ความทรงจำของภรรยาของอดีตนักการทูตอินโดนีเซียเกี่ยวกับช่วงสงครามในเวียดนาม

Hương Trà
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อ 75ปีก่อน เวียดนามและอินโดนีเซียได้รับเอกราชและหลังจากนั้น10 ปีทั้งสองประเทศก็ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกัน โดยบรรดานักการทูตรุ่นต่างๆได้มีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์มิตรภาพทวิภาคีให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ในฐานะเป็นภรรยาของนักการทูตอินโดนีเซียที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานทูตอินโดนีเซีย ณ กรุงฮานอยช่วงปี 1967-1972 นาง Sri Wilis Djati Soeroso ได้บันทึกความทรงจำไว้ในหนังสือเรื่อง “ความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือน” ในรายการชายคาอาเซียนของเราวันนี้ ขอเชิญท่านฟังเรื่องราวต่างๆของนาง Sri Wilis Djati Soeroso ผ่านบทความเรื่อง “ความทรงจำของภรรยาของอดีตนักการทูตอินโดนีเซียเกี่ยวกับช่วงสงครามในเวียดนาม”ที่เขียนโดยนักข่าววิทยุเวียดนามประจำประเทศอินโดนีเซีย
 
 
ความทรงจำของภรรยาของอดีตนักการทูตอินโดนีเซียเกี่ยวกับช่วงสงครามในเวียดนาม - ảnh 1นาง Sri Wilis Djati Soeroso ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนาม

นักข่าวของวีโอวีได้ไปเยี่ยมบ้านของนาง Wilis Djati ที่กรุงจาการ์ตาในวันหยุดสุดสัปดาห์ท่ามกลางอากาศที่เย็นสบายในฤดูฝน โดยเสียงดนตรีที่บรรเลงเพลงที่คุ้นเคยคือ“Đêm qua em mơ gặp bác Hồ” หรือ แปลว่า “เมื่อคืนฉันฝันเห็นลุงโฮ”ได้ดังขึ้นจากห้องรับแขกทำให้นักข่าวของเรารู้สึกตื้นตันใจมาก ภายในห้องใหญ่นาง Sri Wilis Djati Soeroso อายุ 82ปี กำลังเล่นเปียโนและดื่มด่ำกับเพลงเวียดนามพร้อมความทรงจำต่างๆในช่วงเวลาที่เธอพำนักอาศัยในเวียดนาม ถึงแม้จะผ่านมาแล้ว48ปี แต่นาง Sri Wilis Djati Soeroso ก็ยังเก็บบันทึกความทรงจำเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ในหนังสือเรื่อง “ความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือน” และสามารถเล่าเรื่องราวต่างๆในหนังสือเหมือนการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งเมื่อเธอนั่งเล่นเปียโน

“ฉันกลัวจนร้องไห้เมื่อครั้งแรกที่ได้ยินประกาศผ่านเสียงตามสายที่เตือนภัยเครื่องบินสหรัฐอเมริกามาฮานอยทิ้งระเบิด  ซึ่งตอนที่เครื่องบินของสหรัฐอยู่ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 30กิโลเมตร พวกเราก็จะต้องรีบเข้าไปหลบในหลุมหลบภัยด้านหลังบ้านเพื่อหลบระเบิดและกระสุน ส่วนตามถนนต่างๆก็มีหลุมหลบภัยที่จุได้หลุมละ 1คนเท่านั้น ทุกวันมีการเตือนภัยอย่างน้อย 4ครั้ง โดยตั้งแต่ตี 2ก็ได้ยินเสียงเครื่องบินสหรัฐอเมริกามาทิ้งระเบิดในกรุงฮานอย  เมื่อได้อยู่ในเหตุการณ์เราก็ต้องยอมรับว่าประชาชาติเวียดนามคือประชาชาติที่กล้าหาญที่สุดในโลกเพราะสามารถรบชนะประเทศมหาอำนาจได้โดยที่ไม่ได้มีอาวุธที่ทันสมัยดั่งเขา”

ข้อมูลในหนังสือได้เผยว่า เมื่อปี 1967 ครอบครัวนาง Wilis ได้ย้ายไปอาศัยที่ประเทศเวียดนามหลังจากสามีได้รับตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษาด้านการสื่อสารของสถานทูตอินโดนีเซีย ณ กรุงฮานอย ในวาระ 5ปี ที่พำนักในเวียดนาม ครอบครัวของเธอได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นพนักงานในบ้านอย่างคุณบิ่ง คุณเงวียม คุณกาว คุณงาและนายแพทย์ตว่านที่เป็นพ่ออุปถัมภ์ของบุตรชายคนโต เธอยังจำได้ดีบรรยากาศช่วงหน้าหนาวครั้งแรกของเธอในกรุงฮานอย การไปทำบุญที่วัดในช่วงต้นปีใหม่ตามประเพณีของคนเวียดนาม การห่อขนมแบ๊งจึง หรือ ขนมข้าวต๊มมัดใหญ่ ภาพการเข้าคิวซื้อของของประชาชนเวียดนามในสมัยรัฐอุปถัมภ์ เป็นต้น แต่สิ่งที่เธอจำได้ดีที่สุดและสร้างความตื้นตันใจให้แก่เธอทุกครั้งที่กล่าวถึงคือบรรยากาศในพิธีศพของประธานโฮจิมินห์ที่ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2กันยายนปี 1969

ในวันนั้น ประชาชนทุกคนต่างร้องไห้เพราะประธานโฮจิมินห์เป็นเหมือนพ่อแม่ของตน พนักงานในบ้านดิฉันได้ใส่เสื้อสีขาวติดผ้าสีดำเพื่อไว้ทุกข์และชาวบ้านได้มายืนรอเต็มสองข้างทางเพื่อแสดงความอาลัย  ส่วนดิฉันก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่

ความทรงจำของภรรยาของอดีตนักการทูตอินโดนีเซียเกี่ยวกับช่วงสงครามในเวียดนาม - ảnh 2ภาพครอบครัวนางWilis ในโอกาสรำลึกครบรอบ 25ปีวันชาติอินโดนีเซีย ณ กรุงฮานอยเมื่อปี 1970

นาง Sri Wilis Djati Soeroso ได้เล่าต่อไปว่า ในช่วงต้นเดือนกันยายนปี 1969 สถานีวิทยุเวียดนามได้เปิดเพลงเศร้าและบทกวีเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ บรรยากาศตามถนนสายต่างๆเงียบเหงาเป็นอย่างมาก ได้ยินแต่เสียงคนเดิน เสียงรถและเสียงร้องไห้ และเป็นครั้งแรกที่เธอได้สัมผัสถึงน้ำใจ ความอาลัยและความเคารพรักของประชาชนเวียดนามและเพื่อนมิตรชาวต่างชาติที่มีต่อประธานโฮจิมินห์เมื่อได้เข้าร่วมในคณะเจ้าหน้าที่นักการทูตอินโดนีเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีซูฮาร์โตที่ไปเคารพประธานจิมินห์ที่หอเก็บศพ

ในห้องรับแขกของครอบครัวนาง Wilis ยังคงเก็บรักษาสิ่งของต่างๆจากประเทศเวียดนาม เช่น ภาพลงรักขัดเงาเจดีย์เต่าที่สระคืนดาบ ดอกบัว แจกันเซรามิคและกล่องจดหมาย ซึ่งเป็นของใช้ที่บ้านในกรุงฮานอยที่นาง Wilis ได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีเพราะทำให้เธอคิดถึงความทรงจำเกี่ยวกับสามีผู้ล่วงลับและประเทศเวียดนามที่เธอเคยพำนักในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต โดยบันทึกความทรงจำที่นาง Wilis ได้เขียนไว้บนกระดาษถูกเรียบเรียงและจัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อมอบให้แก่เพื่อนและญาติมิตร นาย Djadi Rekso Wibowo บุตรชายคนโตและนาง Sri Retno Wijanti ลูกสาวคนเล็กของนาง  Wilis ได้เผยว่า

“เราเห็นว่า นี่ไม่เพียงแต่เป็นสมุดบันทึกความทรงจำของแม่เท่านั้น หากยังเป็นเหมือนเรื่องราวที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียจากการที่พ่อแม่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ตามวาระในเวียดนาม ได้ประจักถึงการต่อสู้ที่วีรกล้าหาญของประชาชาติเวียดนามในช่วงสงครามและได้มีโอกาสเข้าเคารพศพประธานโฮจิมินห์”

“ดิฉันได้เรียบเรียงเนื้อหา อีกทั้งค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์และชื่อโบราณสถานต่างๆของเวียดนามผ่านทางอินเตอร์เน็ตและลงภาพที่พ่อแม่ได้ถ่ายในเวียดนามเพื่อจัดพิมพ์เป็นหนังสือเรื่อง “ความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือน” ซึ่งนี่คือมรดกของครอบครัวและของขวัญที่เราอยากมอบให้แก่เพื่อนชาวอินโดนีเซียและเวียดนาม”

เกือบ 50ปีได้ผ่านพ้นไป นาง Wilis มีความประสงค์ว่า จะได้เดินทางมาเยือนเวียดนามอีกครั้งเพื่อพบปะกับเพื่อนชาวเวียดนามที่ช่วยเหลือครอบครัวของเธอ เยือนประเทศเวียดนามที่วีรอาจหาญและปัจจุบันได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งและมีบทบาทที่สำคัญในภูมิภาค นาง Wilis ได้มีความปรารถนาเสมอว่า เวียดนามและอินโดนีเซียจะพัฒนาอย่างเข้มแข็งและความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ผู้นำและประชาชนทั้ง 2 ประเทศได้ทำนุบำรุงและส่งเสริมมาจนถึงทุกวันนี้จะนับวันผลิดอกออกผลมากขึ้น./.

คำติชม