แนวปะการังตือชิ้งอยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนาม

Chia sẻ
(VOVWORLD) - “แนวปะการังตือชิ้งเป็นของเวียดนาม จีนกำลังจงใจเปลี่ยนเขตที่ไม่มีการพิพาทให้กลายเป็นเขตที่มีการพิพาท” นี่คือทัศนะของบรรดานักวิชาการในการเสวนา “เขตทะเลแนวปะการังตือชิ้งและกฎหมายสากล” ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ณ กรุงฮานอย
แนวปะการังตือชิ้งอยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนาม - ảnh 1ภาพการเสวนา 

ในการนี้ บรรดานักวิชาการได้ยืนยันว่า การที่จีนเสนอสิ่งที่เรียกว่า แนวปะการังตือชิ้งอยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศจีนคือสิ่งที่ไร้สาระ พลตรี เลวันเกือง ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทะเลตะวันออกได้ระบุถึงทัศนะที่ไม่ถูกต้อง 2 ข้อของรัฐมนตรีต่างประเทศจีน หวังอี้ เมื่อเสนอ “สิ่งที่เรียกว่า จีนมีอธิปไตยในแนวปะการังตือชิ้ง” “เมื่อพูดคุยกับสื่อมวลชน นาย หวังอี้ ได้เผยว่า เรือสำรวจ 08 ของจีนกำลังเคลื่อนไหวในแนวปะการังตือชิ้งเจื่องซาของจีน คำประกาศดังกล่าวของนาย หวังอี้ คือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะ1คือในด้านการเมือง จีนไม่มีหลักฐานทางนิตินัยเพื่อเรียกร้องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเจื่องซาและไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ ซึ่งศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ปฏิเสธคำเรียกร้องนี้ของจีนเมื่อปี 2016 2คือในด้านภูมิศาสตร์ธรณีวิทยา แนวปะการังตือชิ้งอยู่นอกหมู่เกาะ เจื่องซา อยู่ห่างจากหมู่เกาะเจื่องซา 600 กิโลเมตร และในด้านธรณีวิทยา เจื่องซาและแนวปะการังตือชิ้งยังถูกกั้นด้วยร่องลึก 1 เส้น”

ตามความเห็นของบรรดานักวิชาการ จากการเคลื่อนไหวของจีน ข้อกำหนดของกฎหมายสากลต้องได้รับความเคารพมากขึ้น นาย เหงียนเจื่องยาง อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำบรูไนและอดีตหัวหน้าสถาบันทะเลตะวันออกของสถาบันการทูตสังกัดกระทรวงการต่างประเทศได้วิเคราะห์ว่า “กฎหมายสากลคือพื้นฐานเพื่อปกป้องเขตทะเลของเวียดนาม ข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 เกี่ยวกับเขตทะเล และกลไกเกี่ยวกับเขตทะเลก็เป็นพื้นฐานทางนิตินัยสำคัญเพื่อให้พวกเราปกป้องเขตทะเล อธิปไตย สิทธิอำนาจศาล สิทธิอัตวินิจฉัยและสิทธิผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของเวียดนามในเขตทะเลของเวียดนาม แนวปะการังเป็นส่วนหนึ่งของพื้นทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ นี่ไม่ใช่เขตพิพาทหรือเขตทับซ้อน ดังนั้น จีนไม่มีหลักฐานทางนิตินัยใดๆเพื่อเรียกร้องเขตทะเลนี้”

บรรดานักวิชาการยืนยันว่า จากการกระทำที่ผิดพลาดของจีนในทะเลตะวันออก เวียดนามต้องประณามจีนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต่อไป เพราะมาตรา 51 ในกฎบัตรสหประชาชาติมีข้อกำหนดว่า ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติมีสิทธิปกป้องตนเองจากแผนกุศโลบายรุกล้ำทำลายเพื่อปกป้องอธิปไตยดินแดนของตน และสหประชาชาติมีความรับผิดชอบปฏิบัติข้อกำหนดของกฎหมายสากลเกี่ยวกับการปกป้องประเทศที่อ่อนแอ.

คำติชม