การประชุมครั้งที่42สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่มีขึ้น ณ เมืองเจนีวา |
เวียดนามเป็นหนึ่งใน10ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงที่สุดจากภาวะเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในช่วง20ปีที่ผ่านมาโดยต้องเผชิญกับพายุ น้ำท่วมและดินถล่มบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนามเป็นหนึ่งใน3เขตที่ราบลุ่มของโลกที่ถูกผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาน้ำทะเลหนุน ซึ่งผลกระทบที่รุนแรงนี้ได้สร้างภัยคุกคามต่อการปฏิบัติเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของเวียดนาม ตลอดจนสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนาการเกษตร โดยในรอบ10ปีที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆทั้งพายุ น้ำท่วม ดินถล่ม ภัยแล้งและปัญหาดินเค็ม ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายเกือบหมื่นคน ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ1.5ของจีดีพีต่อปี
แนวทางนโยบายที่สอดคล้อง
โดยที่ตระหนักได้ดีถึงความเสี่ยงและความท้าทายของปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกในการรับมือด้วยการสร้างโครงการและวางแผนปฏิบัติแนวทางนโยบายรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการออกมติเกี่ยวกับการเป็นฝ่ายรุกรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพิ่มการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างจิตสำนึกและการปฏิบัติ ปรับปรุงระเบียบนโยบายและกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ จัดสรรค์แหล่งพลังของรัฐสำหรับการรับมือกับปัญหาต่างๆดังกล่าวเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาในรูปแบบใหม่เพื่อบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจแห่งสีเขียวและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวียดนาม ควบคู่กันนั้นเวียดนามได้ประกาศแผนปฏิบัติการถึงปี2020ที่สามารถรับมือและปรับตัวในเชิงรุกกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การป้องกันภัยธรรมชาติ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนได้ร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อปฏิบัติแผนการถึงปี2030เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีการประสานและปฏิบัติอย่างสอดคล้องระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการพัฒนาสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนสำหรับการลดผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รัฐบาลก็มีมติชี้นำการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
เป็นฝ่ายรุกในการรับมือ
บนพื้นฐานแนวทางนโยบายการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในเวลาที่ผ่านมา สำนักงานส่วนกลางและท้องถิ่นต่างๆได้มีแผนปฏิบัติการที่เข้มแข็งเช่นประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับจิตสำนึกในการรับมือและเปลี่ยนแปลงใหม่วิธีการปฏิบัตินโยบายและกฎหมายในด้านนี้ ปรับปรุงกลไกการบริหารของรัฐ การพัฒนาแหล่งบุคลากรและส่งเสริมบทบาทของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนภารกิจนี้ โดยเฉพาะเวียดนามได้ผลักดันความร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อการผสมผสานและขยายหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับปัญหาด้านภูมิอากาศผ่านการเข้าร่วมข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นฝ่ายรุกในการเข้าร่วมกระบวนการร่างข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ เสริมสร้างบทบาทของเวียดนามในเวทีระหว่างประเทศในด้านนี้เช่นเดียวกับการผลักดันความร่วมมือกับประเทศที่พัฒนาอย่างเนเธอแลนด์เพื่อร่างแผนการสำหรับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อรับมือและส่งเสริมการพัฒนาของภูมิภาคนี้ เวียดนามยังได้ระดมแหล่งพลังการเงินจากทั้งงบประมาณและการเพิ่มการลงทุนให้แก่ภารกิจที่สำคัญนี้พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินทุนสนับสนุนเพื่อการพัฒนาของต่างประเทศ
เพื่อรับมือและปรับตัวเข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เวียดนามได้ปฏิบัติรูปแบบการป้องกันต่างๆเช่นบ้านอเนกประสงค์เพื่อหลบพายุน้ำท่วม ทำนบชลประทานพร้อมระบบคมนาคมในชนบท การบำบัดน้ำเค็มเป็นน้ำจืดเพื่อใช้ในการเกษตร การปลูกป่าชายเลน การสร้างระบบเตือนภัยธรรมชาติเป็นต้น ควบคู่กับการส่งเสริมมาตรการดำรงชีพอย่างมั่นคงให้แก่ประชาชน การประชาสัมพันธ์ความรู้และรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจปฏิบัติตาม
ซึ่งโดยรวมแล้วแนวทางนโยบายและมาตรการที่เวียดนามได้ปฏิบัตินั้นได้มุ่งค้ำประกันการปฏิบัติ สิทธิของมนุษย์ในการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีงานทำ มีอาหารที่สมบูรณ์ มีสุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะสำหรับประชาชนในเขตที่ถูกผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจากการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเวียดนามได้ค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆของมนุษย์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เวียดนามเป็นภาคีอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจัง.