(Photo Kt)
|
ในสภาวการณ์ที่อุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน เศรษฐกิจต่างๆในทั่วโลกต่างกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอล โดยเน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในฟอรั่มเศรษฐกิจโลกเกี่ยวกับอาเซียนในต้นปีนี้ ประธานฟอรั่มเศรษฐกิจโลก Klaus Schwab ให้ข้อสังเกตว่า “เศรษฐกิจดิจิตอลกำลังเข้าสู่ชีวิตอย่างกว้างลึก เชื่อมโยงประชาชนในทุกที่ เชื่อมโยงเขตชนบทกับเขตตัวเมือง สนับสนุนให้ประชาชนและสถานประกอบการสามารถขยายหรือส่งออกสินค้าได้อย่างสะดวก เศรษฐกิจดิจิตอลยังมีผลต่อเศรษฐกิจต่างๆเป็นอย่างมาก”
สำหรับบรรดาประเทศอาเซียน เทคโนโลยีดิจิตอลก็ถูกระบุให้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อพยายามกลายเป็น 1 ใน 5 เศรษฐกิจดิจิตอลระดับโลกก่อนปี 2025
จนถึงขณะนี้ ประชาคมอาเซียนกำลังพยายามเกาะติดแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ผลักดันการขยายตัวผ่านการส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่และวางแผนแบบบูรณการเพื่อพัฒนาเป็นเศรษฐกิจดิจิตอลรายใหญ่ของโลก อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้ อาเซียนมีเงื่อนไขและพื้นฐานต่างๆเพื่อปฏิบัติความมุ่งมั่นในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลในภูมิภาค โดยมีประชากรที่อยู่ในวัยต่ำกว่า 30 ปีถึงร้อยละ 90มีโอกาสเข้าถึงอินเตอร์เนต และในปี 2017 อาเซียนมีประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 330 ล้านคน สูงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับตัวเลข 70 ล้านคนเมื่อปี 2015 นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยกว่า 3.6 ชั่วโมงต่อวัน สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ นาง วิกตอร์เรีย กวากวา รองประธานธนาคารโลกย่านเอเชีย – แปซิฟิกเห็นว่า “ศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของอาเซียนที่สูงมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากระดับการพัฒนาของบรรดาประเทศอาเซียนที่อยู่ในระดับสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกเนื่องจากจำนวนผู้ใช้และเวลาการใช้อินเตอร์เน็ตสูงบวกกับการพัฒนาของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ในหลายประเทศซึ่งยังมีศักยภาพสูงที่เรายังใช้ไม่หมด”
ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเผยว่า ปัจจุบันนี้ มี 3 ด้านที่ถือเป็นโอกาสให้สถานประกอบการอาเซียนเข้าร่วมระบบเศรษฐกิจดิจิตอล หนึ่งคือ การพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างการค้ากับผู้บริโภคผ่านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ นี่เป็นเสาหลักที่พัฒนาเร็วที่สุดของระบบเศรษฐกิจดิจิตอล สองคือให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น การชำระ การประกันภัย การตรวจสอบการโกงการค้าและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น สามคือ โครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วยฐานข้อมูลและศูนย์การค้าอิเล็กทรอนิกส์
ารใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน (Photo kt) |
นอกจากนี้ การเปิดตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีได้ผลักดันการพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งเปิดตลาดที่มีเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้า การให้บริการ เงินทุนและแรงงานฝีมือดี อีเอซีได้เปิดโอกาสในด้านงานทำและประกอบธุรกิจ ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งน่าสนใจคือความคิดริเริ่มต่างๆของเวียดนาม เช่น การสร้างระบบโทรคมนาคมร่วมอาเซียน โดยไม่ต้องใช้ระบบโรมมิ่ง เปิดมหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียนเพื่อตอบสนองความต้องการของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ตอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์เวียดนาม เหงียนแหม่งหุ่งเผยว่า “ปัจจุบันนี้ ชีวิตของเราพึ่งพาอินเตอร์เน็ตมาก ความเจริญของประเทศเราก็พึ่งพาอินเตอร์เน็ตแต่อินเตอร์เน็ตไม่ปลอดภัย ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดของเราในอนาคตคือ รักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบอินเตอร์เน็ต”
นางวิกตอร์เรีย กวากวา ยังชื่นชมความพยายามของรัฐบาลประเทศอาเซียนในการปฏิบัติก้าวเดินต่างๆเพื่อมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล โดยเผยว่า “การที่อาเซียนหารืออย่างเข้มแข็งเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอลแสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้นำอาเซียนกำลังพยายามมุ่งสู่ขั้นสูงใหม่ นี่เป็นด้านที่สำคัญเป็นอย่างมาก เศรษฐกิจดิจิตอลคือเศรษฐกิจแห่งอนาคต ซึ่งช่วยให้พวกเราประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้มีการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน เปิดโอกาสในการทำงานและวิธีการทำงานแบบใหม่ พร้อมทั้งช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่แรงงาน”
ศักยภาพของตลาดเศรษฐกิจดิจิตอลอาเซียนยังมีอีกมาก แต่เพื่อผลักดันศักยภาพดังกล่าวและตอบสนองความต้องการของแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน บรรดาประเทศอาเซียนต้องมียุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลแบบรอบด้านและยั่งยืนมากขึ้น และก้าวเดินแรกๆ ของอาเซียนก็ได้สร้างโอกาสการพัฒนาใหม่ให้แก่ภูมิภาคนี้.