ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างเพื่อภูมิภาคแม่น้ำโขงที่เจริญรุ่งเรือง

Huyền Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การประชุมแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่ 3 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมโดยมีตัวแทนของ 6 ประเทศ ประกอบด้วย เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและจีนเข้าร่วม การประชุมครั้งนี้สร้างนิมิตหมายครบรอบ 5 ปีการจัดทำและพัฒนากลไกความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และเสนอแนวทางสำคัญๆให้แก่ความร่วมมือในภูมิภาค
ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างเพื่อภูมิภาคแม่น้ำโขงที่เจริญรุ่งเรือง - ảnh 1

นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก เข้าร่วมการประชุม MLC ครั้งที่ 3 (VGP)

ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างหรือ MLC ที่มีการเข้าร่วมของ 6 ประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวคิดของไทยที่ถูกเสนอครั้งแรกเมื่อปี 2012 โดยในกว่า 10 กลไกความร่วมมือในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงในปัจจุบัน กลไกความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างหรือ MLC กำลังเกิดความได้เปรียบมากมายและสร้างความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่ นี่คือกลไกที่มีการเข้าร่วมของทั้ง 6 ประเทศในริมฝั่งแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ประกอบด้วย เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและจีน โดยมีเนื้อหาร่วมมือที่ครอบคลุมในหลายด้าน

ภาพรวมและความท้าทายร่วม

การประชุม MLC ครั้งที่ 3 คือโอกาสสำคัญเพื่อให้ผู้นำของ 6 ประเทศหารือเกี่ยวกับปัญหาใหญ่ๆของภูมิภาค เห็นพ้องแนวทางและมาตรการแก้ไขความท้าทายร่วม

หลังจากตรวจสอบกระบวนการร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อปฏิบัติแผนปฏิบัติการร่วมมือ MCL 2018-2022 บรรดาผู้นำได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติ 3 เสาหลักคือความร่วมมือด้านการเมือง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างยั่งยืนและความร่วมมือเกี่ยวกับการพบปะสังสรรค์ด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศแม่โขง-ล้านช้าง ซึ่งนำผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่มาให้แก่ประเทศสมาชิก ประชาชนและสถานประกอบการ สำหรับผลงานที่โดดเด่นของการประชุม นาย บุ่งแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำว่า “บรรดาผู้นำได้ตรวจสอบความร่วมมือในกรอบกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างที่อุปถัมภ์ให้แก่โครงการร่วมมือภูมิภาค รวมยอดเงินทุนเกือบ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเวลาที่ผ่านมา โครงการร่วมมือต่างๆได้รับการปฏิบัติ ที่ประชุมยังกำหนดแนวทางร่วมมือในเวลาที่จะถึงโดยเน้นถึงด้านที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ รวมทั้งการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ความร่วมมือด้านการเกษตร ผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศแม่น้ำโขงไปยังประเทศจีน ร่วมมือด้านการศึกษาและฝึกอบรม พัฒนาแหล่งบุคลากรให้แก่ภูมิภาคแม่น้ำโขงและผลักดันการพบปะสังสรรค์ด้านการท่องเที่ยว”

ควบคู่กันนั้น ประเทศสมาชิกจะผลักดันความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ค้ำประกันเสถียรภาพให้แก่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค ธำรงอัตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ ผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมปฏิบัติเป้าหมาย SDGs 2030 ให้ประสบความสำเร็จ ผลักดันความร่วมมือในด้านการศึกษาและฝึกอบรมและการปรับเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์สำหรับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ที่ประชุมยังสงวนเวลาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการบริหารจัดการแหล่งน้ำของแม่น้ำโขง สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงในลุ่มน้ำในช่วงปี 2019-2020 และเห็นพ้องกันว่า ต้องผลักดันความร่วมมือในการบริหารจัดการและใช้แหล่งน้ำของแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนมากขึ้น

เวียดนามมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง

ภายใต้แนวทางเป็นหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือและเป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของประชาคมโลก เวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกในการเข้าร่วมและมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพต่อความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างในช่วงเริ่มก่อตั้ง และในการประชุมครั้งนี้ กระทรวงและหน่วยงานต่างๆของเวียดนามได้เข้าร่วมอย่างเข้มแข็งต่อกระบวนการจัดทำเอกสารบนเจตนารมณ์แห่งความสร้างสรรค์และร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาค รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บุ่ยแทงเซิน เผยต่อไปว่า “ข้อเสนอใหญ่ 2 ข้อของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้คือ ความร่วมมือเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลักดันความร่วมมือศูนย์วิจัยอุทกศาสตร์และการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อจำกัดผลกระทบในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งข้อเสนอนี้ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากบรรดาผู้นำในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง”

นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้ร่วมกับบรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกหารือเกี่ยวกับปัญหาใหญ่ๆที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภูมิภาคและมาตรการที่จำเป็น

สามารถยืนยันได้ว่า MLC กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นทั้งในการบริหารจัดการแหล่งน้ำและด้านร่วมมืออื่นๆ การธำรงความร่วมมือคือความท้าทายต่อกลไกพหุภาคีและต้องมีความพยายามของทุกประเทศสมาชิก และความร่วมมือ MLC ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงแนวโน้มนี้ได้ เวียดนามยืนยันอยู่เสมอว่า MLC ต้องเน้นร่วมมืออย่างจริงจัง สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งในปัญหาหลักของอนุภูมิภาค โดยเฉพาะปัญหาความมั่นคงของแหล่งน้ำ การผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความสมดุลในการพัฒนาของทุกประเทศสมาชิก./.

คำติชม