มหาวิทยาลัยฮานอยและมหาวิทยาลัยมหาสารคามเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยในกรุงฮานอย

Nguyễn Yến/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทยและมหาวิทยาลัยฮานอยได้สถาปนาความสัมพันธ์เมื่อปี 2011 และลงนามข้อตกลงความร่วมมือเมื่อปี 2013 จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งได้ปฏิบัติเนื้อหาร่วมมือในด้านต่างๆ เช่นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน โดยทุกปี มหาวิทยาลัยมหาสารคามจะส่งนักศึกษา 2-3 คนจากคณะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาช่วยฝึกสอนวัฒนธรรมและภาษาไทยที่ศูนย์วัฒนธรรมและภาษาไทยของมหาวิทยาลัยฮานอยเพื่อช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยให้แก่นักศึกษาวิชาโทภาษาไทย ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านคุณผู้ฟังร่วมกับผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามมาศึกษาค้นคว้ากิจกรรมที่นี้กันนะคะ
มหาวิทยาลัยฮานอยและมหาวิทยาลัยมหาสารคามเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยในกรุงฮานอย - ảnh 1นางสาว จินตหรา วันเหิม กำลังทุ่มเทสอนการฟ้อนรำรากไทยให้แก่นักศึกษาปีที่ 3 วิชาโทภาษาไทยของมหาวิทยาลัยฮานอย 

ในห้องเรียนภาษาไทยของศูนย์วัฒนธรรมและภาษาไทยของมหาวิทยาลัยฮานอย นางสาว จินตหรา วันเหิม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ไว้ผมสั้น ใส่ชุดฟ้อนรำไทย ใบหน้ายิ้มแย้มกำลังตั้งใจสอนการรำรากไทยให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาโทภาษาไทยของมหาวิทยาลัยฮานอย โดยสาธิตการรำไทยที่อ่อนช้อยไปพร้อมกับการร้องเพลงไทยเดิมอย่างไพเราะ ข้างๆมีนักศึกษาวิชาโทภาษาไทยเกือบ 10 คนกำลังซ้อมรำ นางสาว จินตหรา วันเหิม คือหนึ่งในนักศึกษา 3 คนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ได้รับเลือกให้มาช่วยสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยที่มหาวิทยาลัยฮานอยในปีการศึกษา 2018-2019 ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งในวิชาฝึกงานของทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “การแสดงเมื่อกี้นี้คือการแสดงฝึกซ้อมเกี่ยวกับการรำรากไทย ซึ่งคนเวียดนามส่วนมากไม่ค่อยรำ แต่ว่า น้องทุกคนมีความพยายาม หนูเห็นถึงความพยายามของน้อง จากที่เราเหนื่อยก็สามารถอยากที่จะเห็นความพยายามของน้อง หนูก็ภูมิใจในตัวน้อง หนูก็รู้สึกดีใจ ก็ไม่เหนื่อยแล้วค่ะ อาจจะยังไม่อ่อนช้อยเท่ากับคนไทย แต่น้องก็ได้ทำในระดับที่หนูพอใจมาก รำสวยมากถึงแม้ฝึกรำได้ 1 อาทิตย์ พวกหนูกับเพื่อนอีก 2 คนมาช่วยฝึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมและบทสนทนา การสอนภาษาไทยให้แก่คนต่างชาติจะไม่เหมือนกับการสอนภาษาไทยให้กับคนไทย ก็มีปัญหาเล็กน้อยเช่นกัน เช่นการออกเสียง พยัญชนะ เหมือนกับว่า น้องจะสับสนเกี่ยวกับน.หนู ม.ม้า แต่ว่าตอนนี้ก็สามารถเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นแล้วค่ะ”

มหาวิทยาลัยฮานอยและมหาวิทยาลัยมหาสารคามเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยในกรุงฮานอย - ảnh 2นางสาว จินตหรา วันเหิม นักศึกษาปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

กิจกรรมที่สางนาว จินตหรา วันเหิม กำลังเข้าร่วมนั้นอยู่ในโครงการรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาฝึกงาน ช่วยสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษาวิชาโทภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยฮานอย ซึ่งโครงการนี้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปีการศึกษา 2012-2013 โดยทุกปี มหาวิทยาลัยฮานอยรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2-3 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน มีนักศึกษา 15 คนมาฝึกงานที่มหาวิทยาลัยฮานอย โดยพวกเขาได้รับหน้าที่สอนบทสนทนาและวัฒนธรรมไทยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานถึงขั้นสูง เช่นการเดินทาง การสั่งอาหาร ไปเที่ยว ไปหาหมอและไปดูหนัง เป็นต้น นักศึกษาไทยต้องเตรียมหลักสูตรการสอนและส่งให้แก่ครูอาจารย์ตรวจและแก้ไขก่อน นางสาว ปภาวรินทร์ วรหิน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามเผยว่า “เรามาเจอเด็กๆก็สนุกค่ะ เด็กๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้อง ดีมาก น่ารักทุกคน เพราะว่า พวกหนูจะสอน 1 เดือน 1 ห้อง มีทั้งหมด 3 ห้อง ฝึกสอน 3 คนจะเปลี่ยนกัน 1 เดือนต่อหนึ่งห้องก็จะเจอกับน้องๆทุกคน น้องๆก็จะเจอกับพี่ๆทุกคน นอกจากจะสอนเรียนแล้ว พวกหนูยังสอนทำอาหาร แกะสลักและการแสดงก็ประทับใจมาก เพราะว่าตอนมี course เรียนแกะสลัก น้องมีพรสวรรค์มาก เพราะคนไทยบางคนก็ทำไม่ได้ แต่น้องทำครั้งแรกก็สวยมาก ก็ประทับใจมาก”

มหาวิทยาลัยฮานอยและมหาวิทยาลัยมหาสารคามเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยในกรุงฮานอย - ảnh 3นางสาว ปภาวรินทร์ วรหิน เตรียมตัวให้แก่นักศึกษาก่อนเข้าร่วมงานสงกรานต์ 

ถึงแม้บางทีประสบอุปสรรคในการสื่อสาร แต่นักศึกษาวิชาโทภาษาไทยยังพยายามทุ่มแทตั้งใจเรียน สำหรับพวกเขา การเรียนภาษาไทยถือว่าไม่ยากแล้วเพราะเข้าใจถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาเวียดนาม และนักศึกษาไทยที่มาฝึกงานก็สอนอย่างตั้งใจ ซึ่งนักศึกษาไทยไม่เพียงแต่เป็นครูเท่านั้น หากยังเป็นพี่ๆและเพื่อนสนิทของนักศึกษาเวียดนามอีกด้วย

“ในห้องเรียน พี่มักจะจัดกิจกรรม เล่นเกมส์เพื่อให้พวกหนูสามารถเรียนได้ดีและจำภาษาไทยได้มากขึ้น พี่ๆช่วยเหลือเรามาก ไม่เพียงแต่จัดกิจกรรมเท่านั้น หากยังสอนการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งช่วยให้พวกหนูจำและเข้าใจภาษาไทยดีขึ้นมากกว่าการนั่งเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น จากการสอนของครูคนไทยก็ช่วยให้พวกหนูพูดเหมือนคนไทยมากขึ้นและเห็นว่า ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ใกล้ชิดกับเวียดนาม”

“พี่ๆเป็นมิตร ให้การช่วยเหลือพวกเรามาก หนูรู้สึกขอบคุณพี่ๆ เพราะช่วยให้พวกหนูเข้าใจด้านวัฒนธรรมและคนไทยมากขึ้น พี่ทั้ง 3 คนที่สอนหนูต่างสร้างความประทับใจให้พวกเรา โดยพี่มิ้วน่ารักมาก พี่เจน ใจดีและพี่จินรำสวยมาก”

มหาวิทยาลัยฮานอยและมหาวิทยาลัยมหาสารคามเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยในกรุงฮานอย - ảnh 4นักศึกษาวิชาโทภาษาไทยฟ้อนรำรากไทย 

ความเป็นมิตรและความมีมนุษยสัมพันธ์และการสอนที่สนุกและเข้าใจง่ายได้ทำให้ห้องเรียนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยฮานอยเต็มไปด้วยความสุขและเสียงหัวเราะ จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาโทภาษาไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี  ในช่วงที่เริ่มก่อตั้งศูนย์ฯ เมื่อ 10 ปีก่อน มีนักศึกษาวิชาโทภาษาไทยเกือบ 25 คน แต่ใน 3 ปีมานี้ จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนภาษาไทยเพิ่มขึ้น 3 เท่าคือเกือบ 60 คนโดยแบ่งเป็น 3 ห้อง ในการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพและศักยภาพความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย อาจารย์ เจิ่นเกิ๋มตู้ ที่สอนภาษาไทยของศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมไทยได้เผยว่า “มหาวิทยาลัยฮานอยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่นมหาวิทยลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิตและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามนานที่สุด มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย เป็นเขตที่มีชมรมชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอาศัยเป็นจำนวจมาก ตลอดจนมีชาวเวียดนามหลายคนไปเรียนและทำงาน  ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีโครงการต่างๆเกี่ยวกับการฝึกอบรมภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน รวมทั้งเวียดนาม ตลอดจนเน้นสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ ความร่วมมือฝึกอบรมกับเวียดนาม นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังมีโครงการสอนภาษาเวียดนามและภาษาไทย จึงมีความสะดวกในความร่วมมือและแลกเปลี่ยนนักศึกษาและครูอาจารย์ กิจกรรมร่วมมือได้มีขึ้นเป็นเวลาหลายปีจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมหาวิทยาลัยฮานอยเปิดสาขาวิชาภาษาไทยก็จะเปิดโอกาสความร่วมมือที่หลากหลายมากขึ้น”

สำหรับคุณ จินตหรา วันเหิม การฝึกงานที่มหาวิทยาลัยฮานอยถือเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าของเธอ “สำหรับโครงการที่ส่งนักศึกษาคนไทยมาฝึกงานที่มหาวิทยาลัยฮานอย ดิฉันก็สังเกตุว่า หลายๆปีที่ผ่านมานั้น รุ่นพี่ที่ผ่านมาก็มีประสิทธิภาพที่ดีมากๆคะ ซึ่งในฐานะดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ได้มาฝึกงานที่นี่ก็รู้สึกว่า อยากให้โครงการนี้มีต่อไปและพัฒนาไปเรื่อยๆ อยากให้รุ่นน้องของดิฉันได้มีโอกาสมาฝึกงานที่มหาวิทยาลัยฮานอยเพื่อได้เรียนรู้ประสบการณ์ การใช้ชีวิตในการสอน ไม่ว่าจะเป็นการสอน การเดินทาง การท่องเที่ยว วิถีชีวิตของคนเวียดนาม ดังนั้น ถ้าดิฉันกลับเมืองไทย แน่นอนดิฉันก็จะแนะนำให้น้องๆเกี่ยวกับการฝึกงานของดิฉันที่นี่”

นาย เหงียนวันจ่าว อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮานอยได้เผยว่า ตามแผนการ มหาวิทยาลัยฮานอยกำลังผลักดันให้ภาษาไทยเป็นวิชาเอก และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามคือหนึ่งในนโยบายของมหาวิทยาลัยฯเพื่อให้แผนการดังกล่าวกลายเป็นความจริง ซึ่งมีส่วนร่วมเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาไทยไปสู่นักศึกษาเวียดนามอย่างกว้างขวางมากขึ้น.

คำติชม