(VOVworld) – ท่านผู้ฟังที่เคารพ นับตั้งแต่นาทีแห่งประวัติศาสตร์เมื่อกว่า๑๐๐ปีก่อนที่ประธานโฮจิมินห์เดินทางออกจากท่าเรือหญ่าโหร่งบนแม่น้ำไซ่ง่อน นครโฮจิมินห์ไปต่างประเทศเพื่อแสวงหาหนทางกู้ชาติปัจจุบัน ท่าเรือหญ่าโหร่งได้กลายเป็นสถานที่ที่ลูกหลานเวียดนามมาศึกษาเพื่อทะนุถนอมคุณค่าของความรักชาติและจิตใจต่อสู้แห่งการปฏิวัติที่ทรหดอดทนของประธานโฮจิมินห์ ในโอกาสรำลึกครบรอบ๖๘ปีวันชาติเวียดนาม๒กันยายน ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำบทความเรื่อง ท่าเรือหญ่าโหร่ง – อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์
|
ท่าเรือหญ่าโหร่ง(Photo:radiovietnam) |
ปัจจุบัน ท่าเรือหญ่าโหร่งอยู่ในเขต๔ นครโฮจิมินห์ เมื่อปี๑๘๖๓ ชาวฝรั่งเศสได้ก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้เพื่อใช้เป็นสำนักงานของบริษัทเรือเดินทะเลนัมซาวหรือ๕ดาว ในขณะที่ประชาชนเวียดนามกำลังต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเนื่องจากต้องเป็นทาสที่ถูกกดขี่ขูดรีด จากท่าเรือแห่งนี้ หนุ่มเหงวียนเติ๊ตแถ่ง คือท่านเหงวียนอ๊ายก๊วกหรือประธานโฮจิมินห์ได้ลงรือAmiral Latouche Trevilleของฝรั่งเศส เริ่มการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อแสวงหาหนทางกู้ชาตินำเอกราชและเสรีภาพมาให้แก่ประชาชาติ เพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณต่อประธานโฮจิมินห์และตอบสนองความต้องการทัศนะศึกษาของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ เมื่อปี๑๙๗๙ ท่าเรือหญ่าโหร่งจึงกลายเป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของวัตถุเกี่ยวกับชีวิตการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประธานโฮจิมินห์ มาปี๑๙๙๕ อนุสรณ์สถานแแห่งนี้ได้รับการก่อสร้างบนพื้นที่ขนาดใหญ่โตและเปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์สาขานครโฮจิมินห์โดยจัดแสดงสิ่งของวัตถุเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ในหัวข้อ“น้ำใจไมตรีของประธานโฮจิมินห์ต่อภาคใต้และน้ำใจไมตรีของประชาชนภาคใต้ต่อประธานโฮจิมินห์” ปัจจุบัน เอกสาร ภาพถ่ายและสิ่งของวัตถุเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ที่จัดแสดงอยู่มีเกือบ๒หมื่นชิ้นซึ่งนอกจากหน้าที่วิจัย รวบรวม จัดแสดง ประชาสัมพันธ์และให้การศึกษาเกี่ยวกับชีวิตและภารกิจของลุงโฮแล้ว ในหลายปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พนักงานของพิพิธภัณฑ์ยังเน้นรวบรวมสิ่งของวัตถุและเรื่องราวเกี่ยวกับลุงโฮในหัวข้อ“น้ำใจไมตรีของประธานโฮจิมินห์ต่อภาคใต้และน้ำใจไมตรีของประชาชนภาคใต้ต่อประธานโฮจิมินห์”และ“เส้นทางไปต่างประเทศเพื่อแสวงหาหนทางกู้ชาติของลุงโฮ” เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่พิพิธภัณฑ์ คุณเหงวียนถิ่กิมเลียน หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์และให้การศึกษาพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์สาขานครโฮจิมินห์เผยว่า“ทุกวันดิฉันและสมาชิกทุกคนในแผนกต้องอ่านหนังสือ ศึกษาเอกสาร โดยเฉพาะ การ วิจัยตามหัวข้อต่างๆเพื่อหาวิธีการแนะนำให้สอดคล้องกับแต่ละเป้าหมาย เช่น สำหรับนักศึกษาพวกเราจะแนะนำเช่นไร สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะแนะนำเช่นไร ซึ่งตามนั้น ดิฉันจะใช้เรื่องราวและสิ่งของวัตถุเช่นไรเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าใจชีวิตและภารกิจของประธานโฮจิมินห์”
|
ท่าเรือหญ่าโหร่ง–พิพิธภัณฑ์โฮจิมินฟ์สาขานครโฮจิมินห์ (Photo: Wikipedia) |
นอกจากความหมายทางประวัติศาสตร์แล้ว สิ่งของวัตถุแต่ละชิ้นที่ได้รับการจัดแสดง ณ พิพิธภัณ์ยังเป็นการแสดงน้ำใจไมตรีและความเคารพรักของชาวภาคใต้ต่อประธานโฮจิมินห์ เช่น เสื้อเฉินถู่ซึ่งเป็นเสื้อกันหนาวสำหรับทหารที่ประธานโฮจิมินห์ได้มอบให้แก่ทหารพิการพิเศษโลท้งเญิ๊ตซึ่งเป็นอดีตทหารหน่วยรบพิเศษกองทัพภาคที่๙ เข้มระลึกโฮจิมินห์ที่ท่านมอบให้แก่ตัวอย่างดีเด่น หิ้งบูชาประธานโฮจิมินห์และเครื่องมือทำถาดอาหารเซ่นไหว้ลุงโฮทุกปีของครอบครัวชาวภาคใต้คนหนึ่ง ผ้าพันแขนไว้ทุกข์สีดำของบรรดานักรบในเรือนจำกงดอและจี๊หว่าเพื่อเป็นการไว้ทุกข์แก่ประธานโฮจิมินห์ตอนถึงแก่อสัญกรรม ปากกาแกะสลักลายมือของประธานโฮจิมินห์ที่มอบให้แก่นายเลมินห์ดึ๊ก เจ้าหน้าที่ภาคใต้ที่ดินทางไปยังภาคเหนือ เป็นต้น ซึ่งสิ่งของวัตถุเหล่านี้พร้อมกับเรื่องเล่าของเจ้าหน้าที่บรรยายของพิพิธภัณฑ์ได้ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าใจภารกิจการเคลื่อนไหวปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ของประธานโฮจิมินห์มากขึ้น คุณเหงวียนมินห์เถี่ยน นักศึกษาปีที่๒ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์กล่าวว่า“ การมาชมพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ช่วยให้ผมเข้าใจชีวิตการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประธานโฮจิมินห์และผลงานเขียนของท่านที่มีความหมายต่อนักเรียนและนักศึกษาเป็นอย่างยิ่งอีกทั้งช่วยให้พวกเราศึกษาตามตัวอย่างของท่านที่มีความกระตือรือร้น อุทิศและ พยายามตลอดชีวิตเพื่ออนาคตที่สดใสของประเทศ” จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมและศึกษาเอกสารและสิ่งของวัตถุเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นโดยเมื่อปี๒๐๑๒ ท่าเรือหญ่าโหร่งและพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ๓แสน๕หมื่นคนและใน๗เดือนที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม๒แสน๕หมื่นคน เมื่อเร็วๆนี้ พิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์สาขานครโฮจิมินห์ได้รับการซ่อมแซม และยกระดับให้ทันสมัยโดยใช้เงินทุน๔หมื่น๗พันล้านด่งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่มาทัศนะศึกษา วิจัย และศึกษาแนวความคิด แบบอย่างคุณธรรมของประธานโฮจิมินห์ ดร.เหงวียนถิ่ฮวาซิง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เผยว่า“พิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์สาขานครโฮจิมินห์ได้ถูกจัดอยู่ในรายชื่อ๑๐สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวในการโหวต “นครโฮจิมินห์– ๑๐๐สิ่งที่ดีที่สุด ” นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ปีก่อนๆพื้นที่จัดแสดงไม่มาก การซ่อมแซมและยกระดับพิพิธภัณฑ์ได้มีส่วนร่วมบริการผู้มาเยี่ยมชมดีขึ้น”
|
จุดธูปไหว้ประธานโฮจิมินห์ภายในพิพิธภัณฑ์โฮจิมินฟ์สาขานครโฮจิมินห์(Photo:Dongnai) |
ในตลอดกว่า๑๐๐ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่วันที่ประธานโฮจิมินห์ออกเดินทางไปต่าง ประเทศเพื่อแสวงหาหนทางกู้ชาติ ท่าเรือหญ่าโหร่งได้มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ไซ่ง่อนในอดีตได้เปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์และกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจใหญ่ที่มีความคล่องตัวและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของประเทศ จากคุณค่าที่ผนึกแน่นกันชีวิตการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประธานโฮจิมินห์ ท่าเรือหญ่าโหร่งและพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของนครโฮจิมินห์และเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนทั่วประเทศ./.