ความคิดเชิงก้าวกระโดดและวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

Vân + Khuyên
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ซึ่งการปลูกข้าว ผลไม้ การเพาะเลี้ยง การจับและการแปรูปสัตว์น้ำได้มีส่วนร่วมต่อการส่งออกสินค้าการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำของเวียดนามเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่เขตนี้ก็ต้องรับมือกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น ในการประชุมผลักดันการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตามแนวทางปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีขึ้น ณ จังหวัดเกียนยางเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้งและผู้แทนหลายคนได้เสนอความคิดริเริ่มต่างๆเพื่อใช้ศักยภาพของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้อย่างเต็มที่
ความคิดเชิงก้าวกระโดดและวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง - ảnh 1นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง กล่าวปราศรัยในการประชุมผลักดันการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตามแนวทางปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีจังหวัดและนครรวม 13 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพที่แตกต่างกัน มีโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยพื้นที่ธรรมชาติเกือบ 4 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 12.2 ในด้านพื้นที่และร้อยละ 19 ในด้านประชากรของประเทศ ติดอันดับหนึ่งของประเทศในการผลิตข้าว กุ้ง ปลาบาซาและผลไม้ ปัจจุบันนี้ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเปลี่ยนแปลงจาก “แนวคิดเชิงการผลิตเกษตร” มาเป็น “แนวคิดพัฒนาเศรษฐกิจทางการเกษตร” และถึงเวลาแล้วที่ต้องมีแนวคิดใหม่ๆเพื่อกระตุ้นให้เขตที่เต็มไปด้วยศักยภาพนี้พัฒนามากขึ้น

ความคิดเชิงก้าวกระโดด

การพัฒนาการเกษตรเชิงนิเวศมีประสิทธิภาพสูงและเขตชนบทที่ทันสมัยคือปัจจัยชี้ขาดในการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยต้องมีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างการเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการ การบริการจะเป็นพื้นฐานช่วยพัฒนาการเกษตร สร้างมูลค่ามากขึ้นให้แก่การเกษตร ท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องตระหนักได้ดีว่า การใช้พลังภายใน คือมนุษย์และธรรมชาติ เป็นปัจจัยชี้ขาด ยั่งยืนและยุทธศาสตร์ ส่วนแหล่งพลังจากภายนอก เช่น เงินทุน เทคโนโลยีและการบริหาร เป็นเรื่องที่สำคัญและก้าวกระโดด การลงทุนภาครัฐต้องถูกต้องตามเป้าหมาย ใช้แหล่งเงินทุนจากภาครัฐเพื่อเป็นแรงกระตุ้นและระดมแหล่งพลังต่างๆให้แก่การพัฒนา

ในการวางผังเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดและท้องถิ่นในเขตต้องปฏิบัติ 4 ด้านให้ดีที่สุด นั่นคือ มีโครงการที่ดี มีนักลงทุนที่ดี มีผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีเครื่องหมายการค้าที่ดี

ในด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีความได้เปรียบในด้านการคมนาคมทางน้ำและทางทะเลแต่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ท้องถิ่นต่างๆในเขตนี้ต้องพัฒนาระบบไฮเวย์และใช้ความได้เปรียบจากการคมนาคมทางน้ำต่อไป พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเนื่องจากมีศักยภาพสูงในด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ย้ำว่า            “ควรเน้นพัฒนาโครงสร้างเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางรถไฟและทางอากาศ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีจุดแข็งในด้านคมนาคมทางน้ำ ทางบกและทางทะเลแต่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ เราต้องพัฒนาถนนไฮเวย์ ทางรถไฟและถนนเลียบชายฝั่งแต่ก่อนอื่นต้องเน้นพัฒนาถนนไฮเวย์และถนนเลียบชายฝั่ง ปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ความคิดเชิงก้าวกระโดดและวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง - ảnh 2นาย เลมิงห์ฮวาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทกล่าวปราศรัยในการประชุม (VNA)

เชื่อมโยงแหล่งพลังต่างๆ

นาย เลมิงห์ฮวาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า การเชื่อมโยงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงไม่ใช่แค่โจทย์ในเรื่องประชากร พื้นที่และแหล่งพลังของ 13 จังหวัดและนครในเขตนี้เท่านั้น หากยังเป็นการเปิดกว้างและการเชื่อมโยงในด้านความคิด การเชื่อมโยงแหล่งพลัง การสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ที่กลมกลืนระหว่าง “รัฐกับตลาดและสังคม” แสวงหาแหล่งพลังใหม่ๆและสร้างบรรยากาศพัฒนาใหม่

แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทจะประสานงานในการวางผังการพัฒนาและสร้างสรรค์เขตผลิตวัตถุดิบ เชื่อมโยงให้สถานการประกอบการเข้ามาลงทุนในด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการผลิตเชิงลึก เชื่อมโยงหน่วยงานสินค้าต่างๆ สนับสนุนการยกระดับคุณภาพของสหกรณ์ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการผลิตกับการบริโภค ผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเกษตรในระดับท้องถิ่น เป็นต้น

ควบคู่กันนั้น ทางกระทรวงฯจะประสานงานในโครงการอุปถัมภ์จากต่างประเทศที่มีลักษณะเชื่อมโยงในระดับจังหวัดและท้องถิ่นและเปิดบรรยากาศให้แก่เศรษฐกิจชนบท พร้อมทั้งทำการเจรจาและดึงดูดเงินทุนเข้าโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์การเกษตร ชนบท รวมทั้งห่วงโซ่การก่อสร้างคลังสินค้าห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาผลิตภัณฑ์การเกษตรในระดับอำเภอและจังหวัดเลียบตามชายฝั่งของแม่น้ำเห่าและแม่น้ำเตี่ยน

ส่วนในการประชุมผลักดันเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนในเชิงรุก กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้ประสานงานกับคณะกรรมการประชาชนจังหวัดและนครต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงลงนามในโครงการประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรและชนบทในเวลาที่จะถึง

ถึงปี 2025 ควบคู่กับระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม การศึกษาและแหล่งบุคลากร ความคิดเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระดับเขตจะช่วยให้เขตนี้พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจากความได้เปรียบเฉพาะของตน  แต่ละจังหวัดและนครจะเป็นฝ่ายรุกในการมีส่วนร่วมอย่างกลมเกลืนต่อภาพรวมของเศรษฐกิจภูมิภาค ช่วยให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ มีการดำเนินงานอย่างคล่องตัวและมีส่วนร่วมในระดับสูงต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจเวียดนาม.

คำติชม