|
แผนพัฒนาอี-คอมเมิร์ซแห่งชาติช่วงปี 2020 –2025 มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์และนโยบายการเป็นฝ่ายรุกเข้าร่วมการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 กำหนดแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกระบุในมติที่ 52 สิ่งที่น่าสนใจคือควบคู่กับเป้าหมายทั่วไปเช่น สนับสนุนและผลักดันการประยุกต์ใช้อี-คอมเมิร์ซอย่างกว้างขวางการลดช่องว่างในการซื้อสินค้าออนไลน์ระหว่างนครใหญ่ๆกับเขตชนบท สร้างสรรค์ “ตลาดอี-คอมเมิร์ซเสมือนจริง” ให้มีความโปร่งใส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมผลักดันการผลิต การจำหน่ายสินค้าเวียดนามและเพิ่มการค้าออนไลน์ข้ามชาติแล้ว แผนการพัฒนาอี-คอมเมิร์ซยังระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียดเป้าหมายต่างๆ เช่น ถึงปี 2025 จะมีผู้ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ร้อยละ 55 โดยเฉลี่ยแต่ละคนจะใช้เงินซื้อสินค้าออนไลน์ประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ยอดรายได้จากอี-คอมเมิร์ซถึง 3 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 10 ของการขายปลีกสินค้าในช่องทางปรกติและรายได้เฉลี่ยด้านการบริการทั่วประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมผลักดันการค้าขายที่ไม่ใช้เงินสดถึงร้อยละ 50 และมีแหล่งบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมจากระบบการศึกษาและฝึกอบรม ระบบการสอนอาชีพอย่างเป็นทางการ นาย เหงียนบิ่งมิงห์ สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายบริหารของสมาคมอี-คอมเมิร์ซเวียดนามแสดงความคิดเห็นว่า “ การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ทำให้โลกต้องย้อนมาทบทวนโครงสร้างเศรษฐกิจโลก โดยต้องยอมรับว่าอี-คอมเมิร์ซมีเสถียรภาพสูงมากในช่วงที่เกิดวิกฤต ยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าโรคโควิด - 19จะยุติการแพร่ระบาดเมื่อไหร่ ดังนั้นอี-คอมเมิร์ซ ยังคงเป็นมาตรการในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้ การเลือกอี-คอมเมิร์ซเป็นเสาหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ได้เป็นแค่แนวทาง หากได้กลายเป็นมาตรการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมแล้วและผมคิดว่า นี่เป็นแนวทางที่ถูกต้อง”
ในแผนการที่เสนอต่อรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้ระบุถึงกลุ่มมาตรการพัฒนาอี-คอมเมิร์ซรวม 6 กลุ่ม เช่น ปรับปรุงกลไก นโยบายให้สมบูรณ์เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาของหน่วยงานในสภาวะการณ์เศรษฐกิจใหม่ ยกระดับทักษะการบริหาร ต่อต้านการทุจริตการค้า การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาและการแข่งขันที่ไม่โปร่งใสทางอี-คอมเมิร์ซ เพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศและผลักดันการค้าออนไลน์ข้ามชาติ นาย ดั่งหว่างหาย อธิบดีกรมอี-คอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ย้ำว่า “เราต้องพัฒนาอี-คอมเมิร์ซในขอบเขตกว้างขวางมากขึ้นแทนการเน้นถึงนครใหญ่กินอย่างเดียว 2 คือต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสามารถบริหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในด้านคุณภาพและลดค่าใช้จ่ายให้แก่อี-คอมเมิร์ซ 3 คือต้องพัฒนาสินค้าเวียดนาม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้เราใช้ความได้เปรียบจากอี-คอมเมิร์ซ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตห่างไกลความเจริญและสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่โปร่งใสให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเวียดนาม ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อช่วยให้อี-คอมเมิร์ซพัฒนาอย่างรอบด้านมากขึ้น พวกเราจะพิจารณาแก้ไขและเสริมสร้างมติให้มีความสมบูรณ์เพื่อเป็นพื้นฐานทางนิตินัยให้แก่อี-คอมเมิร์ซ พร้อมทั้งร่วมมือกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาบทลงโทษที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อยับยั้งการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานด้านคุณภาพ”
แผนการพัฒนาอี-คอมเมิร์ซแห่งชาติระยะปี 2021 ถึงปี 2025 คือนโยบายสำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่การประกอบธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในเวียดนามในอีก 5 ปีข้างหน้า ถ้าหากแผนการได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง อี-คอมเมิร์ซของเวียดนามอาจขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงที่สุดของภูมิภาคในปี 2025 นาย เหงียนชี้เฮี๊ยว ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจแสดงความคิดเห็นว่า “ผมเห็นด้วยกับแผนการพัฒนานี้ เพราะเราเห็นผลงานที่น่ายินดีจากการปฏิบัติแล้ว อี-คอมเมิร์ซคือแนวโน้มที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งได้พัฒนามานานแล้วในประเทศพัฒนาต่างๆ เรื่องที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้คือสำนักงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลต้องผลักดันระบบการชำระที่ไม่ต้องใช้เงินสดเพื่อผลักดันการค้าออนไลน์หรืออี-คอมเมิร์ซ พร้อมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อการค้าออนไลน์”
ในขณะที่โรคโควิด -19 แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในทั่วโลก ผู้บริโภคได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการซื้อของ โดยหันมาซื้อสินค้าออนไลน์เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องแสวงหาช่องทางจำหน่ายออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และผลักดันการผลิตและประกอบธุรกิจ ใช้โอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่และปฏิบัติมาตรการแก้ไขที่ถูกระบุในแผนการพัฒนาอี-คอมเมิร์ซแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้การค้าออนไลน์เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและมีศักยภาพสูงในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัล.