หมู่บ้านศิลปาชีพKiêu Kỵ

Chia sẻ

(VOVworld) – หมู่บ้านKiêu Kỵ ในอำเภอ Gia Lâm กรุงฮานอยเป็นหมู่บ้านแห่งเดียวในเวียดนามที่ทำทองเปลวและเงินเปลวซึ่งผลิตภัณฑ์ของที่นี่ได้ถูกนำไปใช้ตกแต่งโบราณสถานทางประวัติศาสตร์  ศาลาประจำหมู่บ้านหรือวัดวิหารศาลเจ้าต่างๆ

หมู่บ้านศิลปาชีพKiêu Kỵ - ảnh 1
ผลิตภัณฑ์ที่ลงรักปิดทองของหมู่บ้านKiêu Kỵ (Photo:In ternet )

(VOVworld) – บนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน ผู้ที่เดินทางมาเยือนจะได้ยินเสียงตีทองเปลวและเงินเปลวจากบ้านหลายชั้นและจะพบเห็นคนแก่หรือเด็กช่วยกันทำงานอย่างขมักเขม้น ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าว่า ชาวบ้านเริ่มทำทองเปลวและเงินเปลวเมื่อเกือบ๓๐๐ปีก่อนซึ่งในตอนนั้นนายNguyễn Quí Trị ชาวจังหวัดHải Dươngได้เป็นจอหงวนและเป็นขุนนางในสมัยกษัตริย์Lê Hiển Tôngในช่วงปี๑๗๔๐ถึงปี๑๗๘๖และได้ถูกส่งไปเป็นทูตประจำที่ประเทศจีนจึงได้เรียนอาชีพทำทองเปลว เงินเปลวและลงชาดฉาบทองและเมื่อกลับประเทศ  เขาก็ได้ถ่ายทอดวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาให้แก่ชาวบ้านและอาชีพนี้ก็ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านนับวันยิ่งดีขึ้น ชาวบ้านจึงได้สร้างศาลาประจำหมู่บ้านไว้เพื่อบูชาและยกย่องนายNguyễn Quí Trị ให้เป็นเทพเจ้าประจำหมู่บ้านพร้อมทั้งจัดเทศกาลหมู่บ้านในวันที่๗เดือน๘จันทรคติ จนถึงปัจุบันที่ศาลาประจำหมู่บ้านยังคงมีรูปปั้นนายNguyễn Quí Trị ที่ลงชาดชาบทองอยู่ นายLê Văn Vòng ผู้สูงอายุในหมู่บ้านกล่าวว่า “ชาวบ้านสำนึกในบุญคุณต่อผู้สร้างอาชีพNguyễn Quí Trị  และพยายามอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพนี้จนถึงปัจจุบัน” ในสมัยสงคราม อาชีพทำทองเปลวและเงินเปลวถูกหลงลืม แต่เมื่อประเทศมีสันติภาพ ชาวบ้านKiêu Kỵ จึงฟื้นฟูอาชีพนี้ซึ่งในตอนแรกมีไม่กี่ครอบครัวประกอบอาชีพนี้แต่จนถึงปัจจุบันมีครอบครัวที่ประกอบอาชีพนี้กว่า๓๐ครอบครัวรวมช่างเกือบ๒๐๐คน อาชีพดั้งเดิมได้ทำให้คุณภาพชีวิตของหลายครอบครัวดีขึ้นและในปัจจุบันบ้านพักของช่างศิลป์Lê Văn Vòngเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับนักท่อง เที่ยวที่มีความประสงค์จะศึกษาอาชีพนี้ เขาเป็น๑ในช่าง๒คนที่ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นช่างศิลป์จากรัฐ เมื่อปี๒๐๐๔ เขากล่าวว่า“ครอบครัวผมประกอบอาชีพนี้มาหลายรุ่นแล้ว ปัจจุบันผมกำลังถ่ายทอดวิธีการทำทองเปลวและเงินเปลวให้แก่หลานซึ่งมีขั้นตอนที่มากถึง๔๐ขั้นตอน และต้องทำด้วยมือดังนั้นผู้ที่ทำจึงต้องมีความอดทนและขยันหมั่นเพียรเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามปราณีต ”  วิธีการทำทองเปลว และเงินเปลวคร่าวๆก็เริ่มต้นจากการนำทองแผ่นและเงินแผ่นขนาด๔เหลี่ยมเล็กมาวางไว้ในกระดาษแล้วใช้ฆ้อนไม้ตีให้บางที่สุดซึ่งช่างฝีมือดีสามารถตีทองคำ๑บาทให้กลาย เป็นทองเปลว๑พันแผ่นหรือมีขนาดเท่ากับ๑ตารางเมตรซึ่งถ้าใช้เครื่องมือที่ทันสมัยก็ยากที่จะทำได้เช่นนี้โดยทองเปลวและเงินเปลวสามารถนำไปติดบนคำกลอนคู่ รูปปั้น ภาพแกะสลักนูน ภาพลงรักขัดเงาหรือแจกันเซรามิก เป็นต้น ชาวบ้านKiêu Kỵ มักนำผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านเข้าร่วมนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศ นายNguyễn Xuân Bách มัคคุเทศคนหนึ่งกล่าวว่า “ผมมักพานักท่องเที่ยวมาเยือนหมู่บ้านศิลปาชีพแห่งนี้ดังนั้นผมจึงศึกษาประวัติและขั้นตอนทำทองเปลวและเงินเปลวเพื่อแนะนำให้กับนักท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจหมู่บ้านศิลปาชีพต่างงๆของเวียดนามมากขึ้น”  นายLê Tảoนักท่องเที่ยวคนหนึ่งกล่าวว่า “กรุงฮานอยเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้านศิลปาชีพที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศโดยเฉพาะ หมู่บ้านKiêu Kỵ เป็นหมู่บ้านแห่งเดียวในเวียดนามที่ทำทองเปลวและเงินเปลวและมีช่างสาธิตวิธีการทำให้ดูซึ่งช่วยให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าใจเอกลักษณ์เฉพาะ ของหมู่บ้านศิลปาชีพแห่งนี้ของเวียดนาม”  หมู่บ้านศิลปาชีพแกะสลักรูปปั้น คำกลอนคู่ และเครื่องลงรักขัดเงาล้วนแต่เป็นลูกค้าของหมู่บ้านKiêu Kỵ หรือแม้กระทั่งสิ่งปลูกสร้างใหญ่ๆเช่นโอเปราเฮ๊าส์ฮานอย พิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์  หอเก็บศพประธานโฮจิมินห์ โรงแรมใหญ่ๆทั่วประเทศ มรดกวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่ได้รับการรับรองจากองค์การUNESCO เช่น กรุงเก่าเว้ เมืองเก่าHội An และเขตVăn Miếu Quốc Tử Giám เป็นต้น ต่างก็ใช้ทองเปลวและเงินเปลวของหมู่บ้านแห่งนี้ในการตบแต่งภายในเช่นกัน ./.

                                                                                                                                     Tô TuấnVOV

คำติชม