ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “เวียดนาม: 30 วันในไซ่ง่อน” |
“เวียดนาม: 30 วันในไซ่ง่อน” เป็นภาพยนตร์สีผลิตเมื่อปี 1975 มีความยาว 60 นาที 44 วินาที ซึ่งกำลังถูกเก็บรักษาไว้ที่สถาบันภาพยนตร์แห่งชาติฝรั่งเศส เป็นภาพยนตร์ที่บันทึกบรรยากาศในช่วงสุดท้ายของสงครามในภาคใต้เวียดนามและภาพเมืองไซ่ง่อนในวันแรกๆหลังการปลดปล่อย นายหว่างเจื่อง รองอธิบดีหอจดหมายเหตุแห่งชาติเผยว่า “อาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่ปี 1975 มาจนถึงปัจจุบัน เรามีภาพยนตร์สารคดีและเอกสารจำนวนมาก รวมไปถึงภาพถ่ายของสื่อมวลชนที่ได้รับใบอนุญาตให้สามารถปฏิบัติงานในไซ่ง่อนและภาคใต้เวียดนามช่วงก่อนและหลังปี 1975 แต่เวียดนามไม่มีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์สารคดี ภาพถ่ายและเอกสารเหล่านี้ ซึ่งหมายความว่า เรายังไม่มีภาพยนตร์สารคดีที่สมบูรณ์เกี่ยวกับบรรยากาศของประเทศและภาคใต้ช่วงปี 1975 ที่ถ่ายทำโดยผู้กำกับชาวต่างชาติ ดังนั้น ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้มีคุณค่าและมีความหมายถึงปัจจุบัน”
ภาพยนตร์นี้ไม่เพียงแต่บันทึกกระบวนการเคลื่อนทัพเข้าเมืองไซ่ง่อนของกองทัพเวียดนามเท่านั้น หากยังสามารถบันทึกวินาทีประวัติศาสตร์ ณ ทำเนียบเอกภาพ กระแสผู้อพยพล้อมรอบสถานทูตสหรัฐหรือการผลักรูปปั้นนักรบนาวิกโยธินสาธารณรัฐเวียดนามให้ล้ม โดยเฉพาะบรรยากาศช่วงใกล้วันที่ 30 เมษายน ซึ่งเขาได้เน้นติดตามเจาะลึกในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนและความคาดหวังเกี่ยวกับสันติภาพและการเปลี่ยนแปลงใหม่จากเอกราช ส่วนฉากที่นักเรียนและนักศึกษาในนครไซ่ง่อนที่ชักชวนกันไปเก็บขยะและทำความสะอาดถนนหนทางต่างๆ ให้การช่วยเหลือชาวนครปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้เป็นปกติถือเป็นภาพที่มีความหมายเป็นอย่างมาก
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “เวียดนาม: 30 วันในไซ่ง่อน” ได้สะท้อนมุมมองใหม่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 30 เมษายนปี 1975 ด้วยคำบรรยายของผู้ที่อยู่นอกสงครามแต่ยังคงสะท้อนความเป็นมนุษยเมื่อกองทัพเวียดนามครอบครองเมืองไซง่อนผ่านภาพแววตาและรอยยิ้มแห่งความยินดีของชาวไซ่ง่อน นางเหงียนถิห่า ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหอจดหมายเหตุกล่าวว่า ภาพที่มีชีวิตชีวาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นจริงในภาพยนตร์สารคดีนี้ได้ช่วยให้ผู้ชมที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เกิดและโตในยุคสันติภาพสามารถเข้าถึงหลายมุมมองของชาวต่างชาติเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เวียดนาม “เป็นโอกาสที่ดีให้พวกเราสามารถรับรู้มุมมองจากเพื่อนๆชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ภายนอกสงครามเวียดนามได้สะท้อนความจริงในเวียดนามในช่วงนั้น ยกตัวอย่างเช่น ในฉากที่เยาวชนไซ่ง่อนรณรงค์กันไปเก็บกวาดขยะเขาก็อยากสื่อให้ผู้ชมเข้าใจความหมายว่า กวาดสิ่งที่ไม่ดีไปให้หมด”
พร้อมกับภาพยนตร์สารคดีเรื่องอื่นๆ เช่น “เดือนพฤษภาคม – ใบหน้าต่างๆ” “ไซ่ง่อนเดือนพฤษภาคมปี 1975” และ “นครไซ่ง่อนยามรุ่งอรุณ” ของผู้กำกับเวียดนาม ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “เวียดนาม: 30 วันในไซ่ง่อน” ของผู้กำกับและนักข่าว Jean Pierre Moscardo จะช่วยให้เยาวชนในวันนี้รับรู้ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้อย่างวีระกล้าหาญของกองทัพและประชาชนเวียดนามเพื่อเอกราชของประชาชาติดั่งทุกวันนี้.