เรือรบออสเตรเลีย สหรัฐและญี่ปุ่นซ้อมรบในทะเลฟิลิปปินส์ ใกล้ทะเลตะวันออกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 (กองทัพเรือสหรัฐ) |
ในตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ประชาคมระหว่างประเทศได้เห็นถึง “การต่อสู้คัดค้านด้านการใช้หนังสือการทูต” ที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาทะเลตะวันออก โดยเริ่มจากการที่มาเลเซียยื่นเรื่องขยายเขตแบ่งไหล่ทวีปในทะเลตะวันออกของตนออกไปต่อคณะกรรมการเขตไหล่ทวีปเมื่อเดือนธันวาคมปี 2019 หลังจากนั้น หลายประเทศได้ส่งหนังสือการทูตคัดค้านข้อโต้แย้งที่ไม่ถูกต้องของจีนต่อทะเลตะวันออก
การส่งเสริมมาตรการใช้หนังสือการทูต
เมื่อเดือนกันยายนปี 2020 อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีซึ่งเป็นสามประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้ส่งหนังสือการทูตที่แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออกไปยังสหประชาชาติย้ำถึงความเป็นสากลและความเสมอต้นเสมอปลายของ UNCLOS 1982 ในการจัดทำกรอบทางนิตินัยสำหรับกิจกรรมทางทะเลทั่วโลก ร่วมกันสนับสนุนเสรีภาพทางทะเล รวมถึงเสรีภาพในการเดินเรือและการบินในทะเลตะวันออก หนังสือการทูตดังกล่าวยังได้ระบุอย่างชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิการแล่นผ่านที่ไม่สร้างอันตรายของเรือต่างชาติในเขตน่านน้ำ
ก่อนหน้านั้น มาเลเซียและตามมาด้วยหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซียและสหรัฐกับออสเตรเลียต่างส่งหนังสือการทูตคัดค้านข้อโต้แย้งของจีนที่มีต่อทะเลตะวันออก จนถึงขณะนี้ มีหนังสือการทูตกว่า 20 ฉบับและแถลงณ์การทางการทูตจากทุกประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคที่มีเนื้อหาไปในทางเดียวกัน เช่น ตำหนิและประณามข้อเรียกร้องที่ไร้เหตุผลของจีน รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่า "เส้นประ 9 เส้น" นั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับกฎหมายสากลและUNCLOS ปี 1982 และยืนยันว่า UNCLOS 1982 เป็นเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทะเลและมหาสมุทร ส่วนคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศหรือ PCA ปี 2016 ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของกฎหมายสากลและ UNCLOS 1982 และจีนต้องให้ความเคารพคำวินิจฉัยนี้
หนังสือการทูตเหล่านี้เป็นเอกสารอย่างเป็นทางการที่ส่งถึงสหประชาชาติจึงมีความถูกต้องตามกฎหมายและมีความชัดเจนสูงสุดและสะท้อนให้เห็นว่า ทะเลตะวันออกไม่เพียงแต่เป็นปัญหาระหว่างอาเซียนกับจีนเท่านั้น หากยังเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกอีกด้วยเนื่องจากทะเลตะวันออกมีความสำคัญต่อความมั่นคงและการพัฒนาของโลก
นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวปราศรัยในการสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งที่ 12 (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ) |
มุ่งสู่ความมั่นคงและความปลอดภัยในทะเลตะวันออก
สามารถเห็นได้ว่า การตอบโต้กันด้วยวิธีการส่งหนังสือทางการทูตระหว่างประเทศต่างๆเป็นจุดสำคัญในสถานการณ์ทะเลตะวันออกในปี 2020 อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็มีข้อดีคือแทนที่จะมีท่าทีที่ทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียดซึ่งอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าและการปะทะทางทหาร ประเทศต่างๆได้หันมาใช้มาตรการทางกฎหมาย โดยเฉพาะการให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่ออนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี1982 ซึ่งถือเป็นพื้นฐานเพื่อแก้ไขการพิพาท ซึ่งสิ่งนี้หมายความว่า UNCLOS 1982 มีคุณค่าอย่างรอบด้าน มีขอบเขตปรับปรุงทุกปัญหาทางทะเลซึ่งทุกประเทศให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ตอบโต้กันผ่านหนังสือการทูตถือเป็นวิธีการต่อสู้อย่างเป็นทางการ สันติและมีความโปร่งใสเนื่องจากประเทศที่มีคำเรียกร้องได้ชี้แจงการอ้างสิททางดินแดนและคำเรียกร้องในทะเลตะวันออกและประกาศให้ประชาคมโลกทราบ
ประเด็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออกในปี 2020 คือหัวข้อนี้ได้รับการกล่าวถึงมากขึ้นในฟอรัมพหุภาคีทั้งระดับภูมิภาคและโลก ตั้งแต่ฟอรั่มในระดับอาเซียน เช่น ฟอรั่มความมั่นคงในภูมิภาคหรือARF การประชุมระดับสูงเอเชียตะวันออกหรือ EAS การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนหรือ ADMM และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนขยายวงหรือ ADMM+ ไปจนถึงฟอรัมระดับโลก เช่น การประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่หรือ G20 ฟอรัมความร่วมมือเอเชีย - ยุโรปหรืออาเซม โดยทั่วไปแล้ว ทุกประเทศมีทัศนะร่วมกัน นั่นคือย้ำถึงความสำคัญของการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย เสรีภาพในการเดินเรือและการบิน ไม่มีปฏิบัติการทางทหาร ใช้ความอดกลั้น ไม่มีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียด แก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการสันติที่สอดคล้องกับกฎหมายสากล รวมทั้ง UNCLOS 1982 สนับสนุนการปฏิบัติตามแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกปี 2002 หรือดีโอซีและจัดทำหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎหมายสากลโดยเร็ว
การสร้างสรรค์ทะเลตะวันออกที่ปลอดภัย มีความมั่นคงและมั่งคั่งคือสิ่งที่หลายประเทศในภูมิภาคและทั่วโลกกำลังมุ่งหวัง ซึ่งสามารถเห็นได้จากการที่ปัญหาทะเลตะวันออกในปี 2020 ยังคงเป็นหนึ่งในประเด็นที่ต้องจับตาในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตจากโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม สัญญาณที่น่ายินดีเมื่อเร็วๆนี้ได้แสดงให้เห็นว่า โลกสามารถตั้งความหวังเกี่ยวกับทะเลตะวันออกที่สงบสุขและมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี 2021./.