ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ-หน้าที่ยากที่จะบรรลุ

Hong Van/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)-การประชุมครั้งที่20ของสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP-20 กำลังมีขึ้นที่ ลิมา ประเทศเปรูโดยมีตัวแทนของ200ชาติเข้าร่วมเพื่อหารือถึงมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยเป้าหมายบรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศภายใน1ปีข้างหน้าเช่นเดียวกับการผลักดันแผนปฏิบัติการของทุกประเทศ แต่ทั้งนี้ นี่มิใช่เป็นเป้าหมายที่จะสามารถบรรลุได้โดยง่ายในสภาวการณ์ที่ความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆยังคงมีความซับซ้อน
(VOVworld)-การประชุมครั้งที่20ของสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP-20 กำลังมีขึ้นที่ ลิมา ประเทศเปรูโดยมีตัวแทนของ200ชาติเข้าร่วมเพื่อหารือถึงมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยเป้าหมายบรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศภายใน1ปีข้างหน้าเช่นเดียวกับการผลักดันแผนปฏิบัติการของทุกประเทศ แต่ทั้งนี้ นี่มิใช่เป็นเป้าหมายที่จะสามารถบรรลุได้โดยง่ายในสภาวการณ์ที่ความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆยังคงมีความซับซ้อน

ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ-หน้าที่ยากที่จะบรรลุ - ảnh 1

ประธานาธิบดีสหรัฐกล่าวปราศรัยในที่ประชุมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน(AP)

การประชุมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนครั้งที่20จะดำเนินไปเป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์และก็เป็นการประชุมนัดสุดท้ายก่อนที่ประเทศต่างๆจะต้องลงนามข้อตกลงฉบับใหม่ใช้แทนพิธีสารเกียวโต โดยภายในเวลา12วันคือตั้งแต่วันที่1-12ธันวาคมนี้ ตัวแทนของประเทศต่างๆที่เข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะเน้นหารือถึงเนื้อหาของข้อตกลงฉบับใหม่ที่สหประชาชาติเป็นผู้อุปถัมภ์ที่ตั้งเป้าไว้ว่า ต้องควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมพัฒนา พร้อมทั้งจะมีการประกาศคำมั่นใหม่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อภาวะการถูกทำลายอย่างร้ายแรงโดยฝีมือของมนุษย์

อุปสรรคที่ต้องรับมือ

ก่อนการประชุม รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมเปรู มานูเอล ปูลการ์ วีดา ได้กล่าวว่ายากที่จะหวังผลแบบก้าวกระโดดจากที่ประชุมครั้งนี้แต่ประเทศต่างๆก็อาจจะเดินทีละก้าวเพื่อมุ่งบรรลุข้อตกลงในปีหน้า

คำเตือนดังกล่าวได้อาศัยความจริงที่ว่าประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาต่างๆไม่ได้ปฏิบัติตามเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ร้อยละ7-8ในปี2012เมื่อเทียบกับปี1990ตามที่ได้ระบุในพิธีสารเกียวโต โดยสาเหตุสำคัญคือความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และความรับผิดชอบ  เพราะขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอยากให้ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาแต่กลุ่มประเทศตะวันตกกลับเห็นว่าเศรษฐกิจที่เกิดใหม่ก็ต้องแบกรับหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยเนื่องจากมีหลายประเทศเช่นจีนและอินเดียมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากที่สุดของโลกโดยจีนอยู่อันดับหนึ่ง ส่วนอินเดียอยู่อันดับ4รองจากสหรัฐและสหภาพยุโรป  นอกจากนั้นประเทศต่างๆยังไม่สามารถเคลียร์ปัญหาเรื่องการเงินที่สมทบเข้ากองทุนช่วยเหลือประเทศที่ยากจนรับมือกับภาวะโลกร้อน โดยประเทศกำลังพัฒนาอยากให้ประเทศที่ร่ำรวยปฏิบัติตามสัญญาเพิ่มเงินในกองทุนปกป้องสภาพภูมิอากาศจาก10พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี2010-2020เป็น100พันล้านเหรียญสหรัฐในปี2020 แต่บรรดาประเทศพัฒนาไม่ได้สนใจกับเรื่องนี้มากนักเพราะพวกเขาเองก็กำลังต้องรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบจนทำให้เศรษฐกิจซบเซา

ในเมื่อบรรดาผู้นำชาติต่างๆยังไม่ปฏิบัติคำมั่นที่ให้ไว้อย่างสมบูรณ์ บรรดานักวิทยาศาสตร์โลกก็ได้ออกคำเตือนอย่างต่อเนื่องว่าหากกระบวนการปรับลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ล่าช้า ในอีก15ปีข้างหน้า มนุษยชาติจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติที่ไม่อาจคาดเดาผลกระทบได้เนื่องจากภาวะโลกร้อนไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำทะเลหนุน การละลายของแผ่นน้ำแข็งแถบขั้วโลก  ภัยแล้ง น้ำท่วมตลอดจนสภาพอากาศที่แปรปวนเป็นต้น ซึ่งตามการวิจัยล่าสุดของสำนักงานบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ปรากฎว่าปี2014เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดในรอบ130ปีโดยอุณหภูมิของโลกในรอบ10เดือนเพิ่มขึ้นเกือบ0.68องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของศตวรรษก่อน ธารน้ำแข็ง33แห่งจากทั้งหมด38แห่งทั่วโลกกำลังละลาย ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า40พันล้านตันเมื่อเทียบกับ32พันล้านตันเมื่อปี2010  ส่วนตามโครงการคาร์บอนโลกที่ถูกประกาศก่อนเปิดประชุมคอป-20 ในอีก2ทศวรรษข้างหน้า ปริมาณดังกล่าวจะสูงเกินระดับปลอดภัยเพื่อช่วยให้โลกควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน2องศา.

ความหวังที่เปราะบาง

แม้การประชุมครั้งนี้ได้รับการพยากรณ์ว่าจะประสบอุปสรรคมากมายแต่ก่อนเปิดงานก็ได้ปรากฎสัญญาณที่น่ายินดีต่างๆ โดยในด้านการเงิน กองทุนสภาพภูมิอากาศสีเขียวได้เผยว่า มีคำมั่นที่จะสมทบเงินเข้ากองทุนมูลค่า9.6พันล้านเหรียญสหรัฐจาก22สมาชิกเพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาลดการปล่อยก๊าซและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสหรัฐเป็นนักอุปถัมภ์รายใหญ่ที่สุดด้วยจำนวนเงิน3พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือญี่ปุ่นที่ให้คำมั่นว่าจะสมทบ1.5พันล้านเหรียญสหรัฐ

ก่อนหน้านี้ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่กรุงปักกิ่ง ประธานาธิบดีสหรัฐบารัคโอบามาและประธานประเทศจีนสีจิ้นผิงก็ได้ประกาศว่าทั้งสองประเทศได้บรรลุความตกลงว่าด้วยการปรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี2030 โดยถึงปี2025สหรัฐจะปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนร้อยละ28เมื่อเทียบกับปี2005 ซึ่งเป็นการปรับลดที่เข้มแข็งเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ทางการสหรัฐได้ตั้งไว้ในวาระแรกของประธานาธิบดีโอบามา ส่วนจีนแม้จะไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนแต่ก็ยืนยันเป้าหมายว่าถึงปี2030หรือเร็วกว่าจะไม่เพิ่มและเริ่มปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งทั้งนี้ก็ถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีในกระบวนการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในทั่วโลก

ทางด้านนายบันคีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติก็ได้กล่าวยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือปัญหาของยุคและต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วนเพราะยิ่งช้าเท่าไหร่ผลที่มนุษยชาติต้องแบกรับก็ยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น ส่วนนาง กรีสเตียนา ฟีเกอเรส เลขาธิการคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ชี้ว่า ผลการประชุมคอป-20จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อสร้างความเห็นพ้องต้องกันในทั่วโลกในการเพิ่มความพยายามแก้ไขปัญหา ในขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมเปรูซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมได้ยืนยันว่า การประชุมนี้เป็นโอกาสที่สำคัญเพื่อมุ่งบรรลุข้อตกลงใหม่ในปี2015 แต่ประเทศต่างๆจะสามารถใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ได้หรือไม่ ก็เป็นคำตอบที่ประชามติโลกกำลังรอคอยโดยเฉพาะความพยายาม ความรับผิดชอบของทุกประเทศสมาชิกต่ออนาคตของโลกใบนี้./.

คำติชม