การประชุมสุดยอดแห่งอนาคตกำหนดแนวทางของโลกในศตวรรษที่ 21

Quang Dung
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การประชุมสุดยอดแห่งอนาคตหรือ Summit of the Future ของสหประชาชาติซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐได้ตั้งเป้ากำหนดอนาคตใหม่ที่มีความยุติธรรม ครอบคลุม พัฒนาและเชื่อมโยงกันอย่างเข้มแข็งมากขึ้นในศตวรรษที่ 21
การประชุมสุดยอดแห่งอนาคตกำหนดแนวทางของโลกในศตวรรษที่ 21 - ảnh 1นาย โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี (VNA)

 

แนวคิดเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดเพื่อหารือเกี่ยวกับอนาคตถูกเสนอโดยสหประชาชาติเมื่อปี 2020 ในโอกาสฉลองครบรอบ 75 ปีการก่อตั้งสหประชาชาติ และในช่วงเวลาที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ทำให้โลกมีความคิดเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธรรมาภิบาลทั่วโลกอย่างครอบคลุมในศตวรรษที่ 21

อีกโลกหนึ่ง

ในข้อความเพื่อขานรับ “คำเรียกร้องระดับโลก” ให้แก่การประชุมสุดยอดแห่งอนาคตซึ่งเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ย้ำว่า การประชุมสุดยอดระดับโลกเป็นแผนการของประชาคมระหว่างประเทศมาเป็นเวลาหลายปี เป็นการกระตุ้นการมีปฏิบัติการเมื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นในโลกปัจจุบัน นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส แสดงความเห็นว่า กลไกที่มีในปัจจุบันไม่สามารถรับมือความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบของเทคโนโลยี ดังนั้น การประชุมสุดยอดแห่งอนาคตจะส่งเสริมการอภิปรายเพื่อกำหนดโลกใหม่ด้วยโครงสร้างใหม่และเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆใหม่

ทัศนะนี้ของสหประชาชาติได้รับการขานรับอย่างเข้มแข็งจากหลายประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่เรียกร้องให้มีเสียงพูดที่เข้มแข็งมากขึ้นในกลไกพหุภาคีมาเป็นเวลาหลายปี นาย นันโกโล อึมบุมบา (Nangolo Mbumba) ประธานาธิบดีนามิเบียได้แสดงความเห็นว่า

“เรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งประวัติศาสตร์ ความท้าทายที่เราต้องเผชิญ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงความไม่เท่าเทียมกันทั่วโลก ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ไปจนถึงความต้องการที่เร่งด่วนที่ต้องปฏิบัติระเบียบวาระการประชุมการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ทำให้ต้องมีคำมั่นแบบหมู่คณะที่เข้มแข็ง อนาคตของสหประชาชาติขึ้นอยู่กับความสามารถในการมีปฏิบัติการของเรา เช่น การมีกลไกที่ครอบคลุม มีประสิทธิภาพและมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น”

ประเทศตะวันตกหลายประเทศซึ่งได้รับการถือว่า ได้รับประโยชน์จากระเบียบโลกในปัจจุบันก็ยอมรับถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลง นาย โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้แสดงความเห็นว่า

“ไม่ว่าจะเป็นระเบียบโลกที่มีประสิทธิภาพแค่ไหน ก็ต้องสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของโลก ประเทศในเอเชีย แอฟริกาและอเมริกามีการเติบโตทั้งในด้านจำนวนประชากรและเศรษฐกิจ ผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกได้หลุดพ้นจากความยากจนและเข้าร่วมชนชั้นกลาง คนเหล่านี้มีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากความเจริญรุ่งเรือง การมีส่วนร่วมและอิทธิพลระดับโลกเหมือนพลเมืองในยุโรปและอเมริกาเหนือ”

การประชุมสุดยอดแห่งอนาคตกำหนดแนวทางของโลกในศตวรรษที่ 21 - ảnh 2นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (AFP)

กำหนดเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ

ก่อนการประชุมสุดยอดแห่งอนาคต สหประชาชาติได้จัด “วันงานแห่งปฏิบัติการ” ในระหว่างวันที่ 20-21 กันยายนเพื่อให้ตัวแทนของประเทศต่างๆ องค์กรสังคมพลเรือน เยาวชน นักวิชาการและทางการปกครองท้องถิ่นหารือเกี่ยวกับหัวข้อที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในร่างเอกสารฉบับต่างๆ การอภิปรายเหล่านี้ได้รวบรวมเนื้อหาอย่างละเอียดขั้นสุดท้ายให้แก่เอกสาร 3 ฉบับ ซึ่งคาดว่า ผู้นำและเจ้าหน้าที่อาวุโสของ 193 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติจะอนุมัติในการประชุมสุดยอดแห่งอนาคต ได้แก่ สนธิสัญญาแห่งอนาคต แถลงการณ์เกี่ยวกับคนรุ่นใหม่และสนธิสัญญาดิจิทัลระดับโลก เนื่องด้วยเป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดของการประชุมนี้ คาดว่า สนธิสัญญาแห่งอนาคตจะประกอบด้วย 5 บรรพ ซึ่งกล่าวถึงเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในอนาคต เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืน สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เยาวชนและคนรุ่นใหม่ และการเปลี่ยนแปลงธรรมาภิบาลระดับโลก ในขณะเดียวกัน สนธิสัญญาดิจิทัลระดับโลกและแถลงการณ์เกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ก็ให้คำมั่นและแผนปฏิบัติการเพื่อลดช่องว่างทางเทคโนโลยีระหว่างประเทศต่างๆ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุม นำผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันมาสู่ประเทศและชุมชนมากขึ้น ตลอดจนจัดทำระบบตรวจสอบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ระหว่างประเทศที่มีข้อผูกมัดทางนิตินัยและส่งเสริมวิธีการเข้าถึงที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆให้แก่คนรุ่นใหม่

ในสภาวการณ์ที่การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือ UNGA สมัย 79 จะมีขึ้นหลังการประชุมสุดยอดแห่งอนาคตคือระหว่างวันที่ 24-28 กันยายน ปัญหาการปฏิรูปของสหประชาชาติก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเช่นกัน ตามความเห็นของเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ อันโตนีโอ กูเตอร์เรส ความจำเป็นในการปฏิรูปสหประชาชาติ โดยเฉพาะจำนวนประเทศสมาชิกและกลไกการดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ถูกกำหนดไว้เป็นเวลาหลายปีแล้ว และไม่สามารถล้มเลิกได้

“หนึ่งในเนื้อหาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการประชุมสุดยอดแห่งอนาคตคือการยอมรับว่า กลไกของเราต้องได้รับการปฏิรูป และหนึ่งในกลไกที่ต้องปฏิรูปคือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ปัญหาที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับอนาคตคือบทบาทของ 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และความจำเป็นที่ต้องกระจายอำนาจอีกครั้ง”

นอกจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแล้ว หน่วยงานของสหประชาชาติอีกหน่วยงานหนึ่งที่จำเป็นต้องปฏิรูปอย่างกว้างขวางเพื่อเพิ่มอิทธิพลก็คือ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติหรือ ECOSOC นอกจากนี้ การอภิปรายเกี่ยวกับการปฏิรูปของสหประชาชาติยังกล่าวถึงการเพิ่มอำนาจให้แก่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นเวทีของทุกประเทศสมาชิก แต่ไม่มีอำนาจชี้ขาดต่อปัญหาสำคัญๆเกี่ยวกับสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ.

คำติชม