คว่ำบาตรอิหร่านจะเกิดประสิทธิผลหรือไม่

็Hong Van/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - วันที่ 7 สิงหาคม มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่านมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ นี่คือเป็นมาตรการสำคัญในนโยบายต่ออิหร่านของวอชิงตัน แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ได้ประเมินว่า มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐยากที่จะทำให้อิหร่านเปลี่ยนแปลงนโยบายในตะวันออกกลางได้
คว่ำบาตรอิหร่านจะเกิดประสิทธิผลหรือไม่ - ảnh 1(Photo: Reuters) 

สหรัฐประกาศฟื้นฟูการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านหลังจากถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ทำไว้กับอิหร่านที่ลงนามเมื่อปี 2015 โดยมาตรการคว่ำบาตรแรกของสหรัฐมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 90 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม  โดยรัฐบาลอิหร่านถูกห้ามซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ  ระงับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับทองคำ โลหะมีค่า ถ่านหินและซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม ส่วนสหรัฐระงับการนำเข้าพรมปูพื้นและอาหารจากอิหร่าน ตลอดจนงดธุรกรรมด้านการเงินของประเทศนี้

และในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ คาดว่า สหรัฐจะใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบที่สองต่อหน่วยงานน้ำมันและธนาคารกลางของอิหร่าน

ความแข็งกร้าวของสหรัฐ

สหรัฐฟื้นฟูมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจอิหร่านกำลังมีสัญญาณที่จะเกิดวิกฤต ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ค่าเงินเรียลของอิหร่านอ่อนค่าลงและเศรษฐกิจประสบอุปสรรคได้ทำให้ความท้าทายด้านสังคมในอิหร่านเพิ่มขึ้น เช่นการขยายช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ความไร้เสถียรภาพยืดเยื้อต่อไปในขณะที่การชุมนุมประท้วงในอิหร่านเริ่มมีมากขึ้น กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า การขยายตัวด้านเศรษฐกิจของอิหร่านในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 แต่ผลกระทบในทางลบจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอาจทำให้การขยายตัวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 2

ในวันเดียวกับที่มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านมีผลบังคับใช้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ไมค์ ปอมเปโอ ได้ยืนยันอย่างเข้มแข็งว่า สหรัฐจะปฏิบัติมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านอย่างสมบูรณ์ ส่วนคำสั่งฟื้นฟูการใช้มาตรการคว่ำบาตรเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมของทำเนียบขาวได้ระบุว่า นโยบายของวอชิงตันคือ “สร้างแรงกดดันอย่างเต็มที่ในด้านเศรษฐกิจ” ต่ออิหร่าน

แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐยากที่จะทำให้อิหร่านเปลี่ยนแปลงนโยบายในตะวันออกกลาง อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้อิหร่านถอยห่างจากการประนีประนอมในตะวันออกกลางมากขึ้น ซึ่งการใช้มาตรการคว่ำบาตรจะเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก

การรับมือของอิหร่าน

ตรงตามที่คาดการณ์ไว้  ถึงแม้จะมีการพยากรณ์เกี่ยกวับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ แต่อิหร่านได้ประกาศว่า จะไม่ถอยหลังเนื่องจากแผนการของสหรัฐ ในขณะที่มาตรการคว่ำบาตรมีผลบังคับใช้ อิหร่านได้ใช้มาตรการผ่อนปรนข้อกำหนดด้านเงินตราต่างประเทศ โดยศูนย์ทำธุรกรรมได้รับอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่แข็งค่า ผู้นำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสกุลเงินที่แข็งค่า อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศถูกกำหนดอย่างเปิดกว้างมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดและถูกเก็บภาษี ส่วนธนาคารได้เปิดรับบัญชีเงินฝากเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ นี่เป็นกลุ่มมาตรการเพื่อระดมเงินจากประชาชนเข้าสู่ระบบ

ในการต่อสู้เพื่อรับมือกับค่ำสั่งคว่ำบาตรของสหรัฐไม่เพียงแต่มีอิหร่านเท่านั้น หากยังมีประเทศต่างๆในยุโรปอีกด้วย โดยสหภาพยุโรปหรืออียูได้ประกาศว่า พร้อมเสนอมาตรการใหม่เพื่อปกป้องสถานประกอบการยุโรปต่อผลกระทบจากคำสั่งคว่ำบาตรต่ออิหร่าน โดย “ข้อกำหนดปิดล้อม” เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 04.00 น.ตามเวลากรีนิชในวันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งกลไกนี้จะช่วยปกป้องบริษัทยุโรปให้ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการยุโรป ส่วนกระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีได้ให้คำมั่นว่า จะคุ้มครองกิจกรรมส่งออกและลงทุนของสถานประกอบการเยอรมนีที่ประกอบธุรกิจกับอิหร่าน

เป็นที่ชัดเจนว่า ในสงครามด้านเศรษฐกิจเพื่อคว่ำบาตรอิหร่าน สหรัฐยังไม่สามารถโน้มน้าวให้พันธมิตรยุโรปได้ซึ่งให้ความสำคัญต่อข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ได้ลงนามกับอิหร่านเมื่อปี 2015 หันมาให้การสนับสนุนได้ และการคว่ำบาตรยากที่จะเกิดประสิทธิผลตามความปรารถนาเมื่อไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก

แต่ทำเนียบขาวก็ตระหนักได้ดีถึงปัญหาดังกล่าว โดยได้ตั้งเงื่อนไขอนุญาตให้อิหร่านฟื้นฟูกิจกรรมด้านการค้า เมื่ออิหร่านเปลี่ยนแปลงการกระทำตามวิธีการที่โอนอ่อนและยอมหารือเกี่ยวกับความวิตกกังวลของสหรัฐที่เกี่ยวข้องถึงการที่อิหร่านทดลองยิงขีปนาวุธหรือการให้ความช่วยเหลือกลุ่มกบฎในตะวันออกกลาง แต่อย่างไรก็ตาม การที่สหรัฐประกาศฟื้นฟูการใช้มาตรการคว่ำบาตร และถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ลงนามเมื่อปี 2015 ในขณะที่ก้แสดงความประสงค์ที่เจรจาได้ส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจของอิหร่านต่อสหรัฐ โดยทางการอิหร่านยืนยันว่า วอชิงตันไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือต่อทุกการเจรจา.

คำติชม