ประวัติศาสตร์กัมพูชาจดจำถึงความเสียสละของทหารอาสาเวียดนาม

Van Do - Thu Hoa - Tam Hieu - VOV
Chia sẻ
(VOVWORLD) -แม้ผ่านมาแล้ว 40 ปี แต่ภาพทหารอาสาเวียดนามในสงครามที่ชอบธรรมเพื่อช่วยเหลือประชาชนกัมพูชาให้หลุดพ้นจากภัยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดงยังคงอยู่ในใจของประชาชนกัมพูชา
ประวัติศาสตร์กัมพูชาจดจำถึงความเสียสละของทหารอาสาเวียดนาม  - ảnh 1คณะผู้แทนไปวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์มิตรภาพเวียดนาม - กัมพูชา

เราได้มาพบกับคุณ นอง จัน พล ในยามบ่ายของวันส่งท้ายปี 2018 ที่พิพิธภัณฑ์สังหารหมู่โตลเสลง ซึ่งในยุคเขมรแดงคือเรือนจำรหัส S-21 ที่ถูกใช้เป็นสถานที่ทรมานและสังหารประชาชนกัมพูชาผู้บริสุทธิ์ประมาณ 2 หมื่นคน คุณ นอง จัน พล เป็น 1 ในเด็ก 4 คนที่รอดชีวิตจากเรือนจำแห่งนี้จากการช่วยเหลือของทหารอาสาเวียดนามที่ร่วมกับทหารกัมพูชาปลดปล่อยกรุงพนมเปญเมื่อช่วงต้นปี 1979 คุณ นอง จัน พล เล่าถึงความน่ากลัวในช่วงที่ถูกคุมขังในเรือนจำแห่งนี้ว่า “แต่ละห้องในเรือนจำ มีคนถูกคุมขังเต็มไปหมด ผมไม่ได้เห็นนักโทษถูกสังหารแต่ได้ยินเสียงกรีดร้องของนักโทษที่ถูกพาตัวไป แล้วก็ไม่ได้เห็นพวกเขากลับมาอีก”

คุณ นอง จัน พล และน้องชายของเขารู้สึกกลัวมากเมื่อถูกกลุ่มทหารของพอลพตจับขังแยกจากแม่และนั่นก็เป็นครั้งสุดท้ายที่เขาได้เห็นหน้าแม่ โชคดีที่หลังจากถูกจับไปขังที่เรือนจำ S-21ไม่กี่วัน คุณ นอง จัน พล ก็ได้รับการช่วยเหลือจากทหารอาสาเวียดนามและกองกำลังปฏิวัติกัมพูชาที่เข้าปลดปล่อยกรุงพนมเปญและทำการโค่นล้มระบอบเขมรแดงเมื่อวันที่ 7 มกราคมปี 1979 คุณ นอง จัน พล เล่าว่า “ทหารอาสาเวียดนามได้ช่วยดึงเราออกจากกองเสื้อผ้า เมื่อเห็นเราถูกยุงและแมลงกัดและไม่ได้กินข้าวหลายวันทหารอาสาเวียดนามก็ได้แบ่งข้าวสารที่พกติดตัวไปครึ่งหนึ่งหุงให้พวกเรากิน แล้วก็รอจนพวกเรากินเสร็จพวกเขาถึงจะไป”

คุณ นอง จัน พล ได้ให้พวกเราดูภาพเด็กเปลือยกาย 4 คนที่รวมถึงตัวเขาที่ทหารอาสาเวียดนามอุ้มออกจากเรือนจำ S – 21 และยืนยันว่า “ผู้ที่ให้ชีวิตใหม่ผมอีกครั้งคือทหารอาสาเวียดนาม ถ้าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือ อีกไม่กี่วัน เด็ก 4 คนนี้ ซึ่งรวมถึงผมก็จะถูกสังหารเหมือนเด็กที่โชคร้ายนับพันคนในเรือนจำแห่งนี้” ซึ่งทำให้ภาพแห่งความทรงจำเกี่ยวกับทหารอาสาเวียดนามยังคงเป็นสิ่งที่สวยงามในตลอดชีวิตของคุณ นอง จัน พล “ในขณะที่อยู่ในเรือนจำ เราได้รับการดูแลเอาใจใส่และความรักจากทหารอาสาเวียดนามเหมือนเป็นลูกของพวกเขา ทหารเวียดนามสอนให้เราแสดงความเคารพผู้ใหญ่ ถ้าหากมีเวลาว่าง พวกเขาก็มาเยี่ยมผมแล้วพาไปเล่นหรือไปเก็บมะพร้าว ถึงช่วงปี 1980 ทหารเวียดนามเริ่มถอนกำลังกลับประเทศ นับตั้งแต่ช่วงนั้นมาจนถึงวันนี้ ผมก็ไม่ได้รับข่าวจากพวกเขาอีกเลย หวังว่า วันหนึ่ง ผมจะมีโอกาสได้พบกับพวกเขาอีก”

ในช่วงปี 1975 – 1978 ทหารในระบอบเขมรแดงได้สังหารประชาชนประมาณ 2 ล้านคนเป็น1 ใน 4 ของจำนวนประชากรกัมพูชาทั้งหมดในปี 1975 ซึ่งนักวิชาการได้ถือว่า นี่เป็นการสังหารที่รุนแรงและโหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ของศตวรรษที่ 20 พื้นที่เกือบทุกแห่งในประเทศกัมพูชายังคงเต็มไปด้วยภาพและความทรงจำเกี่ยวกับการช่วยเหลือของทหารอาสาเวียดนามที่ทำให้ประชาชนกัมพูชาหลุดพ้นจากภัยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดง นาย จู ซก ตี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์โตลเสลง ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่ากลัวและน่าหดหู่ในการศึกษาประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยเขมรแดงได้กล่าวว่า “ผมขอขอบคุณทหารอาสาเวียดนามที่ได้ช่วยผมรอดพ้นจากระบอบพอลพต ผมจะจดจำบุญคุณนี้ไปตลอดชีวิต ถ้าหากไม่มีวันที่ 7 มกราคมปี 1979 ไม่รู้ว่า ชีวิตของผมจะเป็นอย่างไร”

ส่วนสำหรับคุณ วง สาคน ชาวกรุงพนมเปญมองว่า ทหารอาสาเวียดนามเป็นวีรชนและเป็นเพื่อนมิตรของชาวกัมพูชา “ เมื่อได้พบปะกับทหารอาสาเวียดนาม ผมดีใจมาก เพราะพวกเขาเป็นคนดีและจริงใจ ขอขอบคุณทหารอาสาเวียดนามที่ได้ช่วยปลดปล่อยพวกเราให้หลุดพ้นจากระบอบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พอลพต หวังว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับเวียดนามจะนับวันดีงามมากขึ้น”

ภาพส่วนอุทิศเพื่อช่วยให้ประเทศเพื่อนบ้านกับพูชาหลุดพ้นจากภัยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และสร้างสรรค์ประเทศให้เจริญรุ่งเรือง ของทหารอาสาและผู้เชี่ยวชาญเวียดนามยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวกัมพูชาทุกคน นาย ทองคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชายืนยันว่า “เราจะไม่มีวันลืมวันที่ 7 มกราคมปี 1979 ถ้าหากไม่มีกองทัพประชาชนเวียดนาม แนวร่วมปลดปล่อยประชาชาติกัมพูชาและกองทัพประชาชนกัมพูชาแล้ว ประเทศกัมพูชาก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากมหันตภัยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ได้ ตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์สามัคคีมิตรภาพระหว่างสองประเทศนับวันแน่นแฟ้นและพัฒนามากขึ้น”

ในสงครามที่ดุเดือดเพื่อปลดปล่อยประชาชนกัมพูชาให้หลุดพ้นจากภัยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทหารอาสาเวียดนามนับหมื่นนายได้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บมากมาย ซึ่งอันความเสียสละนี้ประชาชนกัมพูชาได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของประเทศตนที่ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนารุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้.

คำติชม