ยืนยันการเคารพกฎหมายสากลในปัญหาทะเลตะวันออก

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เมื่อเร็วๆนี้ ณ สำนักงานของสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐ ได้มีการเปิดตัวกลุ่มเพื่อนมิตรของอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS โดยมีรองเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติที่ดูแลด้านกฎหมายและที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสหประชาชาติ Miguel de Serpa Soares และตัวแทนของ 96 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติเข้าร่วม 
ยืนยันการเคารพกฎหมายสากลในปัญหาทะเลตะวันออก - ảnh 1เกาะซิงโต่นของเวียดนาม (VNA)

นี่คือความคิดริเริ่มของเวียดนามและเยอรมนีที่ได้รับการสนับสนุนและชื่นชมจากบรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ โดยถือเป็นฟอรั่มเพื่อหารืออย่างเปิดเผยเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล ลดความขัดแย้งและให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมต่อ UNCLOS 1982 อย่างสันติและยืนยันบทบาทสำคัญของกฎหมายสากลในทะเลตะวันออก

ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมต่อการธำรง UNCLOS 1982 อย่างสันติ

ความคิดริเริ่มดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากตัวแทนของบรรดาประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งตอบสนองความต้องการในการเชิดชูบทบาทและคุณค่าของ UNCLOS1982 ผลักดันการปฏิบัติตาม UNCLOS 1982 สร้างกลไกการประสานงานเพื่อร่วมกันแก้ไขความท้าทายต่างๆต่อกระบวนการปฏิบัติ UNCLOS ความท้าทายทางทะเลและมหาสมุทร โดยตัวแทนของหลายประเทศได้ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมต่อการธำรงและปฏิบัติUNCLOS อย่างสันติและปฏิบัติตามกฎระเบียบ พร้อมทั้งยืนยันว่า UNCLOS 1982 คือเอกสารที่มีความสมบูรณ์ที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมทางทะเลและมหาสมุทร สร้างกรอบความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศ มีส่วนร่วมต่อการบริหารมหาสมุทร ธำรงความเป็นระเบียบทางทะเลตามหลักนิตินัย แก้ไขการพิพาทอย่างสันติ โดยทุกประเทศ ไม่ว่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจ – สังคม ภูมิศาสตร์เช่นไรต่างก็มีผลประโยชน์ในการปฏิบัติตาม UNCLOS 1982

กลุ่มเพื่อนมิตรของ UNCLOS 1982 ไม่ใช่องค์กรที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านกฎหมายเหมือนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแต่จะเป็นฟอรั่มให้เอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆหารืออย่างเปิดเผยเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล ลดความขัดแย้ง และสร้างความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถนำเสนอปัญหาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทรในภูมิภาคของตนเพื่อหารือและทาบทามความคิดเห็น และในกรณีที่เกิดการพิพาท มาตรการแก้ไขที่ดีที่สุดคือการใช้กฎระเบียบ ซึ่ง UNCLOS 1982 เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในกฎหมายและกฎระเบียบระหว่างประเทศ เป็นพื้นฐานทางนิตินัยให้ทุกประเทศใช้สิทธิผลประโยชน์และแสดงความรับผิดชอบของตนในปัญหาทางทะเล

ซึ่งในกลุ่มเพื่อนมิตรของ UNCLOS 1982 ไม่เพียงแต่มีบรรดาประเทศใหญ่ที่ให้ความสนใจถึงการปฏิบัติระเบียบการที่อ้างอิงกฎหมายสากลเข้าร่วมเท่านั้น หากบรรดาประเทศเล็กก็ให้ความสนใจเข้าร่วมด้วย เพราะพวกเขาตระหนักได้ว่าถ้าหากเกิดการพิพาท ต้องอาศัยหลักกฎหมายสากลที่ประชาคมโลกยอมรับ ไม่ใช่กฎระเบียบของประเทศที่ใหญ่กว่า

ยืนยันการเคารพกฎหมายสากลในปัญหาทะเลตะวันออก - ảnh 2ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับทะเลตะวันออก (cand.com.vn)

ยืนยันบทบาทของกฎหมายสากลในการแก้ไขปัญหาในทะเลตะวันออก

ในเวลาที่ผ่านมา ปัญหาทะเลตะวันออกนับวันได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม เว็บไซต์ของสภารัสเซียเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศหรือ RIAC ได้ลงบทความที่พาดหัวว่า " 5 ปีหลังคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออก : การผสานระหว่างปัญหาทางภูมิศาสตร์การเมืองกับกฎหมายสากล" ของดร. Alexander Korolev และดร. Irina Strelnikova จากมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ของรัสเซียที่ได้ยืนยันว่า คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2016คือนิมิตหมายสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ของปัญหาการพิพาทในทะเลตะวันออกและกฎหมายสากลมีบทบาทสำคัญสูงสุดในการแก้ไขการพิพาทเหล่านี้ และยืนยันว่า UNCLOS 1982 มีการผุกมัดทางกฎหมายสูงสุดสำหรับทุกฝ่ายที่ลงนามเข้าร่วมและความหมายของคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการฯเมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่ง UNCLOS 1982 จะเป็นพื้นฐานด้านนิตินัยเพียงข้อเดียวที่สามารถใช้แทนทุกข้อเสนอเกี่ยวกับสิทธิประวัติศาสตร์ อำนาจอธิปไตยหรือสิทธิอำนาจศาลที่จีนได้อ้างมาเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก  บรรดานักวิชาการรัสเซียยังชื่นชมการที่บรรดาประเทศอาเซียนได้หารืออย่างเข้มแข็งเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะใช้ซีโอซี ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีข้อผูกมัดด้านนิตินัยแทนดีโอซีที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก ก่อนหน้านั้น ในการสัมมนาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่หารือหัวข้อ "การประเมินภัยคุกคามจากนโยบายของจีนในทะเลตะวันออก" บรรดาผู้เชี่ยวชาญของอินโดนีเซียก็ได้แสดงความคิดเห็นว่า จำเป็นต้องจัดทำซีโอซีให้มีคุณภาพ แต่ในขณะที่ยังไม่มีซีโอซี ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมายสากลที่กำลังบังคับใช้ในปัจจุบันต่อไป รวมถึง UNCLOS 1982 และ แถลงการณ์ว่าด้วยการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี ./.

คำติชม