ถาดอาหารส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของชาวฮานอย

Chia sẻ
          ตามประเพณีของชาวเวียดนาม ความหมายของการจัดถาดอาหารในวันตรุษเต๊ตนั้นก็เพื่อบูชาบรรพชนและให้คนใน ครอบครัวมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันเพื่อรับประทานอาหารฉลองปีใหม่ ดังนั้นถาดอาหารมื้อค่ำวันที่30เดือน12ตามจันทรคติถือว่ามีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ

            ตามประเพณีของชาวเวียดนาม ความหมายของการจัดถาดอาหารในวันตรุษเต๊ตนั้นก็เพื่อบูชาบรรพชนและให้คนในครอบครัวมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันเพื่อรับประทานอาหารฉลองปีใหม่ ดังนั้นถาดอาหารมื้อค่ำวันที่30เดือน12ตามจันทรคติถือว่ามีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ โดยเฉพาะสำหรับชาวฮานอยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีความพิถีพิถัน  การจัดถาดอาหารวันตรุษเต๊ตก็เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวฮานอยได้อย่างเด่นชัด

ถาดอาหารส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของชาวฮานอย - ảnh 1
อาหารวันตรุษเต๊ต

            ถาดอาหารวันตรุษเต๊ตของคนฮานอยนั้นไม่เพียงแต่ต้องมีความหลากหลาย และมีรสชาดอร่อยเท่านั้น หากยังต้องมีการจัดวางให้ดูสวยงามน่ารับประทานเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเคารพต่อบรรพชน และเป็นการแสดงฝีมือของสตรีในบ้านเพื่อให้การชุมนุมของครอบครัวมีความสนุกสนานและสมบูรณ์ นางห่าแทง อาศัยที่ย่านโบราณ36สายของฮานอยเผยว่า การเตรียมเรื่องอาหารการกินในวันตรุษเต๊ตต้องเตรียมไว้ก่อนเป็นเดือน อย่างเช่นพวกหน่อไม้แห้ง เพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน ก่อนนำไปต้มก็ต้องแช่ให้นิ่มสัก1สัปดาห์แล้วล้างให้สะอาดรวมทั้งยังต้องลวกอีกหลายรอบ ถึงจะนำไปปรุงอาหารได้ ดังนั้นต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อสามารถหาซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีได้.

            สำหรับครอบครัวชาวฮานอยที่อยู่ร่วมกันหลายรุ่นนั้น การเตรียมซื้อวัตถุดิบและการจัดทำถาดอาหารวันตรุษเต๊ตไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ เป็นความภูมิใจของสตรีในบ้านเท่านั้น หากยังถือเป็นช่วงเวลาที่มีความหมายที่สุดของปีเพราะทั้งครอบครัวจะได้อยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้าและเป็นโอกาสถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ลูกหลานในการปรุงอาหารและจัดถาดอาหารปีใหม่ให้แก่ลูกหลาน นาง ฝามห่งเลียน อาศัยอยู่ที่ถนน บ่าเจี๋ยว กรุงฮานอย เผยว่า ตรุษเต๊ตเป็นโอกาสให้เธอได้สอนลูกหลานเกี่ยวกับประเพณีต่างๆเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่รู้จักและสืบสานกันต่อไป ดิฉันเป็นลูกสาวคนโตดังนั้นต้องรับผิดชอบงานทุกอย่าง เมื่อตอนอายุเพียง16-17ก็ต้องไปจ่ายตลาดกับแม่แล้วซึ่งดิฉันก็ได้เรียนรู้หลายอย่างจากท่าน เช่นจะเลือกเนื้อสามชั้นอย่างไรถึงจะอร่อย หมูที่ใช้ในการห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่ต้องเป็นอย่างไร หรือปลาต้มเค็มต้องใช้ปลาเฉาดำ เป็นต้น.

ถาดอาหารส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของชาวฮานอย - ảnh 2

ข้าวเหนียวนึ่งฟักข้าว

            ในสมัยก่อนถาดอาหารของคนฮานอยหรือชาวภาคเหนือนั้นต้องเป็นอาหารพิเศษไม่ใช่อาหารธรรมดาทั่วไป เครื่องเทศต้องมีความหลากหลายและการตกแต่งก็ต้องมีสีสันสวยงามน่ารับประทาน จนถึงปัจจุบันนี้ ประเพณีในการจัดถาดอาหารของชาวฮานอยก็ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก นาง ตะแอ๊งเตวียด กูรูอาหารของฮานอยเผยว่า ถ้าพูดถึงถาดอาหารวันตรุษเต๊ตของคนฮานอยนั้นก่อนอื่นต้องเป็นอาหารแบบพิเศษไม่เหมือนอาหารที่เราทานกันทุกวัน ส่วนวัตถุดิบก็ต้องเป็นของที่เราปลูกหรือเลี้ยงเอง เช่น เนื้อหมูทำเป็นหมูยอ หัวหอมดอง หน่อไม้แห้งต้มขาหมู เป็นต้น ซึ่งต่างก็เป็นอาหารที่ไม่อาจขาดได้ในช่วงปีใหม่.

ถาดอาหารส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของชาวฮานอย - ảnh 3
อาหารวันตรุษเต๊ตของชาวฮานอยในสมัยก่อน 

            การจัดถาดอาหารวันตรุษเต๊ตนั้นอย่างน้อยต้องมีครบ 10อย่างคือ แกงผักรวมมิตพร้อมหนังหมูพอง วุ้นเส้นต้มเนื้อไก่ แกงหน่อไม้ขาหมู ข้าวเหนียวนึ่ง ไก่ลวก แกงหมูกระด้าง ผัดผักรวมมิตร หมูยอ ปลาต้มเค็ม ยำมะละกอ ข้าวต้มมัดใหญ่และหัวหอมดอง  โดยอาหารแต่ละอย่างต้องมีสีสันเพื่อช่วยให้ถาดอาหารดูสวยงามเช่น ข้าวเหนียวนึ่งฟักข้าวจะทำให้ข้าวเหนียวมีสีแดง  ส่วนอาหารจำพวกต้มผัดต้องโรยหน้าด้วยต้นหอมและผักชี เป็นต้น ซึ่งการแต่งหน้าอาหารแต่ละอย่างก็ต้องทำอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ดูน่าทานและมีความสมบูรณ์ โดยการเตรียมถาดอาหารได้อย่างสวยงามมากน้อยแค่ไหนก็จะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่อิ่มหนำผาสุขของแต่ละครอบครัว ด้วยความปรารถนาให้ปีใหม่ที่กำลังมาถึงนั้นจะมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น  เมื่อถึงวินาทีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ผู้สูงอายุในบ้านจะเป็นผู้จุดธูปบนหิ้งบูชาบรรพบุรุษขอพรให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีนความสุขหลังจากที่ต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งปี  หวนคิดถึงความทรงจำอันดีงามในอดีตเพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นต่ออนาคตในชีวิตที่จะมีแต่ความก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อสืบสานเกียรติประวัติวัฒนธรรมและประเพณีของชาติให้คงอยู่ตลอดกาล./.

คำติชม