เวียดนาม-อินโดนีเซียมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายนำมูลค่าการค้าต่างตอบแทนอยู่ที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

์Nguyen Ha
Chia sẻ
(VOVWORLD) - วันที่ 30 ธันวาคมปี 2021 ครบรอบ 66 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซีย ถึงแม้โรคโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างซับซ้อน แต่เวียดนามและอินโดนีเซียยังคงมีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในปี 2021 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนของทั้งสองประเทศได้บรรลุ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

เวียดนาม-อินโดนีเซียมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายนำมูลค่าการค้าต่างตอบแทนอยู่ที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ - ảnh 1เอกอัครราชทูต Denny Abdi 
ประธานโฮจิมินห์และประธานาธิบดี ซูการ์โน เป็นผู้วางรากฐานเริ่มแรกให้แก่ความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียกับเวียดนาม ในตลอดกว่า 66 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์อันดีงามนี้ได้ดำเนินไปอย่างจริงจังและครอบคลุมในหลายด้านตั้งแต่เศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรม การเมืองไปจนถึงความมั่นคง ซึ่งความสัมพันธ์ทางการค้าเป็นหนึ่งในจุดเด่นของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ปัจจุบัน เวียดนามเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของอินโดนีเซียในอาเซียน และเป็นตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 9 ของอินโดนีเซียในตลาดโลก

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มูลค่าการค้าต่างตอบแทนของทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบไม่น้อย  แต่ก็ยังคงมีการเติบโตและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยในปี 2020 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนบรรลุ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 9.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจนถึงเดือนพฤศจิกายนปี 2021 มูลค่าการค้าทวิภาคีได้บรรลุ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนคือปี 2020 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนบรรลุเพียง 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามความเห็นของเอกอัครราชทูต Denny Abdi เพื่อให้เป้าหมายนำมูลค่าการค้าต่างตอบแทนบรรลุ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ต้องหาวิธีฟันฝ่าอุปสรรคทางการค้าเพื่อช่วยให้สถานประกอบการอินโดนีเซียและเวียดนามไม่ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนทางการค้า และทั้งสองประเทศได้ประสบความสำเร็จในการแสวงหาอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถสร้างก้าวกระโดด

ตามความเห็นของผม ประการแรกคืออุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล เรามีศักยภาพมากที่จะร่วมมือในด้านนี้เพราะทั้งอินโดนีเซียและเวียดนามมีทรัพยากรทางทะเลมากมาย ด้านที่ 2 คือเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีโอกาสมากมายสำหรับแอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์มดิจิทัล แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อให้ทั้งสองประเทศส่งเสริมความร่วมมือ ด้านที่ 3 คืออุตสาหกรรมเทคโนโลยีไฮเทค นอกจากความร่วมมือทวิภาคีแล้ว ทั้งสองประเทศยังต้องร่วมมือกับประเทศที่มีอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วมากขึ้นด้วย ผมแน่ใจว่า ถ้าเราร่วมมือใน 3 ด้านนี้ เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายนำมูลค่าการค้าต่างตอบแทนอยู่ที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐได้อย่างรวดเร็ว"

เวียดนาม-อินโดนีเซียมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายนำมูลค่าการค้าต่างตอบแทนอยู่ที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ - ảnh 2เอกอัครราชทูต Denny Abdi  ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของวีโอวี

อินโดนีเซียและเวียดนามเป็นสองประเทศที่มีประชากรอยู่ในระดับสูงในภูมิภาค โดยอินโดนีเซียอยู่อันดับที่ 1 ในอาเซียน ในขณะที่เวียดนามอยู่อันดับที่ 3 รองจากฟิลิปปินส์ ทั้งสองประเทศมีศักยภาพมากมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ  นอกจากนั้น อินโดนีเซียและเวียดนามต่างมีประชากรวัยหนุ่มสาวอยู่ในระดับสูง ซึ่งสิ่งนี้มีความสำคัญมากเพราะอนาคตของความสัมพันธ์และการพัฒนาของทั้งสองประเทศขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ตามความเห็นของเอกอัครราชทูต Denny Abdi ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศต้องได้รับความสนใจเกี่ยวกับคุณภาพมากขึ้นไม่เพียงผ่านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลเท่านั้น หากยังรวมถึงระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วย

"อินโดนีเซียและเวียดนามได้มีเที่ยวบินตรงระหว่างฮานอยกับจาการ์ตา โฮจิมินห์-จาการ์ตาและโฮจิมินห์-เดนปาซาร์ (บาหลี) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เที่ยวบินจึงต้องระงับชั่วคราว แต่สิ่งที่สำคัญคือ เรามีเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศแล้ว ปัจจุบัน นี่เป็นรูปแบบหลักเพื่อให้อินโดนีเซียและเวียดนามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประชาชนและมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มิตรภาพระหว่างอินโดนีเซียกับเวียดนามยังคงพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทวิภาคี ทั้งสองประเทศได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด และเจตนารมณ์นี้ได้แสดงออกมาโดยตลอดไม่เพียงแต่ระหว่างสองประเทศเท่านั้น หากยังรวมถึงประเทศอื่นๆในอาเซียนอีกด้วย ในฐานะประเทศสมาชิกที่แข็งขันของอาเซียน อินโดนีเซียและเวียดนามต่างมีบทบาทสำคัญในการธำรงเสถียรภาพทางการเมืองและสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก ในการประเมินเกี่ยวกับเรื่องนี้ เอกอัครราชทูต Denny Abdi ได้เผยว่า

เราทุกคนทราบดีว่า ทุกครั้งเมื่ออาเซียนมีการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับหลักการแห่งความสามัคคี นี่เป็นความคล้ายคลึงกันในทัศนะและปฏิบัติการต่อทุกปัญหา อินโดนีเซียและเวียดนามมักจะมีความคิดเห็นเหมือนกัน เช่นในปัญหาเมียนมาร์ แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆ อาจมีความเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้น ด้วยบทบาทและสถานะของตน อินโดนีเซียและเวียดนามต้องยกระดับการปฏิสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนมากขึ้นเพื่อให้อาเซียนมีความสามัคคีมากขึ้นเพื่อมีทัศนะและมุมมองเดียวกันในประเด็นต่างๆ”

ด้วยจำนวนประชากรคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรอาเซียน และเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศคิดเป็นร้อยละ 45ของเศรษฐกิจในภูมิภาค เวียดนามและอินโดนีเซียได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนแห่งการเติบโตของภูมิภาคหลังการแพร่ระบาดใหญ่ ดังนั้นทั้งสองประเทศจึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของตน เน้นถึงนโยบายใหม่และส่งเสริมบทบาทของตนในภูมิภาคและโลกต่อไป.

คำติชม