สหประชาชาติมุ่งสู่เป้าหมายปฏิรูปองค์กรและกำหนดอนาคตใหม่

Quang Dung
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 10 กันยายน สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้เปิดการประชุมครบองค์สมัยที่ 79 ครั้งแรก โดยมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปองค์กรและปฏิบัติภารกิจอย่างเข้มแข็งมากขึ้นเพื่อรับมือความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในด้านสันติภาพ ความมั่นคง สิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลระดับโลก
สหประชาชาติมุ่งสู่เป้าหมายปฏิรูปองค์กรและกำหนดอนาคตใหม่ - ảnh 1การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 79 (UN)

 

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือ UNGA สมัยที่ 78 ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ ในวันเดียวกัน ได้มีการเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 79 โดยมีประธานคนใหม่คือนาย Philemon Yang ชาวแคเมอรูน  

ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสหประชาชาติ

ในการกล่าวปราศรัยในพิธีปิดการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 78 นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ย้ำว่า ประชาคมระหว่างประเทศเพิ่งผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและการปะทะเกิดขึ้นในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลก และนี่ยังเป็นปีที่วุ่นวายที่สุดในโลกที่ไม่เคยมีมาก่อน การปะทะในฉนวนกาซาระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมเมื่อปีที่แล้วยังคงยืดเยื้อต่อไป ในขณะที่การปะทะในยูเครนกำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 3 นอกจากนี้ สงครามกลางเมืองในซูดาน การจลาจลในเฮติและความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลกทำให้ภาระในการธำรงสันติภาพและความมั่นคงของสหประชาชาติหนักหน่วงมากขึ้น นาย เดนนิส ฟรานซิส ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือ UNGA สมัยที่ 78 ได้เผยว่า ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะกล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดจากมนุษย์ทั่วโลกในปีที่ผ่านมานั้นเกินจินตนาการ ทำให้สหประชาชาติต้องปรับปรุงองค์กรเพื่อสามารถรับมือความท้าทายเหล่านี้ที่ซับซ้อนมากขึ้น

“สหประชาชาติได้รับการทดสอบผ่านสงคราม 2 ครั้งใหญ่ พร้อมคำมั่นอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะป้องกันไม่ให้คนรุ่นต่อๆไปตกเข้าสู่ภาวะสงคราม ดังนั้น สหประชาชาติจึงต้องก้าวรุดหน้าไปเพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุดและบรรลุภารกิจในการรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในสภาวการณ์ที่การปะทะบานปลายทั้งในยูเครนและเฮติไปจนถึงตะวันออกกลางและแอฟริกา”

เมื่อกล่าวถึงหัวข้อของการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยที่ 78 อีกครั้งว่า “การสร้างความไว้วางใจและการปลุกจิตใจแห่งความสามัคคีระดับโลก: การส่งเสริมการดำเนินการในระเบียบวาระการประชุมปี 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งสู่สันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้าและความยั่งยืนให้แก่ประชาชนทุกคน” นาย เดนนิส ฟรานซิส UNGA สมัยที่ 78 ได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ประสานงานกับสหประชาชาติเพื่อบรรลุภารกิจสูงสุดของสหประชาชาติคือรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อีกทั้ง รับมือความท้าทายด้านความมั่นคงแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมกันทางเทคโนโลยี และความเสี่ยงของปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้ง เตือนว่า ถ้าหากโลกยังคงเดินหน้าตามวิถีปัจจุบัน ผู้คนหลายล้านคนจะต้องเผชิญกับความยากจนภายในปี 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDG จะอยู่ห่างไกลมากขึ้น ส่วนเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ อันโตนีโอ กูเตอร์เรส ได้กล่าวถึงข้อกังวลนี้ว่า ประเทศต่างๆ ต้องมีความมุ่งมั่นร่วมกันในการรักษาและส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ทะเยอทะยานที่ได้รับการอนุมัติก่อนหน้านั้นในกรอบของสหประชาชาติ และย้ำว่า ในการประชุมฯสมัยที่ 78 ที่ผ่านมา สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้อนุมัติแถลงการณ์ทางการเมืองในการประชุมสุดยอด SDG เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า การบรรลุเป้าหมาย SDG ทั้งหมด 17 เป้าหมายนั้นเป็นผลประโยชน์ของทุกประเทศ และทุกประเทศต้องถือว่า นี่เป็นพื้นฐานเพื่อเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตกเข้าสู่ภาวะล่มสลาย

“สหประชาชาติและระบบพหุภาคีจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อประเทศสมาชิกมีคำมั่นร่วมกันเท่านั้น ความท้าทายที่มนุษยชาติกำลังต้องเผชิญนั้นจะสามารถฟันฝ่าได้ถ้าหากเราร่วมมือกัน”

สหประชาชาติมุ่งสู่เป้าหมายปฏิรูปองค์กรและกำหนดอนาคตใหม่ - ảnh 2เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ อันโตนีโอ กูเตอร์เรส กล่าปราศรัยต่อที่ประชุม (REUTERS)

ปฏิรูปองค์กรและมุ่งสู่อนาคต

ในวันสุดท้ายของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสัมยที่ 78 เมื่อวันที่ 10 กันยายน ได้มีการเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือ UNGA สมัยที่ 79 อย่างเป็นทางการ ตามความเห็นของบรรดาผู้นำสหประชาชาติ หน้าที่สำคัญที่สุด 2 ประเด็นของการประชุม UNGA สมัยที่ 79 คือการส่งเสริมการปฏิรูปสหประชาชาติอย่างเข้มแข็งและการกำหนดอนาคตของโลกผ่านการประชุมสุดยอดแห่งอนาคตซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 - 23 กันยายน ณ สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ ก่อนเริ่มสัปดาห์ผู้นำของ UNGA-79 ในวันที่ 24 กันยายน ในการประชุมสุดยอดแห่งอนาคต คาดว่า สหประชาชาติจะอนุมัติเอกสารสำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ สนธิสัญญาแห่งอนาคต สนธิสัญญาความร่วมมือด้านดิจิทัลระดับโลกและแถลงการณ์เกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ นาย กาย ไรเดอร์ รองเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติที่ดูแลนโยบายได้เผยว่า

“แนวคิดของการประชุมสุดยอดแห่งอนาคตคือการทำให้สหประชาชาติเป็นระบบพหุภาคีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งช่วยให้สหประชาชาติมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีความเชื่อมโยงที่ดีขึ้น สิ่งนี้มาจากความท้าทายระดับโลกที่เรากำลังต้องเผชิญ และในทางเป็นจริง โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และปัญหาต่างๆในโครงสร้างธรรมาภิบาลในปัจจุบันเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่สหประชาชาติเพิ่งได้รับการก่อตั้ง”

สำหรับการปฏิรูปสหประชาชาติ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงจำนวนประเทศสมาชิกและกลไกการลงคะแนนในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงที่สุดของสหประชาชาติ โดยมี 5 ประเทศสมาชิกถาวร ได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียและจีน ที่มีสิทธิยับยั้ง ก่อนการประชุม UNGA-79 หลายประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและผู้นำสหประชาชาติ รวมทั้งเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้เพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงระเบียบโลกที่ถูกต้องในปัจจุบัน อีกทั้งมอบอำนาจให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในกลไกการตัดสินใจของสหประชาชาติ โดยเฉพาะการจัดสรรที่นั่งถาวรให้แก่แอฟริกาในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในวันที่ 13 กันยายน สหรัฐได้เผยว่า สนับสนุนข้อเสนอนี้ นาง ลินดา โธมัส-กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติได้ประกาศว่า

“นอกจากการสนับสนุนการเพิ่มประเทศสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้แก่แอฟริกาแล้ว สหรัฐยังสนับสนุนการเพิ่มประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงให้แก่ 2 ประเทศแอฟริกา นี่คือสิ่งที่หุ้นส่วนแอฟริกาของเรากำลังขอ และเราเชื่อมั่นว่า นี่คือสิ่งที่ถูกต้อง”

นอกจากแอฟริกาแล้ว ประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น บราซิลและเยอรมนีก็ได้รับการสนับสนุนให้เป็นประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แม้อาจจะตามหลังแอฟริกาในลำดับรายชื่อที่ได้รับการเสนอ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงกลไกการลงคะแนนในคณะมนตรีความมั่นคงเพื่อจำกัดอำนาจการลงคะแนนยับยั้งนั้น คาดว่าจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากถูกคัดค้านจากประเทศสมาชิกถาวรบางประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ.

คำติชม