นวิแววที่น่ายินดีต่อกระบวนการเจรจาครั้งต่อไประหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี่5+1 โดยการเจรจาครั้งล่าสุดที่เมืองอิสตันบูลเมื่อเดือนมกราคมปี2011ก็ไม่สามารถบรรลุผลงานใดๆเนื่องจากเตหรานปฏิเสธที่จะยุติกิจกรรมด้านนิวเคลียร์เพื่อแลกกับการช่วยเหลือด้านการค้าและเทคโนโลยี ดังนั้นจากท่าทีของทุกฝ่ายที่แสดงให้เห็นก่อนการเจรจาก็ถือเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยสดใสในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว./.


คำติชม