อำเภอด่งวัน จังหวัดห่ายางเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาความยากจน

Ngoc Anh- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -อำเภอด่งวันของจังหวัดเขตเขาภาคเหนือห่ายาง ซึ่งอยู่ในเขตที่ราบสูงหินด่งวันเป็นหนึ่งในอำเภอยากจน 62 แห่งของประเทศ  แต่ในเวลาที่ผ่านมา งานด้านการแก้ปัญหาความยากจนของอำเภอด่งวันได้บรรลุผลงานที่น่ายินดีซึ่งมีส่วนร่วมปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

อำเภอด่งวัน จังหวัดห่ายางเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาความยากจน - ảnh 1นาย ยิงชี้แถ่ง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอด่งวันให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน 

  อำเภอด่งวันมีตำบล 19 แห่งและมี 17 ชนเผ่าอาศัยอยู่  โดยชนเผ่าม้งคิดเป็นร้อยละ 87  ทางการท้องถิ่นได้กำหนดว่า การพัฒนาเศรษฐกิจผสานกับการแก้ปัญหาความยากจนและการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เป็นหน้าที่หลัก  เมื่อเดือนมีนาคมปี 2017 คณะกรรมการประชาชนอำเภอด่งวันได้ประกาศแผนการ “สร้างสรรค์หมู่บ้านหลุดพ้นจากความยากจนพิเศษในช่วงปี 2016 -2020”  ซึ่งแผนการดังกล่าวได้รับการปฏิบัติในหมู่บ้าน 46 แห่งและจนถึงขณะนี้ มีหมู่บ้าน 30 แห่งได้หลุดพ้นจากความยากจนพิเศษ

ทุกปี   อำเภอด่งวันได้ทำการตรวจสอบและจำแนกครอบครัวที่ยากจน ครอบครัวที่ใกล้ยากจนและครอบครัวที่มีค่าครองชีพอยู่ในระดับปานกลาง บนพื้นฐานนี้ ทางอำเภอฯเน้นระดมแหล่งพลังต่างๆเพื่อช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพัฒนาหน่วยงานการเพาะเลี้ยงสัตว์การทำเกษตรและหน่วยงานศิลปหัตถกรรม  จากการที่มีภูมิประเทศที่มีหินมากกว่าดิน ขาดแคลนน้ำและที่ดินสำหรับการเพาะปลูก ดังนั้น สำนักงานการเกษตรของอำเภอด่งวันได้แนะนำให้ชาวบ้านทำการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น การปลูกต้นแพร์ ข้าวโพดและข้าวพันธุ์ผสมเพื่อเพิ่มผลผลิต  นาย ยิงชี้แถ่ง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอด่งวันได้เผยว่า

“ ในด้านการเลี้ยงสัตว์ พวกเราเน้นเลี้ยงวัวและผึ้งโดยปลูกหญ้าเพื่อใช้เป็นอาหารวัวและอนุรักษ์พันธุ์วัวม้ง ซึ่งเป็นพันธุ์วัวที่มักจะเลี้ยงในเขตเขาสูง ปัจจุบัน อำเภอด่งวันมีฝูงผึ้งประมาณ 17,000ฝูง มีพื้นที่ปลูกต้นสะระแหน่1,200เฮกต้าเพื่อเลี้ยงผึ้ง โดยสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ 8 ตันต่อปี สร้างรายได้ 4 หมื่นล้านด่งหรือคิดเป็น 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทางการจังหวัดฯยังปล่อยเงินกู้ 1 ล้านด่ง เราสนับสนุนเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยให้แก่การเลี้ยงผึ้งภายใน 2 ปี ซึ่งนโยบายดังกล่าวช่วยให้ครอบครัวยากจนพัฒนาการผลิต”

อำเภอด่งวัน จังหวัดห่ายางเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาความยากจน - ảnh 2สหกรณ์การเกษตรและป่าไม้หมู่บ้านส่าฝิ่นเอ -จุดเด่นในการแก้ปัญหาความยากจนในอำเภอด่งวัน  

อำเภอด่งวันมีพื้นที่ปลูกต้นตามยากแหมกหรือบักวีตมากที่สุดในจังหวัดห่ายาง ซึ่งเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและเป็นวัตถุดิบใช้ทำขนมตามยากแหมก ชาตามยากแหมกและเหล้าจากดอกตามยากแหมก  ทุกปีงานเทศกาลดอกตามยากแหมกดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น

จากการช่วยเหลือของทางการท้องถิ่นและความพยายามของประชาชน ในอำเภอด่งวัน ได้มีรูปแบบการผลิตและการประกอบธุรกิจเก่งอาทิเช่น รูปแบบสหกรณ์ทอลายผ้าลินินพื้นเมืองในสหกรณ์การเกษตรและป่าไม้หมู่บ้านส่าฝิ่นเอ ตำบลส่าฝิ่น  อำเภอด่งวัน ได้ให้ความช่วยเหลือสหกรณ์ฯในการกู้เงิน 300 ล้านด่งเพื่อขยายพื้นที่ปลูกต้นลินินและซื้ออุปกรณ์ให้แก่ทางสหกรณ์ฯ  ซึ่งผลิตภัณฑ์ของทางสหกรณ์ฯสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ นาง หว่างถิเกิ่ว หัวหน้ากลุ่มผลิตของสหกรณ์การเกษตรและป่าไม้หมู่บ้านส่าฝิ่นเอได้เผยว่า“ทางสหกรณ์ฯได้สร้างงานทำให้แก่สมาชิกสตรีที่มีฐานะยากจน  95 คน เมื่อปีที่แล้ว สมาคมสตรีอำเภอด่งวันและสหกรณ์ได้เปิดชั้นเรียนฝึกสอนอาชีพ 2ชั้นและจัดตั้ง 3กลุ่มที่เชื่อมโยงกับสหกรณ์ รายได้ของสมาชิกสหกรณ์แต่ละคนอยู่ที่ 4- 6ล้านด่งต่อเดือน  ปัจจุบัน พวกเราต้องการขยายตลาดและสร้างงานทำให้แก่สตรีในท้องถิ่น”

ทางการอำเภอด่งวันเน้นปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคมและระดมแหล่งพลังต่างๆในการแก้ปัญหาความยากจน นาย ยิงชี้แถ่ง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอด่งวันได้เผยว่า “พวกเราเรียกร้องให้องค์การและบุคคลต่างๆให้การช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนต่างๆ ทุกปี พวกเราสามารถรณรงค์บริจาคเงินกว่า 1 หมื่นล้านด่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้หลุดพ้นจากความยากจน ทางอำเภอฯเน้นสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ เช่น การทอผ้าลายพื้นเมือง อุตสาหกรรมศิลปะหัตถกรรมและสตรีช่วยกันสร้างฐานะ  เป็นต้น  นอกจากสหกรณ์การเกษตรและป่าไม้หมู่บ้านส่าฝิ่นเอหรือสหกรณ์แลงชั้ง พวกเราได้ขยายรูปแบบนี้ในหมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าโลโลที่ตำบลหลุงกู๊สังกัดและหมู่บ้านวัฒนธรรมการท่องเที่ยวชุมชนในอำเภอสุ่งหล่า”

ปัจจุบัน โฉมหน้าอำเภอด่งวันได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด อัตราครอบครัวยากจนได้ลดลงกว่าร้อยละ 6 โครงสร้างพื้นทางเศรษฐกิจ-สังคมได้รับการลงทุนอย่างพร้อมเพรียง อำเภอด่งวันได้ตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี 2020 หมู่บ้านทั้งหมดในอำเภอจะหลุดพ้นจากความยากจน พยายามลดอัตราครอบครัวที่ยากจนให้อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.32 ต่อปี.

คำติชม