การเลือกตั้งรัฐสภาในอิหร่าน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงจุดยืนด้านนิวเคลียร์ของเตหะราน

Chia sẻ

(VOVworld) – วันที่๒มีนาคม ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิหร่านเกือบ๕๐ล้านคนได้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกรัฐสภาชุดใหม่ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัดกับฝ่ายเคร่งศาสนาของนายอยาโตลเลาะห์ อาลี คาเมไน ผู้นำสูงสุดคนที่๒ของอิหร่าน

(VOVworld) – วันที่๒มีนาคม ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิหร่านเกือบ๕๐ล้านคนได้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกรัฐสภาชุด ใหม่ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัดกับฝ่ายเคร่งศาสนาของนายอยาโตลเลาะห์ อาลี คาเมไน ผู้นำสูงสุดคนที่๒ของอิหร่านซึ่งแม้ใครจะเป็นผู้ชนะก็จะไม่ทำให้จุดยืนที่แข็งกร้าวเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของเตหะรานมีการเปลี่ยนแปลง

การเลือกตั้งรัฐสภาในอิหร่าน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงจุดยืนด้านนิวเคลียร์ของเตหะราน - ảnh 1
ประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจัด ( Photo : Internet)

         นี่เป็นการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งแรกนับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี๒๐๐๙โดยผู้มีสิทธ์เลือกตั้งเกือบ๕๐ล้านคนจะสามารถเลือกสมาชิกรัฐสภา๒๙๐นายจากผู้ลงสมัครทั้งหมด๓๔๐๐คนเพื่อเตรียมให้แก่การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในปี๒๐๑๒ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแข่งขันระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัดและฝ่ายเคร่งศาสนาของนายอยาโตลเลาะห์ อาลี คาเมไน ผู้นำสูงสุดคนที่๒ของอิหร่าน บรรดาผู้สันทัดกรณีเห็นว่า แม้ฝ่ายใดจะชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้แต่จุดยืนด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านก็จะยังไม่เปลี่ยนแปลงเพราะทั้งคู่ต่างมีแนวทางที่แข็งกร้าวในปัญหานิวเคลียร์ นอกจากนี้ประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจัดกำลังพยายามหาทางกันคาเมไนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแบบแบ่งระดับที่ซับซ้อนของอิหร่านเพราะตามกฏหมายอิหร่าน ผู้นำสูงสุดมีอำนาจแต่งตั้งหรือปลดตำหน่งที่สำคัญต่างๆ เช่น รัฐมนตรีกระทรวง กลาโหม รัฐมนตรีสำนักงานข่าวกรอง และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ แม้ว่า ผลของการเลือกตั้งจะเป็นเช่นไรแต่อำนาจชี้ขาดปัญหาสำคัญของประเทศ เช่นโครงการนิวเคลียร์ หรือความสัมพันธ์กับสหรัฐก็ยังคงเป็นของผู้นำสูงสุดและถึงแม้นายคาเมไนจะให้การสนับสนุนประธานาธิบดีอยู่เสมอ แต่ก็จะไม่ยอมให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมีบทบาททางการเมืองอย่างเต็มที่เพราะจะเป็นการบั่นทอนบทบาทของตนแต่ถึงกระนั้นนายคาเมไนก็ยังคงให้ความ สำคัญต่อบทบาทของนาย อาห์มาดิเนจัดในขณะที่กำลังถูกแรงกดดันจากนานาชาติในปัญหานิวเคลียร์ โดยเฉพาะ มาตรการค่ำบาตรและคำขู่ที่จะใช้กำลังทหารโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านถึงแม้มีความตั้งใจที่จะปฏิบัติโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพก็ตาม ถ้าในระบบการเมืองอิหร่านไม่มีประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจัดก็จะทำให้สถานการณ์ของประเทศนี้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและฝ่ายค้านก็จะจัดการเดินขบวนซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิหร่านไม่ต้องการ ในขณะเดียวกัน มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกก็ได้ส่งผลกระทบใน ทางลบต่อการนำเข้าพลังงานและอาหารโดยเมื่อวันที่๒๙กุมภาพันธ์ นายเจย์ คาร์นี่โฆษกทำเนียบขาวได้ประกาศว่า สหรัฐจะยังคงดำเนินนโยบายทางการทูตกับการขยายการคว่ำบาตรต่อไปเพื่อขัดขวางไม่ให้อิหร่านปฏิบัติโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพเพราะตามความเข้าใจของวอชิงตัน เตหะรานยังไม่ได้ทำการผลิตระเบิดปรมาณูซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นความพยายามของทางการประธานาธิบดีบารัก โอบามาเพื่อเตรียมให้แก่การพบปะสุดยอดสหรัฐ อิสราเอล ณ ทำเนียบขาวในวันที่๕มีนาคมนี้เพราะสหรัฐและพันธมิตรกลัวว่า อิสราเอลจะโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านซึ่งจะส่งผลเสียอย่างคาดไม่ถึงต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง ดังนั้นปัจจุบันวอชิงตันกำลังเน้นกิจกรรมทางการทูตเพื่อโน้มน้าวให้ประชาคมระหว่างประเทศก่อแรงกดดันต่ออิหร่านผ่านมาตรการคว่ำบาตร อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่สหรัฐได้ยืนยันหลายครั้งแล้วว่า วอชิงตันจะดำเนินทุกมาตรการเพื่อขัดขวางไม่ให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง  นายพล Norton Schwartz เสนาธิการใหญ่กองทัพอากาศสหรัฐยังประกาศว่าถ้าหากมาตรการทางการทูตประสบความล้มเหลว กองทัพอากาศสหรัฐจะโจมตีอิหร่าน     ประชามติเห็นว่า ถึงแม้การแข่งขันจะดุเดือดแค่ไหนแต่ความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายตะวันตกไม่ประสงค์และก็เป็นปัจจัยที่ทำให้วิกฤตในประเทศนี้ยังไม่คลี่คลายลง ./.

                                                                                                                                             Huyền VOV5

คำติชม