เสียงฆ้องก้องกังวาลต้อนรับวสันต์ฤดู

Công Bắc-Bùi Hằng
Chia sẻ
(VOVworld) –   สำหรับพี่น้องชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน แต่ไหนแต่ไรมา ตั้งแต่ปลายฤดูหนาวถึงต้นวสันต์ฤดูถือเป็นช่วงเวลาแห่งเทศกาลที่มีความสุขสนุกสนานท่ามกลางเสียงฆ้องดังกังวาลไปทั่วทุกหมู่บ้านช่วยเชื่อมโยงมนุษย์กับดินฟ้า บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเป็นส่วนสำคัญในมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ดังนั้น การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องเพื่อให้เสียงฆ้องดังก้องกังวาลตลอดไปจึงมีความหมายสำคัญต่อหมู่บ้านหลายแห่งในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน


(VOVworld) –   สำหรับพี่น้องชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน แต่ไหนแต่ไรมา ตั้งแต่ปลายฤดูหนาวถึงต้นวสันต์ฤดูถือเป็นช่วงเวลาแห่งเทศกาลที่มีความสุขสนุกสนานท่ามกลางเสียงฆ้องดังกังวาลไปทั่วทุกหมู่บ้านช่วยเชื่อมโยงมนุษย์กับดินฟ้า บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเป็นส่วนสำคัญในมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ดังนั้น การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องเพื่อให้เสียงฆ้องดังก้องกังวาลตลอดไปจึงมีความหมายสำคัญต่อหมู่บ้านหลายแห่งในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน

เสียงฆ้องก้องกังวาลต้อนรับวสันต์ฤดู - ảnh 1
เสียงฆ้องก้องกังวาลต้อนรับวสันต์ฤดู(Photo: VOV)

จากฝีมือของนักแสดงอาวุโสและเยาวชนที่มีอายุเกือบ๒๐ปีที่หมู่บ้านยังและบรรดาหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายในตำบลIaO เสียงฆ้องได้ดังก้องกังวาลดุจเสียงธารน้ำไหลหรือเสียงสายฝนที่สาดชัดลงมาจากฟากฟ้าและความปลื้มปิติยินดีของชาวบ้านต้อนรับปีใหม่ เสียงฆ้องทำให้รู้สึกอบอุ่นและบรรยากาศในเขตชายแดนที่ห่างไกลมีความคึกคักขึ้นมา พ่อเฒ่าRơ Mah Yơh อายุ๗๘ปีกำลังนั่งดื่มเหล้าอุข้างเสาตุงในใจกลางบ้านรงของหมู่บ้านกล่าวว่า ฆ้องมีความผูกพันกับชาวบ้านมาหลายชั่วอายุคน ในวันสำคัญและวันเทศกาลต่างมีการตีฆ้องและดื่มหล้าอุเพื่อให้ชาวบ้านทุกคนกระเถิบเข้าใกล้กัน มีความผูกพันและสามัคคีกัน พ่อเฒ่าRơ Mah Yơh เผยว่า“ชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายมีฆ้องนานมาแล้ว และมักตีฆ้องในพิธีกรรม วันสำคัญ เทศกาลหรือต้อนรับปีใหม่ เช่น ในวันฉลองเทศกาลตรุษเต๊ตจะตีฆ้องอย่างสนุกคึกคัก ส่วนเสียงฆ้องในงานศพจะเศร้ามาก พวกเรายังตีฆ้องในวันฉลองชัยชนะ ซึ่งเป็นความสุข ความภาคภูมิใจของชาวบ้านและก็เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่ายาราย”

พ่อเฒ่าRơ Mah Yơh เผยต่อไปว่า ชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายในตำบลIaO มีความหวงแหนฆ้องมาก ตั้งแต่โบราณกาล ทุกครอบครัวต่างมีฆ้อง ครอบครัวใดที่มีฆ้องมากแสดงให้เห็นว่า ครอบครัวนั้นร่ำรวย ถ้าครอบครัวใดไม่มีฆ้องจะรู้สึกอับอายชาวบ้าน ปัจจุบัน  ที่บ้านของพ่อเฒ่าRơ Mah Yơh มีฆ้อง๒ชุด โดยเป็นฆ้องฮวัน๑ชุดที่มี๑๑ลูก และฆ้องป๊าต๑ชุดที่มีลูกเดียวซึ่งเป็นฆ้องที่มีค่าและหายากที่พ่อเฒ่าRơ Mah Yơh ได้ซื้อมาด้วยจำนวนเงิน๑๖๐ล้านด่งจากชนกลุ่มน้อยเผ่าม้งที่จังหวัดแทงฮว้าเมื่อ๖ปีก่อน สมัยก่อน ฆ้องป๊าต๑ลูกสามารถแลกโคได้๓๐ตัว พ่อเฒ่าRơ Mah Yơh รู้สึกมีความภาคภูมิใจเพราะผ่านความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยทางประวัติศาสตร์แต่ชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายหลายรุ่นยังคงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ฆ้อง โดยเฉพาะ ฆ้องโบราณที่มีค่าและหายาก “ ในสมัยสงคราม เมื่อหลบหนีศัตรู บ้านเรือน ทรัพย์สิน ไก่หมู โคกระบืออาจทิ้งไว้แต่ฆ้อง โดยเฉพาะ ฆ้องป๊าตและฆ้องปอมที่มีค่าและหายากเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องนำไปติดตัวเพราะ เมื่อศัตรูเข้าบ้านจะเผาทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งฆ้อง ในตอนนั้น หลายครอบครัวซ่อนฆ้องในหลุมหลบภัย แต่ศัตรูเห็นก็เผาทำลาย เสียดายมาก เมื่อกลับบ้านเห็นฆ้องถูกเผาทำลายก็อยากร้องไห้ ฆ้องเป็นสมบัติที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ ดังนั้นพวกเราต้องอนุรักษ์สืบต่อให้ลูกหลาน”

ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายในตำบลIaO ยังคงหวงแหนฆ้องเปรียบเหมือนสมบัติอันล้ำค่า เช่น ครอบครัวนายRơ Mah Hyiu เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายรุ่นใหม่ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้อนุรักษ์ฆ้องซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ บ้านของนายRơ Mah Hyiu ไม่โอ่โถงแต่ยังคงถือว่าเป็นครอบครัวที่ร่ำรวยเพราะมีฆ้อง๗ชุด รวมทั้งฆ้องป๊าต๒ชุด เขาเองตระหนักได้ดีว่า ฆ้องที่เขากำลังอนุรักษ์เป็นสมบัติอันล้ำค่า“เมื่อก่อนนี้ ปู่ย่าตายายต้องพยายามอนุรักษ์ฆ้องเพื่อมอบให้แก่ชนรุ่นเราเพราะนี่เป็นสมบัติของตระกูล ดังนั้นครอบครัวผมต้องพยายามอนุรักษ์ หลายคนมาถามซื้อและพร้อมที่จะจ่ายเงินนับร้อยล้านด่งแต่ผมไม่ยอมขาย ต้องอนุรักษ์ให้บุตรหลาน อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่ายาราย ชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายมีฆ้องคือมีความร่ำรวย ต้องมีฆ้องเพื่อฉลองเทศกาลตรุษเต๊ตและเทศกาลอื่นๆ ”

นายKsor Khiếu ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลIaO กล่าวว่า หมู่บ้านชนกลุ่มน้อยเผ่ายารายทุกแห่ง แม้จะไม่มีกาแฟ พริกไทย ยางพารา หรือโคกระบือมากกว่าหมู่บ้านอื่นๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนตอนเหนือแต่ยังคงถูกถือว่าร่ำรวยที่สุดเพราะชาวบ้านยังคงอนุรักษ์ฆ้องโบราณที่มีค่าและหายากและเอกลักษณ์วัฒนธรรมอื่นๆได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบัน ที่หมู่บ้านชนกลุ่มน้อยเผ่ายาราย๙แห่งในตำบลIaO มีฆ้องโบราณเกือบ๖๐๐ชุด  และในตำบลไม่มีการขายฆ้อง ชาวบ้านยังหาซื้อฆ้องจากที่อื่นๆมาเก็บรักษาด้วยซึ่งเป็นผลสำเร็จที่มาจากนโยบายที่พรรคและรัฐให้ความสนใจต่อการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมือง

แต่ไหนแต่ไรมา เสียงฆ้องได้ดังกังวาลทั้งในยามสุขและยามทุกข์ และในเทศกาลของชนกลุ่มน้อยเผ่ายาราย จากความรักหนักแน่น เสียงฆ้องจะก้องกังวาลท่ามกลางป่าเขาเตยเงวียนเพื่อให้หมู่บ้านต่างๆในเขตชายแดนที่ห่างไกลเป็นหมู่บ้านที่ร่ำรวยทั้งทางวัตถุและจิตใจตลอดกาล./.

คำติชม