เส้นทางแห่งความสุขเป็นชื่อที่ตั้งโดยประธานโฮจิมินห์ให้แก่ทางหลวง ๔ซี ที่มีระยะทาง ๑๘๕ กิโลเมตรที่เชื่อมเมือง ห่ายาง กับอำเภอเขตเขา ๔ แห่งในภาคเหนือของจังหวัดห่ายาง ประกอบด้วย กว๋านบะ เอียนมิงห์ ด่งวันและแหม่วหวาก
|
เส้นทางนี้ได้รับการก่อสร้างจากแรงกายและเลือดเนื้อของเยาวชนอาสานับหมื่นคนในช่วงปี ๑๙๕๐ ถึงปี ๑๙๖๐ เส้นทางนี้ได้นำชีวิตที่อิ่มหนำผาสุกไปให้แก่ชนเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงหินจังหวัดห่ายาง แสดงให้เห็นถึงพลังที่เข้มแข็งของมนุษย์ในการเอาชนะอุปสรรคของธรรมชาติ |
|
พิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เส้นทางแห่งความสุข(Hagiangtv) |
เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายนปี ๒๐๑๙ คณะกรรมการประชาชนอำเภอแหม่วหวากได้ประสานกับบริษัทหุ้นส่วนการค้าและการบริการเขตที่ราบสูงหินด่งวันจัดพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เส้นทางแห่งความสุข โดยมีตัวแทนของสมาคมเยาวชนอาสาเวียดนาม กระทรวง หน่วยงานและคณะกรรมการประสานงานสมาคมเยาวชนอาสาของ ๘ จังหวัดคือก่าวบั่ง บั๊กก่าน หล่างเซิน ท้ายเงวียน เตวียนกวาง ห่ายาง นามดิ่งห์และไฮเยืองเข้าร่วม
|
พิพิธภัณฑ์เส้นทางแห่งความสุขได้รับการก่อสร้างเมื่อเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๘ โดยตั้งอยู่ที่เชิงอนุสาวรีย์เยาวชนอาสาเปิดเส้นทางแห่งความสุขในช่องเขาหม่าปีเหล็ง (Ma Pi Leng) ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโดยใช้เงินก่อสร้างกว่า ๒ พันล้านด่งในพื้นที่ ๙๐ ตารางเมตร |
การก่อสร้างใช้เวลา 8 เดือนซึ่งแล้วเสร็จตามกำหนด ตอบสนองความต้องการด้านศิลปะ คุณค่าทางประวัติศาสตร์และคุณภาพ การเปิดพิพิธภัณฑ์นี้จะมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์ ให้การศึกษาเกียรติประวัติทางประวัติศาสตร์ที่รุ่งโรจน์แก่ประชาชนและทหารทั่วประเทศ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ นี่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศอย่างแน่นอน
|
เส้นทางแห่งความสุขได้รับการก่อสร้างด้วยแรงงานคนและเครื่องมือง่ายๆ |
|
ทัศนียภาพที่สวยงามที่มองจากช่องเขา Ma Pi Leng ยังไปแม่น้ำญอเก้ |
|
เนินเขา เถิมหมา เป็นส่วนหนึ่งที่น่าประทับใจของเส้นทางแห่งความสุข- Sunny Tran |
|
เส้นทางแห่งความสุข- Sunny Tran |