(photo: Vietnamplus) |
50 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้มุ่งสู่ประชาคมผสมผสานที่กว้างลึกและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสูง สามัคคีประชาชน 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมกับการก่อตั้งประชาคม อาเซียนได้สร้างสรรค์วิสัยทัศน์ 2025 มุ่งสู่ภูมิภาคที่พึ่งพาตนเอง อาศัยตามหลักการและถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีบทบาทที่นับวันเพิ่มมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลก อาจกล่าวได้ว่า นี่คือนิมิตหมายที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การก่อตั้งในตลอด 50 ปีที่ผ่านมาของอาเซียน
ระบุความท้าทายบนเส้นทางแห่งการผสมผสาน
วิสัยทัศน์ 2025 ได้เปิดโอกาสมากมายให้แก่ประชาคมอาเซียนเพื่อพัฒนาในทุกด้าน รวมทั้งการผสมผสานที่กว้างลึกมากขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองและอิทธิพลในภูมิภาคและโลก แต่เพื่อใช้โอกาสนี้ อาเซียนต้องฟันฝ่าความท้าทายมากมาย เมื่ออาเซียนสร้างสรรค์ประชาคมที่อาศัยหลักการของกฎหมายนั้น การที่ระบบกฎหมายของประเทศต่างๆยังมีความแตกต่างกันได้เป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติคำมั่นและข้อตกลงร่วม ในการระบุถึงความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ นาย เลเลืองมิงห์ อดีตเลขาธิการอาเซียนได้แสดงความเห็นว่า “รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของประเทศที่รวยที่สุดในอาเซียนสูงกว่า 43 เท่าเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของประเทศที่ยากจนที่สุด ความรู้ของประชาชนและสถานประกอบการยังมีข้อจำกัด อาเซียนเดินหน้าปฏิบัตินโยบายภูมิภาคที่เปิดกว้าง สนับสนุนโลกาภิวัตน์และการค้าเสรี แต่ในโลกกำลังเกิดแนวโน้มต่อต้านโลกาภิวัตน์และการคุ้มครองการค้า โดยเฉพาะในประเทศ เศรษฐกิจใหญ่ๆที่เป็นหุ้นส่วนของอาเซียน ซึ่งเป็นความท้าทายของอาเซียนในการสร้างสรรค์ประชาคมที่พัฒนาอย่างครอบคลุมรอบด้าน”
นอกจากนั้น การผันผวนที่ซับซ้อนในภูมิภาค โดยเฉพาะปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวที่ละเมิดกฎหมายสากลในทะเลตะวันออกได้เป็นภัยคุกคามต่อความสามัคคีของอาเซียนและสร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค
พยายามปฏิบัติ “วิสัยทัศน์2025” ให้กลายเป็นความจริง
ปัจจุบัน อาเซียนกำลังอยู่ในระยะพัฒนาใหม่ เพื่อแปร “วิสัยทัศน์อาเซียน 2025” ให้กลายเป็นความจริง อาเซียนกำลังพยายามฟันฝ่าความท้าทายและบทเรียนจากความสำเร็จในตลอด 50 ปีที่ผ่านมาก็เพื่อช่วยให้อาเซียนก้าวไปบนเส้นทางผสมผสานในอนาคตต่อไป
ตามนั้น อาเซียนจะสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่สามัคคี เข้มแข็งและพัฒนาเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริงต่อไป นี่คือผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน จึงต้องมีความรับผิดชอบและส่วนร่วมของทุกประเทศสมาชิกในการผลักดันความสามัคคี ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และความเชื่อมโยงในกลุ่ม นาย เลเลืองมิห์ อดีตเลขาธิการอาเซียนได้เผยว่า “เพื่อฟันฝ่าความท้าทาย ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องผลักดันกระบวนการแปรระบบกฎหมายของแต่ละประเทศให้เป็นไปในทางเดียวกันโดยเร็ว แก้ไขปัญหาผลประโยชน์ในเฉพาะหน้าของประเทศต่างๆกับผลประโยชน์ร่วมกันและระยะยาวของประชาคมอย่างสมดุลและผลักดันวัฒนธรรมการบังคับใช้ ระดมและใช้แหล่งพลังภายในกลุ่มและหุ้นส่วนต่างๆเพื่อปฏิบัติโครงการและลดช่องว่างการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ”
ควบคู่กันนั้น เพื่อค้ำประกันสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค อาเซียนต้องเป็นฝ่ายรุกในการผลักดันความร่วมมือและจัดตั้งมาตรฐาน กลไกและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับความท้าทาย ป้องกันการปะทะและแก้ไขการพิพาทให้สอดคล้องกับกฎหมายสากล นอกจากการผลักดันกลไกความร่วมมือที่กำลังมีอยู่ เช่นฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือเออาร์เอฟ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรืออีเอเอส อาเซียนบวก3 และอดีเอ็มเอ็ม+ อาเซียนยังผลักดันการเจรจากับจีนเพื่อจัดทำหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีอย่างจริงจังและมีผลบังคับใช้ทางนิตินัย ช่วยแก้ไขความตึงเครียดที่เกี่ยวข้องถึงการพิพาทอธิปไตยในทะเลตะวันออก
เวียดนามให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อความร่วมมืออาเซียน
ในตลอดกว่า 22 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนช้ากว่าหลายๆประเทศ แต่เวียดนามได้พยายามอย่างสุดความสามารถ และเข้าร่วมด้วยจิตใจแห่งการเป็นฝ่ายรุก กระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมธำรงและผลักดันกฎระเบียบในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้อาศัยหลักการของภูมิภาคและสอดคล้องกับกฎหมายสากล เวียดนามถืออาเซียนคือชายคาร่วมบ้านร่วม ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก มีความผูกพันและความกลมกลืนระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติของเวียดนามกับผลประโยชน์ของภูมิภาค ซึ่งในอนาคตแนวทางนี้ก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ความร่วมมือและเชื่อมโยงอาเซียนคือเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆและเป็นทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ของเวียดนาม และเวียดนามจะร่วมกับประเทศสมาชิกแปรเป้าหมายอันสูงส่งของประชาคมอาเซียนให้กลายเป็นความจริ นั่นคือประชาคมที่เจริญรุ่งเรืองและมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในความหลากหลาย.