(Photo: Internet) |
เวียดนามและญี่ปุ่นได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี1973 ภายหลัง40ปี ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนับวันยิ่งได้รับการเสริมสร้างและพัฒนา โดยขณะนี้กำลังอยู่ในระยะที่ดีที่สุดและมีความไว้วางใจทางการเมืองในระดับสูง
หุ้นส่วนยุทธศาสตรที่กว้างลึก
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนยุทธศาสตร์และหุ้นส่วนเศรษฐกิจชั้นนำของเวียดนาม เป็นนักอุปถัมภ์โอดีเอรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ2และหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับ4ของเวียดนาม โดยมูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ14ต่อปีและคาดว่า มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างสองประเทศในปี2020จะอยู่ที่6หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในกรอบการเยือนเวียดนามในต้นปีนี้ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะและนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงวียนซวนฟุกได้เห็นพ้องที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนและปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและการประกอบธุรกิจระหว่างสองประเทศ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เรียกร้องให้สถานประกอบการญี่ปุ่นส่งเสริมการลงทุนในด้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบริการที่มีคุณภาพสูง เช่น การเงิน ธนาคาร การท่องเที่ยว การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะ การแปรสถานประกอบการภาครัฐเป็นบริษัทหุ้นส่วนและการช่วยเหลือสถานประกอบการสตาร์ทอัพ ปัจจุบัน มีสถานประกอบการญี่ปุ่นกว่า1600แห่งที่กำลังประกอบธุรกิจในเวียดนามและในเวลาที่ผ่านมา สถานประกอบการญี่ปุ่นที่มีจุดแข็งด้านเทคโนโลยีขั้นสูง มีประสบการณ์ในด้านการผลิตและการประกอบธุรกิจได้มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนาม นาย Ando Kengo เลขาธิการสมาคมสถานประกอบการญี่ปุ่นประจำเวียดนามได้เผยว่า บรรดาสถานประกอบการญี่ปุ่นให้ความสนใจต่อตลาดเวียดนามและมีความประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจในระยะยาวและส่งเสริมความร่วมมือกับหุ้นส่วนเวียดนาม “เวียดนามอยู่ใกล้ญี่ปุ่น เวียดนามมีผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะ ภาษาญี่ปุ่นขั้นสูง เวียดนามเป็นประเทศที่พัฒนา โดยเน้นด้านการผลิตเกษตร ดังนั้น แรงงานเวียดนามที่มีฝีมือดีและกำลังอยู่ในวัยหนุ่มสาวได้ดึงดูดความสนใจของบริษัทญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ด้านการแปรรูปและการผลิต”
สัญญาณที่น่ายินดีของความสัมพันธ์ร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศคือเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เวียดนามได้ส่งแก้วมัวกรงวดแรกไปยังตลาดญี่ปุ่น ควบคู่กันนั้น ผลิตภัณฑ์การเกษตรอื่นๆ เช่น มะม่วง กล้วย ลิ้นจี่ ผักและผลไม้ชนิดอื่นๆของเวียดนามจะมีโอกาสเจาะตลาดญี่ปุ่น นาย เหงวียนเจื่องเซิน อัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศญี่ปุ่นได้เผยว่า “ถึงแม้ ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีมาตรฐานที่เข้มงวดแต่ก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกของเวียดนาม ในเวลาที่ผ่านมา ตลาดผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนามมีก้าวเดินที่สำคัญในการครองส่วนแบ่งในตลาดญี่ปุ่น การส่งออกแก้วมังกรเนื้อแดงและผลไม้ชนิดอื่นๆไปยังตลาดญี่ปุ่นจะสร้างโอกาสใหม่ให้แก่ผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนาม”
บนพื้นฐานของความคิดริเริ่มเวียดนาม-ญี่ปุ่นในระยะที่4และยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในกรอบความร่วมมือเวียดนาม-ญี่ปุ่นจนถึงปี2020และวิสัยทัศน์ปี2030 ทั้งสองประเทศกำลังผลักดันการปฏิบัติข้อตกลงที่ผู้นำทั้งสองประเทศได้ลงนามเพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายให้เข้าสู่ส่วนลึก
ผลักดันช่องทางการทูตระหว่างรัฐสภา
ควบคู่กับความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ดีงาม ในหลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐสภาทั้งสองประเทศได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งสองฝ่ายดำรงการฐแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนในทุกระดับ โดยเฉพาะ คณะผู้แทนระดับคณะกรรมการและกลุ่มส.ส.มิตรภาพเวียดนาม-ญี่ปุ่นและสหภาพส.ส.มิตรภาพญี่ปุ่น-เวียดนาม ในฟอรั่มรัฐสภาระดับภูมิภาคและโลก คณะผู้แทนรัฐสภาเวียดนามและญี่ปุ่นต่างมีจุดยืนและมีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และรักษาสันติภาพและเสถียรภาพเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและให้การสนับสนุนกันในการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี1973 นี่เป็นการเยือนเวียดนามครั้งที่2ของประธานสภาล่างญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจทางการเมืองระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศและสองรัฐสภา ผลักดันความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสองรัฐสภาตามเนื้อหาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างกว้างลึกเวียดนาม-ญี่ปุ่นและการปฏิบัติวิสัยทัศน์ความสัมพันธ์เวียดนาม-ญี่ปุ่น.